ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
นั่งรถเที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก

นั่งรถเที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เดี๋ยวนี้ รูปแบบการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควรค่ะ จากในอดีตที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน เมื่อมีลูกก็จะเก็บหอมรอมริบ เตรียมเงินไว้ส่งเสียเจ้าตัวเล็กให้ได้เรียนในชั้นสูง ๆ โอกาสในการเดินทางไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวจึงมีค่อนข้างน้อย ขณะที่คุณพ่อคุณแม่ในปัจจุบันกลับตรงกันข้าม หลายครอบครัวเลือกที่จะพาลูก ๆ เดินทางไปด้วยกัน เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยกัน ยิ่งในยุคน้ำมันถูก (ชั่วคราวหรือเปล่าไม่แน่ใจนะคะ) โอกาสในการเดินทางท่องเที่ยว และเรียนรู้โลกของเด็ก ๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น

แต่เมื่อถามถึงพาหนะในการเดินทางของครอบครัวไทยส่วนใหญ่แล้วหนีไม่พ้นต้องพึ่งพา "รถยนต์" เป็นหลักค่ะ แน่นอนว่า คุณพ่อคุณแม่มักจะนั่งด้านหน้า ส่วนเจ้าตัวเล็ก บ้างก็อุ้มไว้ในตัก บ้างก็นั่งอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของรถยนต์ ซึ่งจากการสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์แล้ว การนั่งของเด็กในลักษณะดังกล่าวอาจไม่ปลอดภัยก็เป็นได้ค่ะ

ทั้งนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เชฟโรเล็ต ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ได้ให้ข้อมูลว่า สิ่งที่น่าจะปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็กในการนั่งรถยนต์คือ child seat ค่ะ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลัก แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาไม่ค่อยให้ความสำคัญ และมองอุปกรณ์ดังกล่าวว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงทำให้ภาษีของ child seat ค่อนข้างสูง ยากแก่การหาซื้อมาใช้ในครอบครัว ในขณะที่ต่างประเทศมีการใช้อย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ดี ทางบริษัทเชฟโรเล็ตก็ได้ให้คำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการนั่งรถยนต์ที่ปลอดภัย และเหมาะสมสำหรับเด็ก กรณีไม่มี child seat มาดังนี้ค่ะ

- ผู้ปกครองควรให้เด็กนั่งที่นั่งตอนหลัง และนั่งชิดด้านใดด้านหนึ่ง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ เด็กจะกระเด้งไปชนกับเบาะพนักพิง ซึ่งมีความนุ่ม ช่วยลดการบาดเจ็บลงได้ และไม่ควรให้เด็กนั่งตรงกลาง เนื่องจากเด็กอาจกระเด้งออกไปนอกตัวรถได้ค่ะ

- ไม่ควรใช้เข็มขัดนิรภัยเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับสรีระของผู้ใหญ่มาคาดให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่มีกระดูก หรือกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเหมือนกับสรีระของผู้ใหญ่ จึงอาจทำให้เด็ก ๆ บาดเจ็บได้

- ที่สำคัญ ไม่ควรอุ้มเด็กไว้บนตักในที่นั่งด้านข้างคนขับ เนื่องจากมีการศึกษาว่า ในกรณีที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็วเพียง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้น น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า ดังนั้น เมื่อเกิดการชน หรืออุบัติเหตุ จึงเป็นการยากที่ผู้ใหญ่จะอุ้มเด็กเอาไว้ได้ไหว จึงมักมีข่าวคราวน่าเสียใจเกิดขึ้นบ่อย ๆ เมื่อพบว่าเด็กกระเด็นออกมานอกรถ นอกจากนั้น ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัย (Air Bag) เมื่อเกิดอุบัติเหตุ แอร์แบ็กระเบิดออกมาอาจกระแทกกับลูกทำให้ได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน

แต่ก็มีอีกหลายครอบครัวที่ซื้อหา child seat มาติดตั้งไว้ในรถยนต์ เพื่อความปลอดภัยของลูก ๆ ค่ะ แม้ว่าบ้านเราจะยังไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็ตาม ซึ่งหลักในการเลือก child seat จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลยค่ะ

1. โครงสร้างของเบาะต้องรับกับสรีระของเด็ก เพื่อให้เด็กนั่ง "สบาย" และเวลาเกิดการกระแทกสามารถปกป้องจุดสำคัญ ๆ ในร่างกายได้

2. สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เช่น สามารถถอดเบาะหุ้มออกไปซักได้

3. มีการระบายอากาศที่ดี เด็กนั่งแล้วไม่ร้อน เพราะเด็กบางคนนั่งคาร์ซีทแล้วร้อน ก็อาจหงุดหงิด ร้องไห้โยโยได้ค่ะ

4. รองรับการเจริญเติบโตของเด็ก เพราะเด็ก ๆ สมัยนี้โตเร็วมาก ดังนั้น หากเบาะสามารถยืดขยาย ปรับระดับเก้าอี้ พนักพิงได้ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ออกไปได้อีกค่ะ

5. มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน หรือมีรางวัลการันตี

6. ไม่มีส่วนที่เป็นเหลี่ยมคม ที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

7. วัสดุที่ใช้ผลิตมีความแข็งแรง ทนทาน และถ้าจะให้ดี ควรมีน้ำหนักเบาด้วยค่ะ เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

อย่างไรก็ดี การติดตั้ง child seat ควรศึกษาจากคู่มือ และไม่ควรติดตั้งบริเวณเบาะหน้าด้านข้างคนขับ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ ลูก ๆ อาจบาดเจ็บจากการพองตัวของถุงลมนิรภัยได้เช่นกันค่ะ ซึ่งจุดที่ปลอดภัยที่สุดควรเป็นเบาะหลังของรถยนต์ค่ะ

ส่วนเด็ก ๆ บางคนที่คุ้นเคยกับการนั่งตักแม่มาตลอด เมื่อมานั่ง child seat ก็อาจไม่สนุกเหมือนเมื่อก่อน ทางรับมือกับปัญหานี้อาจต้องให้เด็กสร้างความคุ้นเคยกับคาร์ซีทประจำตัวกันมาก่อนบ้าง เช่น ชวนเล่น ชวนกันขึ้นไปนั่งบนคาร์ซีทเวลาอยู่ในบ้าน

ทั้งนี้ ราคาของ child seat ที่วางขายกันในปัจจุบัน เริ่มต้นตั้งแต่หลักพัน เรื่อยไปจนถึงหลักหมื่น และหลายหมื่นบาทค่ะ

ข้อมูลจาก : http://www.langrod.com
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all