ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
เด็กพูดช้า

เด็กพูดช้า ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลายคน กังวลว่า ลูกเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่ และมักห่วงว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กออทิสติค หลายคนพยายาม ที่จะ บังคับให้ลูกพูด จนบางครั้ง ทำให้เด็กกลัว ต่อต้าน และไม่ค่อยยอมพูด ก็เลยเกิดความเครียดขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วเด็กที่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการเป็นปกติ ก็จะมีพัฒนาการ ด้านการพูดเป็นปกติ ไปตามวัย อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะการพูดเป็นส่วนหนึ่ง ของการใช้ภาษา และการพูดสื่อความหมาย บ่งบอกถึงระดับสติปัญญาในเด็ก เด็กที่สามารถสื่อความหมาย กับผู้อื่นได้ บอกความต้องการหรือความรู้สึก ให้ผู้อื่นทราบได้ ก็จะเป็นเด็ก ที่มีอารมณ์แจ่มใส และมีพัฒนาการ ทางด้านสังคมก้าวหน้าได้ดี

การที่เด็กจะพัฒนามีการพูดและการใช้ภาษาที่ปกติ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
  1. การได้ยินหรือการรับรู้ที่ปกติ คือ มีหูชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นในที่ปกติ รวมถึงการมองเห็นและการรับรู้ทางประสาทสัมผัสอื่นๆด้วย เช่น จะสอนเด็กให้รู้จักคำว่า “แมว” ถ้าเด็กมองเห็นแมวว่ามีรูปร่างอย่างไร ได้ยินเสียงแมวร้อง ก็จะเรียนรู้คำว่าแมวได้ดีขึ้น
  2. มีสมองและระบบประสาทที่ปกติ เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูล แปลข้อมูล ทำความเข้าใจ คิด เตรียมเลือกคำพูด
  3. มีอวัยวะในการพูดหรือการออกเสียงที่ปกติ เช่น กล่องเสียง สายเสียง คอ เพดาน ปาก ลิ้น ฟัน ริมฝีปาก กล้ามเนื้อบริเวณคอและใบหน้า กล้ามเนื้อกระบังลม
  4. มีสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เอื้ออำนวยต่อการพูดของลูก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ขยันพูดคุยกับลูกบ่อยๆ มีการโต้ตอบต่อการเปล่งเสียงของลูกก็จะช่วยกระตุ้นให้ลูกเล่นเสียงมากขึ้น พูดได้ดีขึ้น

ถ้ามีองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อนี้ การพัฒนาทางการพูดและการใช้ภาษาก็จะเป็นไปได้ด้วยดี 

แต่มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่เข้าใจว่าการที่ให้ลูกดูทีวีหรือวีดิทัศน์ทั้งวันจะเป็นการช่วยให้ลูกได้สามารถจับคำศัพท์และสามารถฝึกพูดได้เร็วขึ้น จริงๆแล้วในช่วงอายุ 1-2 ปี ที่เด็กกำลังหัดพูดอยู่นั้น ควรที่จะให้เด็กดูทีวีน้อยที่สุด และให้เวลาส่วนใหญ่ของเด็ก มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้มากที่สุด เพราะว่าการเรียนรู้ภาษานั้นเป็นการเรียนรู้การสื่อสารแบบสองทาง ( Two- way communication) ซึ่งจะทำให้เด็กได้เข้าใจคอนเซปต์ และความหมายของคำต่างๆ ได้ดีกว่าการดูทีวีซึ่งเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว (One- way communication)

การพัฒนาทางการพูดในเด็ก
ในเด็กปกติจะเริ่มมีการพัฒนาด้านการพูดในอายุที่ใกล้เคียงกัน และมีการพัฒนาเป็นขั้นตอนเหมือนกันทุกชาติทุกภาษา จะต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น เช่น อาจพูดเร็วช้าต่างกัน ความชัดเจนถูกต้องต่างกัน หรือจำนวนคำที่พูดได้ต่างกัน

เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านการรับรู้ภาษา(Receptive) และการพูดหรือการแสดงออก(Expressive) ไปพร้อมๆกัน ในแต่ละช่วงอายุ

แรกเกิด เริ่มจากเด็กแรกเกิดใช้เสียงร้องในการสื่อความหมายบอกความต้องการของร่างกาย และสภาพอารมณ์ เช่น หิว เจ็บ ไม่สบาย และเด็กที่หูได้ยินเป็นปกติ จะมีการสะดุ้ง ผวาหรือหยุดฟังเสียงเวลามีเสียงดัง

อายุเดือนครึ่งถึง 4 เดือน เด็กจะจ้องหน้าสนใจเวลามีคนมาพูดคุยด้วย เริ่มเล่นเสียงในคอ อืออา อ้อแอ้ หันหาเสียง รู้เสียงที่คุ้นเคย หัวเราะเสียงดัง

อายุ 5-6 เดือน จะสนุกกับการเลียนเสียง จะเลียนเสียงตนเองและเลียนเสียงคนอื่น โต้ตอบกับเสียงที่ได้ยิน ทำเสียงซ้ำๆ

อายุ 9-12 เดือน รู้จักเล่นเกมส์ง่ายๆ เช่น โยกเยก จับปูดำ เริ่มหัดเรียกพ่อแม่ ใช้ท่าทางสื่อความหมาย ชี้บอกความต้องการ พยักหน้าแสดงความเข้าใจ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้(one step command) เช่น บอกให้หยิบลูกบอล , บ๋ายบาย

อายุ 1 ปี-1 ปี 6 เดือน ชี้ส่วนของร่างกายได้ เช่น ชี้ตา หู จมูก ทำตามคำสั่ง และคำขอร้องได้มากขึ้น ทำท่าทางพร้อมกับพูดไปด้วย พูดคำเดี่ยวๆที่มีความหมายได้มากขึ้น

อายุ 1 ปี 6 เดือน-2 ปี เข้าใจคำสั่งที่ซับซ้อนมากขึ้น รู้คำศัพท์มากขึ้น พูดคำที่มีความหมายต่างกันสองคำต่อกันได้ เช่น แม่อุ้ม กินนม ไปเที่ยว พูดได้ยาวขึ้น แต่ยังไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ สนใจเรื่องราวที่มีภาพประกอบ

อายุ 2-3 ปี พูดเป็นประโยคโต้ตอบได้ บอกชื่อ นามสกุล รู้จักเพศของตนเอง ฟังเข้าใจคำสั่งที่ซับซ้อนขึ้น คนที่ไม่คุ้นเคยกับเด็กจะฟังเข้าใจภาษาที่เด็กพูดเกินครึ่ง บอกสีได้ 1-3 สี รู้ขนาดเล็กใหญ่ ชอบเล่าเหตุการณ์ที่พบเห็น 

อายุ 4-6 ปี พูดโต้ตอบในกลุ่มเพื่อน เล่านิทานได้ พูดชัดเจน อาจมีบางพยัญชนะที่พูดไม่ชัด เช่น ร, ส 
บอกสีได้มากกว่า 4 สี นับ 1-30 ได้

อายุ 6-8 ปี รู้เวลา รู้ซ้าย-ขวา เริ่มอ่านเขียน 

ข้อมูลจาก : http://www.clinicdek.com
Article Other
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
Sponsors
view all
Banner
view all