ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
การนอนหลับส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูกน้อย

Good sleep makes your kids smarter!

การนอนหลับส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูกน้อย


 

          เด็กเป็นวัยที่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทุกวัน เมื่อหลับ สมองจะทำหน้าที่จัดเก็บและจัดระเบียบข้อมูลที่เด็กเรียนรู้มาเมื่อเด็กหลับในระยะหลับลึก เพื่อพร้อมให้ดึงกลับมาใช้ใหม่ มีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กเรียนรู้ในสิ่งเดียวกัน แล้วมาทำแบบทดสอบภายหลัง พบว่าเด็กที่ได้มีโอกาสนอนหลังจากการเรียน จะสามารถทำแบบทดสอบได้ดีกว่ากลุ่มที่ยังไม่ได้นอนอย่างชัดเจน ดังนั้นการนอนหลับอย่างเพียงพอ จะส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก

โดยปกติทั่วไป

- เด็กทารกอายุ 4-12 เดือน ต้องการการนอนหลับที่ 12-16 ชั่วโมงต่อวัน

- เด็กเล็กอายุ 1-2 ปี ควรนอนหลับให้ได้ 11-14 ชั่วโมง

- เด็กอายุ 3-5 ปี ควรนอนหลับให้ได้ 10-13 ชั่วโมง

- เด็กโตอายุ 6-12 ปี ควรนอนหลับ 9-12 ชั่วโมง

- วัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ควรนอนหลับ 8-10 ชั่วโมง

ท่านอนที่เหมาะสมในเด็กเล็ก

        ในเด็กแรกเกิด ไม่แนะนำให้นอนคว่ำ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุในทารก (Sudden Infant Death Syndrome : SIDS) แนะนำให้นอนหงายหรือนอนตะแคงดีกว่า และเบาะที่นอนควรมีความแข็งพอสมควร ให้นอนตะแคงสลับข้างซ้ายบ้างขวาบ้าง

SAKER เปลไกวไฟฟ้าอัตโนมัติ
ตัวช่วยผ่อนแรงที่ดีที่สุด ลูกน้อยหลับสนิท&หลับได้นานกว่าเดิมก็ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีกว่าเดิม



ทำอย่างไรให้การนอนหลับมีคุณภาพ

สำคัญที่สุดคือ ต้องเข้านอนและตื่นนอนในเวลาที่สม่ำเสมอในแต่ละวัน โดยเริ่มฝึกตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป

กิจกรรมก่อนเข้านอนควรไม่เกิน 30-45 นาที ควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกสบายเช่น การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น การเล่านิทานก่อนนอน หรือการร้องเพลงกล่อมนอน

ปรับสภาพแวดล้อมของห้องนอนให้เป็นห้องที่เงียบ ไม่มีทีวีและอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป และควรเป็นห้องที่มืดโดยมีม่านบังแสงในเวลากลางคืน และเปิดให้รับแสงแดดเป็นการปลุกในตอนเช้า

ในช่วงระหว่างวันในเด็กเล็กควรให้นอนกลางวันไม่เกินบ่ายสาม

- เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการนอน ไม่ว่าจะเป็นเตียงนอน หรือเปลไกว โดยมีหลักในการเลือกดังต่อไปนี้

Cozee Bed side crib with Rocking เตียงนอนเด็กสำหรับวางข้างเตียง (แบบโยกได้)
อบอุ่น ดูสวย ปลอดภัย กระทัดรัด พกพาเดินทางได้ง่ายสามารถสะพายได้ พร้อมกระเป๋าใน Set



1. การเลือกเปลไกว

คุณสมบัติ การแกว่งไกวของเปลเป็นการเคลื่อนไหวคล้ายกับขณะที่ทารกยังอยู่ในท้องแม่ เปลไกวจึงเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณแม่ไม่ต้องอุ้มกล่อมลูกน้อยตลอดเวลา โดยเปลชนิดนี้เหมาะกับทารกในช่วง 2-3 เดือนแรกมากที่สุด และเพื่อความปลอดภัยควรใช้ดูแลเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 7-12 กิโลกรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเปลไกวและข้อกำหนดในคู่มือการใช้งานด้วย อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรจำกัดเวลาในการไกวเปลให้ลูกน้อยไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน หากไม่จำเป็นจริง ๆ ควรอุ้มกล่อมด้วยตนเอง เพื่อให้ลูกน้อยสัมผัสถึงความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่

เคล็ดลับในการเลือกซื้อและการใช้งาน เด็กบางคนอาจไม่ชอบหรือรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อพ่อแม่ไกวเปล ทางที่ดีก่อนซื้อจึงควรลองให้ลูกนอนในเปลไกวแล้วดูว่าเด็กเงียบหรือหลับสบายดีหรือไม่ เมื่อตัดสินใจซื้อแล้วควรระมัดระวังและตรวจดูอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเปลให้แน่นหนาเพียงพอที่จะป้องกันเด็กลื่นตกลงมา รวมทั้งเลือกเปลไกวที่กว้างพอและไม่สูงจากพื้นเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เปลไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งและหลีกเลี่ยงอันตรายจากการตกเปล


2. การเลือกเตียงนอน

ซึ่งมีสองแบบคือ เตียงเด็กแบบไม้และเตียงเพลย์เพน ซึ่งเป็นเตียงเด็กที่ทำจากวัสดุผ้าไนล่อนกับโครงเหล็กหรืออลูมิเนียม น้ำหนักจึงเบากว่าเตียงไม้ สามารถพับเก็บได้ จึงสะดวกในการพกพาไปใช้ตามสถานที่ต่างๆ

Kinderkraft Sofi Bed 4 in 1 เตียงนอนเด็กแรกเกิด
Baby Cot เตียงนอนแบบคอกกันรอบทิศทาง ช่วยเพิ่มความอบอุ่น กันลม ทำให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดนอนหลับสบาย และยาวนานมากยิ่งขึ้น



แนวทางในการเลือกเตียงนอนสำหรับเด็ก

1. ดูที่ประโยชน์การใช้สอย เตียงนอนสำหรับเด็กแต่ละประเภทนั้นมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นเราก็ต้องดูว่าเราอยากได้เตียงแบบไหน แล้วค่อยเลือกแบบที่ตอบโจทย์ของเราก็พอแล้ว

2. กำลังทรัพย์  แม้จะอยากได้ยังไง แต่ถ้าสู้ราคาไม่ไหวก็เท่านั้น สุดท้ายก็ต้องมาดูอยู่ดีว่างบเรามีที่เท่าไหร่ แล้วสามารถเลือกประเภทเตียงแบบไหนที่พอดีกับทุนของเรา

3. เลือกขนาดที่พอดีกับเด็ก ควรเลือกขนาดของเตียงที่ไม่แคบหรือกว้างจนเกินไป เพราะถ้าแคบเกินไปลูกน้อยอาจอึดอัดไม่สบายตัว หรือถ้ากว้างไปก็อาจทำให้ไม่รู้สึกอบอุ่นเท่าที่ควร

4. ควรมีมุ้งกันยุงติดมาด้วย  เนื่องจากบ้านเรานั้นมีอากาศร้อนชื้น จึงต้องระวังเรื่องของยุงมากัดลูกน้อยด้วย

5. ต้องไม่มีชิ้นส่วนอันตรายสำหรับเด็ก เช่น พวกสารตะกั่ว

6. ควรใช้เตียงแบบมีล้อ  แม้ว่าเตียงอาจจะไม่จำเป็นต้องมีล้อเสมอไป แต่การมีล้อจะช่วยในเรื่องของความสะดวกในเวลาที่คุณอยากจะเคลื่อนย้ายเตียงลูกไปไว้ใกล้ที่นอน หรือจะพาลูกน้อยออกไปรับอากาศข้างนอกบ้าง และที่สำคัญต้องมีที่ล็อคล้อไว้เพื่อไม่ให้เตียงเคลื่อนที่ได้ด้วย

7. ลูกกรง  ช่องว่างระหว่างลูกกรงควรอยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 2 นิ้ว เพราะเป็นระยะปลอดภัยที่สุดที่มือหรือเท้าของลูกจะไม่ไปติดกับซี่กรง



เรียบเรียงข้อมูลจาก
https://www.punnita.com/ https://www.pobpad.com/ และ https://www.sikarin.com/

News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all