ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
ไขความลับ "เพิ่มความสูง" ให้ลูกชายหญิง

ไขความลับ "เพิ่มความสูง" ให้ลูกชายหญิง ท่ามกลางกระแสสังคมที่ให้ความสำคัญกับค่านิยมความสวยหล่อ คงจะปฏิเสธเรื่องรูปร่าง และความสูงไปไม่ได้ เพราะสังคมให้ความคาดหวังกันว่า "หน้าตาดีอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีเรื่องความสูงเป็นองค์ประกอบด้วยถึงจะผ่าน" ทำให้พ่อแม่ และลูกหลายคน วิตกกังวลกับเรื่องความสูงเป็นอย่างมาก จนบางคนเกิดเป็นปมด้อย ว่าตัวเองเกิดมาไม่สูง หรือเตี้ยกว่าเพื่อน ส่งผลต่อสภาพจิตใจไปตามๆ กัน

เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง และลดความวิตกกังวลลง "นพ.วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช" แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.ปิยะเวท ไขข้อสงสัยให้ฟังว่า การเจริญเติบโต และการพัฒนาการด้านความสูง และการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา โดยตลอด 9 เดือน จะมีการเจริญเติบโต และพัฒนาตัวอย่างไม่หยุดยั้งทุกระบบ โดยอัตราการเจริญเติบโตนั้นในแต่ละวัยจะมีความแตกต่างกัน

สำหรับวัยที่มีการเจริญเติบโตมากกว่าวัยอื่น คือ วัยในครรภ์ จนถึง 2 ขวบแรก และวัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นตอนต้นที่จะมีอัตราการเพิ่มความสูงต่อปี (Height velocity) มากที่สุด โดยเด็กผู้หญิงจะเพิ่ม 8 ซม.ต่อปี เมื่อถึงอายุ 11 ปี ส่วนผู้ชายจะเพิ่ม 10 ซม.ต่อปี เมื่อถึงอายุ 13 ปี

กล่าวโดยสรุป (เฉพาะแต่เรื่องความสูง) สามารถแบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 ช่วง

ช่วงที่ 1 : 0-2 ปี

ช่วงที่ 2 : 2-11 ปี ความสูงจะเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 5 ซม./ปี

ช่วงที่ 3 : ช่วงการเจริญเติบโตในระยะนี้กินเวลาประมาณ 4-5 ปี เพศหญิงเริ่มมีการเติบโตที่เร็ว เมื่ออายุ 11.5 ปี และ เติบโตน้อยลงเมื่ออายุ 16 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 8 ซม./ปี ส่วนเด็กผู้ชาย จะเริ่มที่อายุ 13.5 ปี และหยุดโตเมื่ออายุ 20 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 10-12 ซม./ปี

จะเห็นได้ว่าการช่วง 4-5 ปีนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดเพิ่มความสูงของร่างกาย โดยปัจจัยที่ส่งเสริมการเพิ่มความสูง ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน โภชนาการ การออกกำลังกาย การนอนหลับ

ช่วงที่ 4 : 17-18 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายมีการเติบโตเกือบเต็มที่แล้วโดยประมาณคือ 95-98% ของความสูงของผู้ใหญ่

*** ปัจจัยที่มีผลต่อความสูง

1. พันธุกรรม
เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับความสูงของคุณพ่อและคุณแม่ ว่าท่านจะให้มาเท่าไหร่ โดยเฉลี่ยแล้วความสูงของลูกนั้นมีสูตรคำนวณคือ

เด็กชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) หาร 2 ความสูงที่ควรจะเป็น บวกลบ 8

เด็กหญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ - 13) หาร 2 ความสูงที่ควรจะเป็น บวกลบ 6

แต่ถึงกระนั้น ปัจจัยทางพันธุกรรมก็ไม่ใช่ปัจจัยอย่างเดียวที่จะกำหนดความสูงขอเรา คนที่คุณพ่อและคุณแม่ ความสูงไม่มาก แต่มีลูกที่มีความสูงมากก็มีให้เห็นมากมาย ดังนั้นคนที่คิดว่าสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ให้มานั้น มันไม่มากซักเท่าไหร่ ก็ต้องให้ความสำคัญกับ ฮอร์โมน โภชนการ การออกกำลังกายและ การนอนหลับ มากขึ้น

ความสูงของเด็กในวัยต่างๆ
  • แรกเกิด ความสูง 50 ซม.
  • 6 เดือนแรก ความสูงเพิ่ม 2.5 ซม./เดือน ความสูง 65 ซม.
  • 6 เดือนหลัง ความสูงเพิ่ม 1.5 ซม./เดือน(จำนวนเท่าของความสูงแรกเกิด 1.5เท่า เมื่ออายุ 1 ปี )ความสูง 75 ซม.
  • 1-2ปี ความสูงเพิ่ม 12 ซม.(จำนวนเท่าของความสูงแรกเกิด 1.75เท่า เมื่ออายุ 2 ปี )ความสูง 87 ซม.
  • 2-7ปี ความสูงเพิ่ม 5-6 ซม./ปี(จำนวนเท่าของความสูงแรกเกิด 2เท่า เมื่ออายุ 4 ปี )ความสูง 100 ซม.
  • 8-15ปี ความสูงเพิ่ม 7-8 ซม./ปี(จำนวนเท่าของความสูงแรกเกิด 3เท่า เมื่ออายุ 13 ปี )ความสูง 150 ซม.

2. ฮอร์โมน

ฮอร์ไมนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสูงตัวหลักๆ ได้แก่ โกรท์ฮอร์โมน (Growth Hormone) โดยเจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยเพิ่มการเติบโตของเชลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะเกือบทั่วร่างกาย จะทำให้กระดูกมีความยาวมากขึ้น กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่มากขึ้น โกรท์ฮอร์โมนจะมีการผลิตเป็นจำนวนมากตอนเข้าสู่วัยรุ่น

โดยที่ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) จะเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้โกรท์ฮอร์โมนทำงานได้ดีขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้หญิงจึงมีความสูงเพิ่มขึ้นก่อนเด็กชาย ประมาณ 2 ปี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นให้มีร่างกายผลิตโกรท์ฮอร์โมนขึ้นมาได้แก่
  • กรดอะมิโนที่ได้จากการรับประทานอาหาร เช่น Arginin, lysine, lucine
  • การนอนหลับเนื่องจากร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนตัวนี้ขณะที่นอนหลับสนิทตอนกลางคืนในช่วง 1-3 ชั่วโมงแรก
ส่วนปัจจัยที่ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนได้แก่ ภาวะโรคอ้วน, มีปริมาณฮอร์โมนบางชนิดที่มากผิดปกติ เช่น Cortisal

*** ออกกำลังกายช่วยเพิ่มมวลกระดูก

สำหรับการออกกำลังกายนั้น คุณหมอบอกว่า สามารถช่วยเพิ่มมวลกระดูก และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันการบาดเจ็บ โดยการออกกำลังกายแบบที่มีแรงกระแทกที่เหมาะสม หลากหลายทิศทาง มีการเปลี่ยนแปลงความเร็ว และความเร่งจะเป็นตัวกระตุ้นในการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงมากขึ้นได้ดีที่สุด หรือพูดง่ายๆ ว่าการกระโดดโลดเต้น ในหลายๆ ท่า ถือเป็นยาชั้นดีที่จะส่งเสริมให้กระดูกแข็งแรง รวมถึงทำให้มีความสูงที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก็สามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกได้อีกทางหนึ่งด้วย

การออกกำลังกายที่มีลักษณะชนิดที่มีการกระโดดโลดเต้นนี้ เป็นชนิดของการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกลงมาที่กระดูกสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้กระดูกมีความแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดีกว่าการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ ซึ่งพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายโดยการเล่นบาสเกตบอล บัลเล่ ยิมนาสติก ฟุตบอลซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูง จะมีมวลกระดูกที่มากกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย


ขณะที่การว่ายน้ำซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำต่อร่างกายจะมีมวลกระดูกที่ต่ำกว่า โดยวัยที่สามารถเพิ่มการสะสมมวลกระดูกได้ดีที่สุดคือ ช่วงเวลาก่อนที่เข้าสู่วัยรุ่น 2 ปี เพศหญิงคือช่วงอายุ 9-11 ปี ส่วนผู้ชายคือช่วงอายุ 11-13 ปี จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาทองที่จะสะสมแคลเซียม และเสริมสร้างมวลกระดูกนั้นเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างสั้น

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย และเรื่องการรับประทานอาหารตั้งแต่ช่วงวัยเด็กเป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้เสริมสร้างมวลกระดูก เพราะหลังจากช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่น จะเป็นช่วงวัยรุ่นที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตและมีความสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์มากมายแต่ถ้าเราไม่เดินสายกลางออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกมากจนเกินไปอาจส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อ Growth plate ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของกระดูกได้ หรือในผู้หญิงที่ออกกำลังกายมากเกินไปจนสัดส่วนของ กล้ามเนื้อ และไขมันในร่างกาย (body composition) เปลี่ยนแปลงไปโดยมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมันในสัดส่วนที่มาก จะส่งผลต่อวงรอบประจำเดือน ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ


*** แนวทางการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและการเติบโตในกลุ่มเด็ก และวัยรุ่น (กลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี)

ชนิดของการออกกำลังกาย
  • การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกหรือมีการลงน้ำหนักตัว ในทิศทางที่หลากหลาย เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล บัลเล่ย์ การกระโดดโลดเต้น
  • เน้นกิจกรรมการเล่นที่สนุกและดึงดูดใจ เนื่องจาก เด็กจะเบื่อต่อกิจกรรมที่ทำ ซ้ำๆ
  • ความหนักของการออกกำลังกาย
  • ออกกำลังกายด้วยความหนักปานกลาง โดยดูจากความเหนื่อยขณะที่ออกกำลังกายสามารถพูดต่อเนื่องเป็นประโยคได้
  • น้ำหนักที่ใช้ในการยกเวทต้องเป็นน้ำหนักน้อยๆ ควรจะน้อยกว่า 60% ของ 1RM เน้นท่าทาง และเทคนิคการยกน้ำหนักหรือแรงต้านที่ถูกต้องมากกว่าน้ำหนักที่ยกมากๆ
  • ต้องออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย ได้แก่ แขน ขาทั้งสองข้าง และกล้ามเนื้อของลำตัว

ระยะเวลา 20-30 นาที ความถี่ 3-5 วันต่อสัปดาห์
*** แนวทางการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกในกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุมากว่า 20 ปี)

ชนิดของการออกกำลังกาย
  • สามารถออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกหรือมีการลงน้ำหนักตัว ในทิศทางที่หลากหลาย ได้เช่นเดียวกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
  • เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค โดยการออกกำลังกายต่อเนื่อง เป็นเวลานาน อย่างน้อย 20 นาที

ความหนักของการออกกำลังกาย
  • ออกกำลังกายด้วยความหนักปานกลาง โดยดูจากความเหนื่อยขณะที่ออกกำลังกายสามารถพูดต่อเนื่องเป็นประโยคได้
  • สามารถใช้น้ำหนักที่ใช้ในการยกเวทได้มากขึ้น โดยปกติน้ำหนักจะอยู่ที่ 60-80 % ของ 1RM
  • สามารถออกกำลังกายในการยกน้ำหนักได้ทุกท่า
  • เน้นท่าทาง และเทคนิคการยกน้ำหนักหรือแรงต้านที่ถูกต้อง

ระยะเวลา ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือด 20-30 นาที และออกกำลังกายเพิ่อลดน้ำหนัก 30-45 นาที โดยใช้ความถี่ 3-5 วันต่อสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม นอกจากการออกกำลังกายแล้ว คุณหมอบอกว่า มีหลายการวิจัยสนันสนุนว่าการเสริมสารอาหาร และแคลเซียม ร่วมกับการออกกำลังกาย จะยิ่งส่งผลดีต่อการสร้างมวลกระดูก และเร่งการเจริญเติบโตของกระดูกได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000032917
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all