ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ "โอ๋-อวดลูก"

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ "โอ๋-อวดลูก" เคยพบเหตุการณ์เช่นนี้ในชีวิตกันบ้างไหมคะ กับการพาลูก ๆ ออกมาเจอสังคมภายนอกเพื่อให้ลูกได้พบปะกับเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน แล้วก็พบว่ามีคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ เข้ามาชวนคุย ไป ๆ มา ๆ กลายเป็นการเปรียบเทียบ วิพากษ์วิจารณ์ หรือให้คำแนะนำในสิ่งที่คุณและครอบครัวไม่อยากจะได้ยิน ได้ฟัง รวมถึงการ "อวดลูก"

เชื่อแน่ว่ามีหลายท่านที่ต้องพบกับเหตุการณ์น่ากระอักกระอ่วนใจดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบัน อาจเริ่มตั้งแต่ตอนที่ลูกยังเล็กกันเลยเดียว กับการเปรียบเทียบพัฒนาการว่าลูกของใครจะเร็วกว่ากัน ทำไมลูกของอีกคนหนึ่งเร็วกว่า เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าจะเป็นอะไรไหม ฯลฯ ไล่ไปจนถึงลูกเข้าโรงเรียน ได้เกรดอะไร ชอบวิชาไหน ทำกิจกรรม-เรียนพิเศษอะไรบ้าง เรียกได้ว่า หากมีการเปิดประเด็นเรื่องลูก พ่อแม่ส่วนมากก็พร้อมใจจะแสดงความคิดเห็น รวมถึงนำพัฒนาการของลูกตนมาเปรียบเทียบกับลูกของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ที่มีลูกเรียนในโรงเรียนชื่อดังยิ่งมีโอกาสพบกับเหตุการณ์ดังกล่าวสูง ซึ่งในกรณีนี้ "ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา" ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ให้ความเห็นว่า

"ปัจจุบัน ยุคสมัยเปลี่ยนไป พ่อแม่หลายคนเลี้ยงลูกโดยให้ลูกเป็นตัวอุ้มชูหน้าตาพ่อแม่ ใช้ลูกเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่เกิดความภาคภูมิใจ โดยอาจมีปมมาตั้งแต่วัยเด็กว่าตนเองเคยเสียหน้า เสียภาพพจน์มาก่อน เพื่อให้เกิดการยอมรับว่าตนเองนั้นเลี้ยงลูกดี ไม่ให้ใครมานินทาได้ ก็ใช้วิธีอวดลูกขึ้นมากลบทับปมในวัยเด็ก"

"อีกกรณีหนึ่งคือ เป็นการเลี้ยงเพื่อชดเชยความต้องการของพ่อแม่ที่ขาดหายไปในวัยเด็ก พ่อแม่บางคนไม่ได้เรียนเปียโน ไม่ได้เรียนพิเศษ ไม่ได้เรียนว่ายน้ำ พอมีลูกก็ส่งลูกเรียนทุกอย่าง ในส่วนนี้ หากพ่อแม่มีเวลามาวิเคราะห์ตัวเองบ้าง คงได้ถามตัวเองว่า มันมากไปหรือเปล่าสำหรับลูก เพราะถึงจุด ๆ หนึ่ง เด็กกลุ่มนี้เขาอาจจะปฏิเสธ ต่อต้านความต้องการของพ่อแม่ทุกวิถีทางก็เป็นได้"

โอ๋ลูกเกินจำเป็น
นอกจากการอวดลูก ๆ กับคนรอบข้างแล้ว ประเด็นเรื่องการโอ๋ลูกจนเกินพอดีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะมีพ่อแม่ไม่น้อยที่ไม่สามารถยอมรับได้ว่า การกระทำของลูกนั้นผิด ไม่เหมาะสม หรือไม่ถูกกาลเทศะ เมื่อเด็กทำลงไป ก็พร้อมที่จะเข้ามา "โอ๋" จนเด็กเกิดความสับสน

"ในประเด็นของการโอ๋ลูก ก็เป็นเพราะยุคสมัยอีกเช่นกัน เหตุที่ทำให้พ่อแม่โอ๋ลูก ปกป้องลูกมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความกลัวว่าลูกจะไม่รักตัวเอง นักจิตวิทยาบอกว่าเป็นการสะท้อนตัวตนในสมัยอดีตของพ่อแม่เอง ที่พ่อแม่ไม่รักเรา บ้านไม่อบอุ่น เลยกลายเป็นแรงบันดาลใจกับลูกว่าวันหนึ่งมีลูกจะไม่ทำแบบนี้กับลูก ลูกต้องไม่เจ็บปวดอย่างที่ฉันเป็น"

การกระทำดังกล่าว นอกจากจะเป็นการทำเพื่อชดเชยความรู้สึกในวัยเด็กของพ่อแม่ส่วนหนึ่งแล้ว พ่อแม่กลุ่มนี้ยังอาจแสดงต่อหน้าคนอื่นเพื่อปกป้องลูกว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ฝีมือลูกของตนเองเสียอีก


แล้วจะสะกิดพ่อแม่สองกลุ่มนี้ได้อย่างไร?

"สะกิดยาก เพราะเป็นความกลัวจากการเลี้ยงลูก ต้องถามพ่อแม่ว่าเราต้องการอะไรในตัวลูก ไม่ใช่บอกว่า อยากให้ลูกเป็นคนดีอย่างเดียว ต้องถามว่าอยากให้เขาเอาตัวรอดในสังคมหรือเปล่า ถ้าทำตรงนี้ได้ ตัวพ่อแม่ต้องเพิ่มคุณค่าในตัวเอง ต้องมีวิถีของตัวเอง อย่าแสวงหาคุณค่าจากลูกมาเติมเต็มแต่เพียงอย่างเดียว" ดร.จิตราให้ความเห็น

การเพิ่มคุณค่าในตัวเองของพ่อแม่อาจทำได้หลายวิธี เช่น การพาครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ สอนให้ลูกมองเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน และเห็นคุณค่าของความแตกต่างกัน นอกจากนั้น การชี้ให้เห็นถึงจุดที่ต้องปรับปรุงอย่างสร้างสรรค์ ก็เป็นหน้าที่ของคนรอบข้างด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจารย์รวิวรรณ สารกิจปรีชา ในฐานะนักวิชาการที่คร่ำหวอดในวงการเด็กได้ให้เทคนิคเพิ่มเติมด้วยว่า

"การบริหารจัดการเด็กและพ่อแม่ เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว ต้องค่อย ๆ ให้ข้อมูลกับพ่อแม่ว่าเด็กเป็นอย่างนี้ ๆ อาจต้องมีหลักฐานให้ดูด้วย การคุยควรใช้ประโยคในทางสร้างสรรค์ คิดในแง่บวกเอาไว้ก่อน เช่น ทันทีที่พ่อแม่เขาปกป้องลูกตนเอง ตอนนั้นหากคนรอบข้างพูดไป ยังไงเขาก็ไม่ฟังเรา ควรปล่อยไปสักพักก่อน แล้วค่อยมาคุยกันใหม่ โดยอาจเริ่มจากให้ข้อมูลกับพ่อแม่ทีละน้อยว่า เด็กมีพฤติกรรมอย่างนี้นะคะ มีหลักฐานให้เขาเห็น แล้วก็ต้องบอกด้วยว่าไม่ใช่ว่าลูกคุณเป็นเด็กไม่ดีนะ แต่จะดีกว่าไหมหากลองทำแบบนี้ มันจะช่วยให้ลูกคุณดีขึ้น ทุกอย่างมันปรับได้ค่ะ อย่าไปหวังผลว่าจะเกิดขึ้นในวันเดียวก็พอ"

ถ้าพ่อแม่เปิดใจซึ่งกันและกัน การจะร่วมมือกัน สร้างเด็ก ๆ ให้เป็นเด็กดีก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถค่ะ

ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
ข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/14250
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all