ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
‘ปาน’ หลากชนิดของเบบี๋
‘ปาน’ หลากชนิดของเบบี๋ เมื่อลูกน้อยเกิดมาคุณพ่อคุณแม่ย่อมรู้สึกปลาบปลื้มยินดี แต่เอ๊ะ...ทำไมที่ผิวหนังมีรอยปื้นและสีผิดปกติ ซึ่งบางครั้งอาจพบตั้งแต่แรกเกิดหรือเกิดขึ้นภายหลังก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าความผิดปกตินั้นเป็นปานหรือไม่ และมีอันตรายต่อลูกน้อยไหม เรามาทำความรู้จักปานในทารกแรกเกิดกันดีกว่าค่ะ 

สำหรับทารกแรกเกิดอาจพบปานได้หลายชนิด ดังนี้ค่ะ
1.ปานดำแต่กำเนิด (Congenital Melanocytic Nevus) แรกเกิดอาจเห็นเป็นสีค่อนข้างแดง ต่อมาภายในเวลาไม่กี่เดือนจะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้น หรือบางรายอาจเห็นเป็นสี ดำเข้มหรือน้ำตาลเข้มตั้งแต่แรกคเกิดส่วนใหญ่จะมีขนาดโตกว่าไฝธรรมดา ผิวอาจเรียบหรือนูน ขรุขระเล็กน้อย และอาจมีขนอยู่บนปานดำนั้นร่วมด้วย ปานชนิดนี้มักไม่มีอันตราย นอกจากมีผลในด้านความสวยงาม แต่หากมีขนาดใหญ่ อาจมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้

2.ปานมองโกเลียน (Mongolian spot) จะมีลักษณะเป็นปื้นสีเทาหรือสีน้ำเงิน อ่อนขนาดใหญ่ ขนาดตั้งแต่ 0.5 – 11 ซม. มักจะพบบริเวณก้น หลัง อาจพบที่ไหล่หรือศีรษะได้บ้าง ปานชนิดนี้ไม่มีอันตรายใดๆ และมักจะจางหายไปได้เองใน 1 ขวบปีแรก

3.ปานแดง แบ่งออกได้ตามลักษณะดังนี้

- ปานแดงสตรอเบอรี่ (Strawberry Nevus) เป็นตุ่มหรือก้อนนูนสีแดงเข้ม พบในช่วง 1-4 สัปดาห์หลังคลอด มักพบบริเวณใบหน้าและลำคอ ระยะแรกจะโตเร็วจนถึงอายุประมาณ 1 ขวบ จากนั้นสีจะม่วงคล้ำขึ้น และ 85% จะหายไปได้เองภายในอายุประมาณ 7 ขวบ เหลือเป็นแผลจางๆ 

ปานชนิดนี้โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะหายเอง แต่ในบางครั้งอาจมีภาวะ แทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อ ถ้ามีแผลเกิดขึ้นอาจติดเชื้อได้ มีเลือดออก หากปานมีขนาดใหญ่มากอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลวได้ หรือเกิดเกร็ดเลือดต่ำ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเกร็ดเลือดทำลาย กันเอง ซึ่งหากมีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะพิจารณาให้การรักษา เช่น ให้รับประทานยาหรือฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid) เพื่อให้ก้อนปานยุบลงได้ จี้ไฟฟ้าหรือจี้เย็นใช้แสงเลเซอร์ เป็นต้น

- ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ (Capillary Hemangioma) ลักษณะเป็นตุ่มนูนหรือปื้นสีแดงขนาดใหญ่ที่บริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย 

ปานชนิดนี้อาจพบความผิดปกติของตาร่วมด้วย เช่น ถ้าพบปานชนิดนี้บริเวณเปลือกตาหรือขมับ อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเบียดตา หรือเกิดต้อหิน ทำให้ตาบอดได้ นอกจากนั้นแล้วอาจพบร่วมกับความผิดปกติของสมองหรือกระดูกได้

การรักษาปานชนิดนี้มักใช้แสงเลเซอร์ (Vascular laser) ซึ่งผลของการรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของปานแดง


4.ปานโอตะ (Nevus of Ota) อาจพบในเด็กแรกเกิด หรือบางรายพบในตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ลักษณะจะคล้ายปานมองโกเลียน คือมีสีเทาหรือน้ำเงิน แต่มักพบบริเวณโหนกแก้ม หรือขมับ ปานลักษณะนี้จะไม่จางหายไปเหมือนปานมองโกเลียน และจะไม่กลายเป็นมะเร็ง จึงไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากไม่สวยงามเท่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถใช้เลเซอร์รักษาได้

ปานส่วนใหญ่มักจะไม่อันตราย แต่คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติ และหากไม่แน่ใจว่าลูกเป็นปานชนิดใดและอันตรายหรือไม่ ควรพาไปพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อรับการวินิจฉัยและติดตามการรักษาต่อไปค่ะ

  
 ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/40125
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
VISITOR INFORMATION BBB56
VISITOR INFORMATION BBB56
รู้ไว้ก่อนไม่เสียหาย จุดบริการต่างๆ ภายในงาน พร้อมสิทธิพิเศษต่างๆ มากมาย
Promotion Credit Card in BBB56
Promotion Credit Card in BBB56
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ