ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
อมยิ้มปลอมระบาด ลูกอมปีศาจภาคใหม่ ?!? โดย สสส.
อมยิ้มปลอมระบาด ลูกอมปีศาจภาคใหม่?!? โดย สสส. 'อมยิ้ม' หรือเรียกตามภาษาฝรั่งว่า โลลลี่ป็อป (Lollipop) เป็นก้อนแข็งของลูกอม ที่ติดอยู่ปลายของแท่ง คาดว่ามาจาก รากศัพท์ของ lolly (tongue) ลิ้น + pop แต่คนไทย คิดชื่อขนมหวานยอดนิยมของเด็กๆ ทั่วโลกได้น่ารักน่าชิมลิ้มรสกว่าอย่างอารมรณ์ดีว่า อมยิ้ม ซึ่งดูเหมือนไม่น่ามีอะไรสำคัญสำหรับขนมเด็กๆ ที่ดูไม่มีพิษภัยท่ามกลางสีสันสดใสดึงดูดใจเด็กๆ ของขนมหวานกินเล่นชนิดนี้

แต่จากกระแสข่าวดังในรอบสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อทางเจ้าหน้าที่ ซึ่งนำทีมโดย นพ.พิพัฒน์ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทนัย อภิชาติเสนีย์ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (รอง ผบก.ปคบ.) ได้เข้าไปตรวจสอบแหล่งผลิตอมยิ้มปลอม ย่านทุ่งครุ กรุงเทพฯ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ผลิตอมยิ้มรายหนึ่งว่า ได้มีผู้ลักลอบผลิตอมยิ้มปลอม เลียนแบบอมยิ้มของโรงงานตนเองที่ได้ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย

โดยมีการเลียนแบบทั้งรูปร่างลักษณะ หีบ ห่อ ฉลาก ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการบริโภคของเด็กได้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบของกลาง เป็นอมยิ้มที่ผลิตเลียนแบบยี่ห้อที่ขออนุญาตถูกต้อง 7,000 แท่ง รวมทั้งพบอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เช่น กระทะ เตาแก๊ส หม้อต้ม เครื่องพิมพ์ เครื่องขึ้นรูป พร้อมทั้งฉลาก และซองที่เตรียมบรรจุเป็นจำนวนมากและสถานที่ผลิตดังกล่าว ยังไม่ได้มาตรฐานจีเอ็มพี (GMP - Good Manufacturing Practice หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ซึ่งหมายถึง หลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตอาหารที่ดี โดยมีระบบการควบคุมทุกขั้นตอน ซึ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด)

มาสำรวจตรวจดูว่าปรากฏการณ์อมยิ้มปลอมระบาด ส่งผลสะเทือนต่อเด็กๆ และพ่อแม่ผู้ปกครองกันอย่างไรบ้าง

ย้อนรอยลูกอมปีศาจ
หากย้อนกลับไปสู่อดีตกาล อมยิ้มอันแรกนั้นตามการค้นคว้าของสมาคมขนมแห่งชาติ (National Confectionary Association) ของสหรัฐอเมริกา สันนิษฐานว่า เกิดจากคนถ้ำที่ใช้แท่งเก็บรวมน้ำผึ้ง โดยไม่ต้องการทิ้งน้ำผึ้งไป และชอบใช้วิธีการเลียภาชนะ นั่นจึงทำให้ก้อนลูกอมติดบนแท่งถือกำเนิดขึ้น

จากบันทึกของชาวอาหรับจีนและอียิปต์โบราณนั้น รู้จักวิธีการนำผลไม้และถั่วมาเคลือบน้ำผึ้งที่เรียกว่า แคนดีด (candied) เพื่อเป็นถนอมผลไม้ไว้กินได้นานๆ และแท่งไม้ก็เริ่มมีส่วนในการช่วยให้การกินง่ายขึ้น ส่วนในยุคกลางของยุโรปน้ำตาลมีคุณค่าและราคาแพงเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้จึง มีการต้มน้ำตาลและทำให้อยู่ในรูปก้อนแข็งและทำให้ง่ายในการกินและดูหรูหรา โดยการเสียบเป็นแท่งจนถึงในศตวรรตที่ 17 ที่น้ำตาลมีเยอะและหาได้ง่าย มีการนำน้ำผลไม้มาผลิตเป็นลูกอมเจ้าของ บริษัทแมคอวินีย์ แคนดี พยายามที่นำลูกอมแข็งๆ ติดกับแท่งไม้เพื่อให้ลูกของเขา และในปี 2451 จอร์จ สมิธ ได้ให้ชื่อลูกอมแข็งๆติดกับแท่งไม้ว่า 'โลลลี่ป็อป' และได้รับความชื่นชอบ ในปีเดียวกันนั้นเองที่บริษัทราซีน แมชชีน ได้ผลิตเครื่องจักรผลิตอมยิ้มได้เป็นเครื่องแรกโดยสามารถผลิตได้ถึง 2,400 ชิ้นต่อชั่วโมงเลยทีเดียว จนถึงปัจจุบันอมยิ้มกลายเป็นขนมหวานยอดฮิตของเด็กๆ ด้วยสีสัน รสชาติรูปทรงที่หลากหลาย สำหรับผู้ใหญ่อมยิ้มก็ทำให้นึกถึงความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี

สำหรับในเมืองไทยเอง ลูกอม ทอฟฟี่ อมยิ้ม ก็เป็นของกินเล่นสนุกสนานสำราญใจของเด็กๆ มายาวนนาน และมาเกิดเรื่องในปี 2543 กับเกรต มอนสเตอร์ (Great Monster) หรือที่เด็กๆ รู้จักกันในนามของ 'ลูกอมปีศาจ' เป็น กระแสข่าวที่โด่งดังในอดีต ซึ่งการรับประทานลูกอมชนิดนี้ ในปริมาณมากจะก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน หากรับประทานเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมของโลหะหนักในร่างกาย ที่เกิดจากปริมาณของสีผสมอาหารที่มีอยู่ในลูกอมเหล่านี้ ทำให้เกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ชีพจร และการหายใจอ่อนลง

ข่าวฮือฮาเรื่อง 'ลูกอมปีศาจ' หรือ 'อมยิ้มเรืองแสง' ดังกล่าว มีการอ้างว่านำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น จีน วางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในท้องตลาด และยังมีการโฆษณาขายทางอินเทอร์เน็ต รับสั่งจองล่วงหน้าและบริการจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์อีกด้วย จากการตรวจสอบพบว่า ไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ มีลักษณะรูปร่างคล้ายอมยิ้มทั่วไป แต่ในส่วนก้านเป็นหลอดพลาสติกใส ข้างในมีของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อหักก้านอมยิ้มจะทำให้เกิดการเรืองแสง และทำให้เกิดการปนเปื้อนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้


ถึงคิว 'อมยิ้มปลอม 2554'
การที่สินค้าใดจะสามารถวางขายได้ตามท้องตลาดนั้น ต้องผ่านกระบวนการผลิต รวมทั้งขั้นตอนต่างๆ ในการตรวจสอบมากมาย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าเลียนแบบเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ ทั้งนี้เพราะสินค้าบางประเภท สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล จึงก่อให้เกิดการปลอมแปลงเลียนแบบขึ้น โดยสินค้าเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วไม่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะผู้บริโภคในวัยเด็กและเยาวชน ซึ่งขาดการพิจารณาก่อนซื้อ

กรณีของอมยิ้มปลอมที่กำลังระบาดและถูกตรวจจับได้ มีการทลายโรงงานจนเป็นข่าวโด่งดังนั้น ดร.ทิพย์ วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการ กองควบคุมอาหาร อย. ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สถานการณ์ในขณะนี้ยังถือว่าสามารถควบคุมได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเฝ้าระวังมาโดยตลอด โดยกรณีของอมยิ้มปลอม ซึ่งเลียนแบบทั้งตัวผลิตภัณฑ์ ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ ก็ถือเป็นกรณีแรกที่ถูกจับได้ ส่วนใหญ่คนที่เดือดร้อนจะเป็นผู้ประกอบการเองที่มาแจ้งว่า มีผู้ผลิตรายอื่นปลอมยี่ห้อของตนเอง

"โดยผู้ผลิตอาจจะแจ้งว่า ของๆ ตน ไม่ได้มาวางขายบริเวณนี้ หรือมีผู้ผลิตรายอื่นปลอมเลข อย.ของตนเอง ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดี จำคุก 6 เดือน -10 ปี และปรับ 5,000 - 100,000 บาท ส่วนในกรณีของสินค้าประเภทอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค เช่น ใช้สีเกินมาตรฐานที่กำหนดและมีปริมาณสารปรอท กินแล้วอาเจียน เป็นอันตรายต่อร่างกายก็ต้องถูกดำเนินคดี ซึ่งรวมไปถึงอาหารนำเข้าบางประเทศจะมีบอเร็กซ์ สารกันรา ฟอร์มาลีน เพราะถือว่าเป็นสารต้องห้าม โดยสามารถสังเกตได้ง่ายๆ อาหารเหล่านี้จะไม่มีทะเบียน อย. หรือไม่มีฉลากภาษาไทย และไม่มีเลขสารบบอาหาร 13 หลัก ในกรอบเครื่องหมาย อย. ที่ฉลาก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ซึ่งหากทาง อย. ตรวจพบก็จะยึดไว้ แม้อาหารเหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม เพราะถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต"

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/42900
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all