ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
3 แนวทางสกัดปัญหา พี่น้องไม่รักกัน

3 แนวทางสกัดปัญหา พี่น้องไม่รักกัน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ตัดสินใจมีลูกหลายคน เพื่อหวังว่า ในอนาคต ลูก ๆ จะได้มีพี่น้องไว้คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้พี่ได้รู้จักเสียสละ แบ่งปันของเล่นให้กับน้อง น้องเองก็จะได้รู้จักเคารพพี่ ช่วยเหลือแบ่งเบางานของพี่เท่าที่จะทำได้แล้ว คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่ท่านใดอยากเห็นภาพของพี่น้องทะเลาะเบาะแว้ง ไม่รักใคร่กลมเกลียวกันเป็นแน่ 

แต่ต้องขอเรียนว่า สิ่งที่เป็นตัวการโหมกระพือให้พี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกันมากขึ้นนั้นอาจเป็นตัวคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง แต่ไม่ใช่ตัวคุณพ่อคุณแม่โดยตรง หากเป็นทัศนคติที่พ่อแม่มีต่อลูก ๆ แต่ละคน มองใครในแง่ดี แง่ร้าย เอ็นดูใครมากกว่ากัน

ผู้เขียนมีเพื่อนท่านหนึ่งซึ่งมีลูกสาวสองคน อายุไล่เลี่ยกัน เรียนโรงเรียนเดียวกัน แต่ถ้าสองสาวเป็นพี่น้องที่รักกันก็คงจะดีไม่น้อย

เหตุที่ต้องกล่าวเช่นนี้เพราะพี่น้องสองสาว "ไม่คุยกันเวลาเจอหน้ากันที่โรงเรียน" เรียกได้ว่าต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างมีเพื่อน ต่างมีสังคม

สังเกตจากทัศนคติของเพื่อนผู้เขียนพบว่า ตัวเขาเองค่อนข้างจะเอ็นดูลูกสาวคนเล็กอยู่ไม่น้อย ในขณะที่พี่สาวคนโตนั้นมักทำอะไรไม่ค่อยถูกใจเพื่อนผู้เขียนสักเท่าไร อยู่บ้านก็มักจะโดนดุเป็นประจำ เรียกได้ว่า เวลาอยู่บ้านเป็นเวลาตัวฟีบของเธอเลยทีเดียว

ดังนั้น เมื่ออยู่ที่โรงเรียนและมีเพื่อนให้ความสนใจ มีกลุ่มก๊วนกับเขาขึ้นมา ไม่ต้องง้อน้องสาวกับแม่เหมือนอยู่ที่บ้าน สิ่งนั้นได้ทำให้ใจของเธอ "พอง" ด้วยความยินดี ส่วนคนที่ทำให้เธอไม่ชอบใจ ทุกข์ใจยามอยู่ที่บ้านอย่างน้องสาวก็เลยถูกมองเมินไปนั่นเอง

เราจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ได้อย่างไร มีเทคนิคง่าย ๆ จาก CHILD DEVELOPMENT INSTITUTE มาฝากกันค่ะ

- พ่อแม่ไม่ควรเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพี่น้อง ไม่มีใครชอบถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น หากพ่อแม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็คงไม่ชอบเช่นกันที่จะโดนปฏิบัติเช่นนั้น พี่น้องก็เช่นกัน หากคนพี่ทำได้ดีในบางเรื่อง แล้วพ่อแม่จะยกข้อดีของพี่มาเปรียบเทียบกับน้องคงไม่ดีแน่ เพราะมีแต่จะทำให้น้องเล็กรู้สึกเสียใจในคำเปรียบเทียบของพ่อแม่ ในขณะเดียวกัน หากพ่อแม่เอ็นดูน้องเล็กมากกว่า แล้วนำไปเปรียบเทียบกับลูกคนโต ก็คงทำให้ลูกคนโตเสียใจเช่นกัน

แทนการเปรียบเทียบ ปล่อยให้ลูกแต่ละคนได้เลือกหนทางของตนเอง สามารถกำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ตามความต้องการของตนเองจะเป็นชีวิตที่ลูก ๆ มีความสุขมากกว่า

- อย่าละเลย หรือเมินเฉยต่อความรู้สึกโกรธเกรี้ยวของลูก ยามโกรธอาจเป็นเวลาที่เด็กต้องการพ่อแม่มากที่สุดอีกเวลาหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่จะได้สอนให้ลูกรู้จักธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความโกรธกันได้บ้างเป็นเรื่องธรรมดา และต้องไม่ให้ลูกใช้ความโกรธเป็นประตูไปสู่สิ่งที่เขาต้องการ เช่น ไปแสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อพี่น้อง หรือทำลายข้าวของ

- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่หนุนให้พี่น้องทำไม่ดีต่อกัน "อาจจะ" เป็นเรื่องปกติที่คนพี่อยากจะเขกหัวน้องบ้าง เวลาทะเลาะกัน แย่งของเล่นกัน แต่คนเป็นพ่อแม่ต้องใช้ความเป็นพ่อแม่รีบห้ามหากเห็นพี่จะทำเช่นนั้นในทันที เพราะหากพี่แค่คิดแล้วห้ามได้ทันก็คงดีกว่าการที่ปล่อยให้พี่ลงมือทำไปแล้วอย่างแน่นอน

ก่อนจะทำให้เรื่องราวลุกลามบานปลายไปสู่การไม่ชอบหน้ากันระหว่างพี่น้อง หรือกลายเป็นความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ลองหาทางหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้เด็ก ๆ มีความทรงจำที่ดีอาจเป็นการดีกว่าก็ได้นะคะ

ขอบคุณภาพจาก www.life123.com 
ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000170501
Article Other
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
Sponsors
view all
Banner
view all