ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
อาการไม่สบายเพราะฟันจะขึ้นของลูก

อาการไม่สบายเพราะฟันจะขึ้นของลูก ฟันน้ำนมซี่แรกของลูกจะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และจะค่อยๆ ทยอยขึ้นจนครบเมื่ออายุ 2 ขวบครึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎตายตัวสำหรับเรื่องนี้ ทารกบางคนอาจเกิดมาพร้อมฟัน 1 ซี่เลยก็ได้ และยังปกติอยู่เช่นกันหากมีฟันน้ำนมขึ้นหลังจาก 1 ขวบไปแล้ว

ฟันซี่แรกของหนู 
โดยทั่วไป ช่วงที่ฟันซี่แรกของลูกกำลังขึ้นนั้น คุณอาจสังเกตเห็นว่าบริเวณแก้มของลูกมีสีชมพูจัดหรือสีแดง และลูกจะมีน้ำลายมากกว่าปกติ จนบางครั้งไหลย้อยออกมานอกปาก เหงือกบริเวณที่ฟันกำลังขึ้นอาจมีอาการบวมแดงและคัน ทำให้ลูกมักจะร้องไห้งอแงมากกว่าปกติซึ่งจะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 อาทิตย์ (เมื่อฟันขึ้นเรียบร้อยดี อาการดังกล่าวจะหายไป) ในช่วงที่ฟันจะขึ้น ลูกคุณจะรำคาญ ร้องไห้ และเจ็บเหงือก คุณจะเห็นปุ่มขาวๆ อยู่ตรงกลางเหงือกด้านล่าง ลูกคุณจะรู้สึกอยากเคี้ยวหรือกัดของซึ่งมีลักษณะค่อนข้างแข็ง นี่แหละที่เรียกว่า "อาการคันเหงือก"

อาการอื่น 

- อาการข้างเคียงอื่นๆ สำหรับเด็กคืออาการแพ้ผื่นผ้าอ้อม ซึ่งคุณจะสังเกตเห็นได้ว่าปัสสาวะมีกลิ่นเปลี่ยนไป และอุจจาระมีลักษณะเหลวขึ้น ทำให้พ่อแม่บางคนคิดว่าการที่ลูกไม่สบายช่วงนี้เป็นเพราะฟันซี่แรกของลูกที่กำลังขึ้น แต่อย่าโทษปัญหาสุขภาพของลูกให้กับการที่ฟันจะขึ้นเสียทั้งหมด


- อาการท้องเสีย, ไม่สบาย, ผื่นคัน, หรือมีไข้ขึ้นสูง มักจะถูกคิดว่า เกี่ยวข้องกับการที่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ยังไม่มีเหตุผลทางการแพทย์มารับรองในเรื่องนี้ ฉะนั้นถ้าลูกคุณมีอาการเจ็บป่วยดังกล่าวอาจเป็นเพราะกำลังได้รับเชื้อหรือมีไวรัสในร่างกาย ดังนั้นคุณควรรีบพาลูกไปพบแพทย์จะดีกว่า

คุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายเพราะฟันกำลังขึ้นได้ดังนี้ค่ะ 

- ลูกคุณต้องการความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจใส่จากแม่มากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้เขาสามารถรับมือกับอาการบวมแดงที่เหงือก ฉะนั้นคุณต้องให้เวลากับลูก เอาใจใส่เป็นพิเศษ กอดลูกบ่อยๆ ลูกจะรู้สึกดีขึ้น 
- ถ้าลูกคุณต้องการเคี้ยวเพื่อช่วยให้ดีขึ้น ลองให้แครอทหรือแตงกวาแท่งเล็กๆแช่เย็นมาให้ลูกลองกัดเล่น จะช่วยลดอาการระคายเคืองได้ 
- หาของเล่นที่ทำสำหรับให้เด็กกัดเล่น ซึ่งมีลักษณะเป็นยางค่อนข้างแข็ง ยืดหยุ่นดี มาให้ลุกกัดเล่น 
- หรือใช้เจลที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บเหงือก ซึ่งไม่มีน้ำตาลผสมอยู่ เช่น Bonjela แต่อาจช่วยได้ชั่วคราวเพราะเจลไม่ค่อยอยู่ที่เหงือกได้นาน 
- ถ้าเหงือกของลูกไม่บวมหรือเจ็บจนเแตะไม่ได้ ให้คุณแม่ล้างมือให้สะอาดแล้วลองใช้นิ้วเข้าไปนวดเหงือกของลูกเบาๆ อาจช่วยให้ดีขึ้นได้ 
- ไม่จำเป็นต้องให้ลูกทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บจากฟันขึ้น แต่ถ้าเหงือกมีอาการบวมแดงมาก ควรปรึกษาทันตแพทย์ 
- คุณควรทำความสะอาดเหงือกของลูกหลังจากทานอาหารเพื่อช่วยลดอาการอักเสบในขณะที่ฟันขึ้น 
- หมั่นใช้สำลีชุบน้ำ หรือผ้าสะอาดเช็ดบริเวณรอบๆ ปากของลูกเนื่องจากช่วงนี้น้ำลายของลูกจะมากและอาจไหลย้อยออกมานอกปาก เพื่อกันไม่ให้ผิวลูกเป็นผื่นแดงจากการติดเชื้อจากน้ำลาย 

วิธีดูแลรักษาฟันของเจ้าตัวน้อย 

- ทันทีที่ฟันซี่แรกของลูกเริ่มโผล่ขึ้นมา คุณแม่ควรเริ่มดูแลฟันของลูกได้แล้วค่ะ โดยการแปรงฟันให้ลูกวันละ 2 ครั้งในตอนเช้า และก่อนเข้านอน เพื่อฝึกให้ลูกเคยชินกับการมีช่องปากที่สะอาด อันจะส่งผลให้ลูกร่วมมือในการแปรงฟันในภายหลัง แม้ว่าการจะให้ลูกอ้าปากให้คุณแปรงฟันเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าคุณเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ลูกคุณก็จะให้ความร่วมมือเร็วขึ้นเท่านั้น 
- เมื่อฟันเริ่มขึ้น ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสุกเช็ดลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้นและเหงือก 
- เมื่อลูกมีฟันขึ้นประมาณ 4 ซี่ ในราวอายุ 8-10 เดือน เริ่มใช้แปรงสีฟันของเด็กขนนิ่มๆ แปรงเบาๆในทิศทางตามแนวขวาง ทั้งด้านนอก ด้านใน และด้านบดเคี้ยวของฟันทุกซี่ 
- เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบที่ยังบ้วนน้ำไม่เป็น ยังไม่ควรใช้ยาสีฟัน เพราะมักชอบกลืนยาสีฟัน 
- เด็กอายุเกิน 3 ขวบ ให้บีบยาสีฟันขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว (ยาสีฟันที่ใช้ควรปราศจากน้ำตาล) นำแปรงจุ่มน้ำเล็กน้อยก่อนแปรงฟัน ลูกจะได้ไม่กลืนยาสีฟันทั้งก้อนเข้าปาก แปรงฟันโดยการขยับแปรงไป มาสั้นๆ ในแนวนอน โดยวางขนแปรงตั้งฉากกับขอบเหงือกซึ่งเป็นวิธีแปรงฟันน้ำนม ใช้เวลาแปรงประมาณ 3 นาที แปรงตอนเช้าและก่อนนอน 
- เมื่อลูกอายุมากขึ้นสามารถแปรงฟันได้เอง ควรหัดให้แปรงฟันเอง หลังจากแปรงเสร็จให้เขาบ้วนยาสีฟันที่เหลือทิ้ง แล้วล้างปากด้วยน้ำสะอาด 
- วิธีแปรงฟันแท้คือ การขยับแปรงไป มาสั้นๆ ในแนวนอน โดยวางขนแปรงทำมุม 45 องศา แล้วปัดจากขอบเหงือกเข้าหาด้านเคี้ยวฟัน 

  
ข้อมูลจาก : http://www.thaiparents.com/thaiparent_teeth.html
Article Other
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
Sponsors
view all
Banner
view all