ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
ลูกน้อยร้องไห้...อยากรู้ไหมว่าเพราะอะไร?
ลูกน้อยร้องไห้...อยากรู้ไหมว่าเพราะอะไร? การรับมือกับทารกร้องไห้งอแง จัดเป็นความท้าทายอย่างใหญ่หลวง ในเมื่อคุณผ่านช่วงเวลาแห่งการอุ้มท้องโตๆ มา 9 เดือน และทนทุกข์กับความเจ็บปวดจากการคลอดมาแล้ว ตอนนี้ยังต้องมารับมือกับลูกที่กำลังร้องไห้จ้าไม่เลือกเวลา แม้จะได้รู้สึกซาบซึ้งถึงความรักของแม่ (ตัวเอง) ขึ้นมาจับใจ แต่คุณก็ไม่อยากติดอยู่ในวังวนนี้นานนัก
ว่ากันว่าคุณแม่มือใหม่ได้รับการตั้งโปรแกรมให้แสดงปฏิกิริยากับเสียงร้องของลูกโดยอัตโนมัติ แต่คุณก็อ่อนล้าสับสนจนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี การทำความเข้าใจว่าทำไมลูกถึงร้องไห้จะช่วยให้คุณรับมือกับทุกอย่างได้ง่ายขึ้นนับตั้งแต่ให้นมไปจนถึงเข้านอน เสียงร้องไห้ของลูกบางครั้งเป็นการเรียกร้องความสนใจ แต่หลายๆ ครั้งเป็นการแสดงความรู้สึกของทารกผู้ซึ่งยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้เพียงคุณสนองความต้องการได้ตรงใจของหนู เสียงอุแว้คงกลายเป็นเสียงหัวเราะได้ไม่ยาก

ทำไมลูกถึงร้องไห้?
สาเหตุที่ทารกร้องไห้นั้นแตกต่างกันไปตามความต้องการเฉพาะของแต่ละคนอาจจะหิว เหนื่อย เปียกแฉะ หรือเจ็บป่วยก็ตามแต่ จากการทดลองล่าสุดของอเมริกาพบว่า แม่ 35% แยกแยะเสียงร้องไห้ของลูกตัวเองกับลูกคนอื่นไม่ออกตอนเปิดเทปให้ฟัง
ดร. แคลร์ ไบแอม คุ๊ก ผู้ประพันธ์หนังสือ Top Tips For Bottle-Feeding บอกว่า... "เมื่อฟังเสียงร้องไห้ของลูกแล้ว โอกาสที่จะสามารถบอกได้ในทันทีว่าลูกรู้สึกอย่างไร อาจไม่ถูกต้องเสมอไป โดยเฉพาะในช่วงเวลา 2-3สัปดาห์แรก คุณต้องใช้วิธีตัดสาเหตุที่คุณคาดเดาถึงความเป็นไปได้ออกไปทีละข้อจนเหลือคำตอบสุดท้าย" ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้

"หนูหิว"
ความหิวเป็นเหตุผลธรรมดาสุดๆ ที่ทำให้ทารกแรกเกิดร้องไห้ แต่มักถูกมองข้ามไป การที่ทารกหลับไปคาอกแม่ตอนกินนมไม่ได้หมายความว่าได้รับนมอย่างพอเพียง ดูให้แน่ใจว่าลูกได้ดูดนมสองเต้าอย่างเต็มที่แล้วในแต่ละมื้อ คำแนะนำในการให้นมคือ ช่วง 2-3 สัปดาห์แรกให้นมตามความต้องการของลูกก่อน จากนั้นค่อยจัดเวลา เช่น ให้นมอิ่มเต็มที่ทุก3-4 ชั่วโมง
ถ้าลูกกินนมขวดและยังดูดอยู่หลังจากกินนมเสร็จแล้ว ให้นมเพิ่มอีก 1 ออนซ์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับนมตามที่ต้องการเพราะลูกกำลังเจริญเติบโตและมักมีความหิวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็แล้วแต่ไม่ต้องกังวล ตราบเท่าที่ลูกได้รับนมในปริมาณที่แนะนำไว้ที่ข้างกระป๋องนมในรอบ 24 ชั่วโมง

"หนูเหนื่อย"
ก่อนที่ลูกจะเข้าสู่โหมดร้องไห้งอแงและไม่ยอมนอน มักจะส่งสัญญาณตามลำดับ คือขยี้ตา ตาแดงก่ำ และหาวหวอด ทารกที่เหนื่อยมากเกินไปมักม่อยหลับเองได้ยาก โดยเฉพาะถ้ามีผู้คนวนเวียนอยู่รอบข้างทั้งวัน หรือบรรยากาศรอบตัวเสียงดังคึกโครมเกินไป ให้พาไปห้องเงียบๆ แล้วกล่อมให้สงบลง ถ้าไม่ได้ผลให้อุ้มลูกแนบอกหรือนำใส่รถเข็นพาเดินไปรอบๆ บ้าน

"หนูหนาว"
เรามัวแต่ห่วงว่าลูกจะร้อนเกินไปจนนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับแต่ขอให้คิดในทางตรงข้ามบ้าง ลองเปลี่ยนจากการห่มผ้า แล้วให้ลูกนอนในถุงนอนสำหรับทารกแทน จะได้ขจัดปัญหาการสลัดหรือเตะผ้าห่มออกไปแต่ถ้าวันไหนอากาศเย็นจัดหนูก็ต้องการผ้าห่มด้วยเช่นกัน ให้ใช้สามัญสำนึกเป็นหลัก ถ้าลูกตื่นกลางดึกและอากาศค่อนข้างเย็น ให้ห่มผ้าอีกผืน ห้องนอนสำหรับทารกควรมีอุณหภูมิระหว่าง 24-25 องศาเซลเซียส

"หนูว้าเหว่อ่อนแอ"
บางทีทารกอาจต้องการแค่ให้พ่อแม่กอดเท่านั้นเอง ทารกแรกเกิดบางคนมีความสุขเวลานอนถีบขาอยู่ในเปล แต่หลายคนชอบให้อุ้มแนบชิด พึงรื่นรมย์กับช่วงเวลานี้ซึ่งจะมีอยู่ไม่นาน เพราะเมื่อหนูเติบโตขึ้น คุณคงไม่สามารถโอ๋ลูกได้เหมือนตอนลูกเป็นทารกน้อยหรอก

"ทุกอย่างวุ่นวายเกินไป"
ทุกอย่างอาจมากเกินไปสำหรับทารกแรกเกิดซึ่งมักถูกส่งให้คนโน้นคนนี้อุ้มไปทั่ว ดังนั้น
ให้ทำตามตารางด้วยการให้นมทุก 4 ชั่วโมง ให้นมแล้วให้ลูกได้ทำกิจกรรมความบันเทิงสักชั่วโมงครึ่งจากนั้นให้ลูกหลับ โดยในช่วงหัวค่ำควรกำหนดว่าจะพาลูกเข้านอนในเวลา 1 ทุ่มทำให้เหมือนกันทุกวันจนเป็นกิจวัตรนอกจากจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของลูกแล้ว ชีวิตคุณจะวุ่นวายน้อยลงด้วย

"ก็หนูเป็นอย่างนี้นี่นา"
ทารกบางคนมีบุคลิกที่เข้ากับผู้คนได้ยาก คือเป็นประเภทเรียกร้องสูงและจู้จี้มาก มักร้องไห้ได้ง่ายแม้จะได้รับการดูแลอย่างดีก็ตาม ควรพาทารกออกไปรับอากาศบริสุทธิ์นอกบ้านบ้าง หรือให้คนในครอบครัวช่วยดูแลลูกเพื่อให้คุณได้พักผ่อนบ้าง โปรดรำลึกไว้ว่าช่วงเวลาร้องไห้โยเยของเขาจะผ่านพ้นไปเองส่วนใหญ่เมื่ออายุได้ราว 4 เดือน ระหว่างนี้ควรกระตุ้นให้สามีมีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกไปด้วย


วิธีปลอบเมื่อลูกร้องไห้

1.เคลื่อนไหวไปมา
พาลูกเคลื่อนไหวไปมาในหลากหลายรูปแบบจนกว่าจะค้นพบว่าลูกชอบแบบไหน เห่กล่อมเต้นรำ หรือเขย่าหนูเบาๆ ในอ้อมกอดหรือบนเตียง ถ้าไม่ได้ผล ลองพานั่งในรถหรือรถเข็นอาจช่วยได้เช่นกัน

2.ใช้เสียงช่วย
การใช้เสียงช่วยในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเพลงให้ลูกฟัง เปิดวิทยุหรือทีวี ในบางครั้งการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า หรือเปิดก๊อกน้ำ ก็ช่วยได้เช่นกัน

3.พูดคุยด้วย
อุ้มลูกขึ้นมาในระดับสายตาแล้วพูดคุยด้วยอย่างอ่อนโยนว่า "ลูกจ๋า มีเรื่องบ่นเยอะแยะเลยใช่ไหมเนี่ย" ซึ่งเป็นการแสดงว่าคุณตอบสนองต่อปฏิกิริยาของลูกอย่างสงบและควบคุมตัวเองได้

4.สงบเข้าไว้
อย่าโทษตัวเองที่ไม่รู้ว่าลูกต้องการอะไร ถ้าทารกมีสุขภาพดีแต่ส่งเสียงโหยไห้โดยไร้เหตุผลก็ให้คิดเสียว่าเป็นช่วงหนึ่งของพัฒนาการของหนูที่มักร้องไห้ออกมาง่ายดาย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณล้มเหลวแต่อย่างใด
  
ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/43032
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all