ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
วัคซีนที่เด็กเล็กควรได้รับในช่วงฤดูหนาว

วัคซีนที่เด็กเล็กควรได้รับในช่วงฤดูหนาว นอกเหนือจากลมหนาวที่พัดมาเยือนในช่วงปลายปีแล้ว ในช่วงฤดูหนาวนี้ก็ยังมีเสียงไอค็อกแค็ก และเสียงจามตามมาอยู่ไม่ขาด เพราะเจ้าโรคระบบทางเดินหายใจยอดฮิตต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม ได้โอกาสกลับมาระบาดอีกหน ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง ก็ยังมิอาจต้านทานโรคเหล่านี้ได้ ทำให้ต้องตัวร้อน ปวดหัว ไอจามไปตาม ๆ กัน ยิ่งสำหรับเด็กเล็กก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหนักกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า เนื่องจากอากาศเย็นจะเอื้ออำนวยให้เชื้อโรคมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานยิ่ง ขึ้น ประกอบกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเด็กเล็กยังไม่แข็งแรงพอ นอกจากนี้การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่พ่อแม่และ ผู้ ปกครองต้องใส่ใจอีกด้วย โดยเฉพาะโรคปอดบวมซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญของเด็กเล็ก และเป็นมฤตยูร้ายที่คร่าชีวิตเด็กเล็กทั่วโลกทุก ๆ 15 วินาทีอีกด้วย ดังนั้นนอกเหนือจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ กับโรคต่าง ๆ ในช่วงหน้าหนาวแล้ว ควรมองหาตัวช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กเล็กเพิ่มเติม ซึ่งนั่นก็คือ “วัคซีน” นั่นเอง

ข้อมูลจาก แพทย์หญิงจีรารัตน์ บุญสร้างสุข กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ โรงพยาบาลพญาไท 3 เปิดเผยว่า โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่ระบาดในช่วงหน้าหนาว และหน้าฝน พบมากในเด็กเล็ก ซึ่งจะมีโอกาสแพร่ ระบาดได้มากเมื่อเด็กๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน หรือเนอร์สเซอรี่ เนื่องจากเด็ก ๆ ยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์พอ และยังไม่รู้จักวิธีการป้องกันตนเอง ดังนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ให้เด็กเล็กด้วยการฉีดวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เด็กไทยทุกคนได้รับวัคซีนพื้นฐานทั้ง สิ้น 10 เข็ม ซึ่งช่วยป้องกันโรคที่เกิดอุบัติการณ์บ่อยในประเทศไทย ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตสูง ประกอบด้วยวัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรค วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) วัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV) วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) และวัคซีนไข้สมองเจอี (JE)

นอกเหนือจากวัคซีนพื้นฐานข้างต้นแล้ว ในช่วงหน้าหนาวที่กำลังมาถึงนี้มีพ่อแม่และผู้ปกครองหลายครอบครัวได้สอบถาม และให้ความสนใจเกี่ยวกับวัคซีนเสริมอื่นๆ ที่สามารถป้องกันโรคที่ระบาดในช่วงฤดูหนาว ที่เด็ก ๆ ควรได้รับเพิ่มเติมอีก เช่น

- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี เป็นวัคซีนที่เด็กเล็กควรจะได้รับในช่วงหน้าหนาวและหน้าฝน เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นอีกโรคที่ระบาดหนักในฤดูกาลดังกล่าว เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 กลุ่ม คือ เอ บี และซี โดยเชื้อไวรัสกลุ่มเอ และบีเท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคในคนได้ นอกจากนี้ทุก ๆ 10-40 ปี อาจจะมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์และเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยมีการระบาดมา ก่อน ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นและรักษาได้ยากขึ้น ซึ่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดเมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน และฉีดกระตุ้น 1 เข็มทุก ๆ ปี แต่วัคซีนนี้ยังไม่สามารถ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้ นอกจากนี้ความน่ากลัวของโรคไข้หวัดใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ ซึ่งมักเกิดในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต และโรคเอดส์ เป็นต้น

- วัคซีนไอพีดี หรือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ที่สามารถป้องกันโรคปอดบวมและปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่าปีละ 2 ล้านคน และเป็นโรคแทรกซ้อนโรคระบบทางเดินหายใจที่สำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันกลุ่มโรคติดเชื้อรุนแรง ที่ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสพิการ และเสียชีวิตสูง ประกอบด้วย โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น รวมทั้งวัคซีนยังช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสมีอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะสูงมาก ทำให้รักษาได้ยาก และอาจจะไม่ทันการ โดยวัคซีนไอพีดีจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดตอนเด็กเล็กมีอายุ 2, 4, 6 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 12-15 เดือน ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กเล็กมีความเสี่ยงมากที่สุด หากเด็กเล็กได้รับวัคซีนไอพีดีครบ ตามที่กำหนดจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้สูงถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์

นอกเหนือจากการป้องกันการเกิดโรคปอดบวมในเด็กเล็กตามฤดูกาลแล้ว วัคซีนไอพีดียังเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้อง และแนะนำให้ทุกประเทศบรรจุไว้ในแผนวัคซีนแห่งชาติ เพื่อลดอัตราการตายของเด็กเล็กทั่วโลกจากอุบัติการณ์โรคปอดบวม และโรคไอพีดี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 รวมทั้งมีผลการศึกษาจากกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกายืนยันถึงความคุ้มค่าของ วัคซีนไอพีดีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งประเทศอเมริกาได้ฉีดวัคซีนไอพีดีให้กับเด็กเล็กทุกคนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ซึ่งตัวเลขอุบัติการณ์ของโรคไอพีดีและโรคปอดบวมรุนแรงในเด็กเล็กลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ส่วนในช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยจะมีโรคระบบทางเดินหายใจระบาดในเด็กเล็ก เนื่องจากแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ประกอบกับเป็นช่วงที่เด็กเล็กปิดเทอมทำให้การแพร่กระจายและการติดต่อของโรคต่าง ๆ ลดลง

สำหรับอาการสำคัญของโรคระบบทางเดินหายใจที่ระบาดในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน ประกอบด้วยมีไข้ ไอ และมีน้ำมูก ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่ถ้าหากลูกน้อยมีอาการซึม ไม่ทานอาหาร หายใจลำบากและหายใจแรง จนจมูกบาน, ซี่โครงบุ๋ม หรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจเร็ว ซึ่งในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ หายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที และในเด็กเล็กที่มากกว่า 1 ขวบ หายใจเร็วมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที ให้สงสัยว่าเป็นโรคปอดบวม ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคปอดบวมรุนแรงให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการคิดค้นวัคซีนเพื่อช่วยป้องกันเด็ก ๆ ให้พ้นจากโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่พ่อแม่และผู้ปกครองก็ไม่ควรละเลยการดูแลพื้นฐานที่เป็นเกราะป้องกันขั้น แรกให้ลูกน้อย ประกอบด้วย การเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่ การให้เด็ก ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ5 หมู่ การสร้างสุขอนามัยที่ดีเป็นประจำ เช่น การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี การปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค การออกกำลังกายให้แข็งแรง ทำร่างกายลูกน้อยให้อบอุ่นอยู่เสมอ ดื่มน้ำมาก ๆ นอกจากจะดูแลลูกน้อยตามวิธีข้างต้นแล้ว พ่อแม่และผู้ปกครองเองก็ควรจะป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ลูกน้อยเช่น กัน ด้วยการล้างมือก่อนที่จะสัมผัส กอด หอมลูกน้อย รวมทั้งหากไม่สบายต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสและใกล้ชิด รวมทั้งใส่หน้ากากอนามัยก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการแพร่เชื้อได้

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com
Article Other
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
Sponsors
view all
Banner
view all