ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
ป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สำหรับคุณแม่ๆ

ป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด


 

ข้อมูลจากกระทวงสาธารณสุขระบุว่า กว่า 85% ที่เกิดภาวะซึมเศร้าในสัปดาห์แรกหลังคลอด จะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนบางรายที่มีอาการรุนแรงจนกลายเป็นโรคซึมเศร้ามีประมาณ 5% จะเกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ กังวลและโศกเศร้าเกินเหตุ อาจถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ อาการจะแสดงหลังคลอด 2 – 4 สัปดาห์

อาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักพบได้ มีดังนี้

- รู้สึกเศร้า เสียใจ หมดหวัง

- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โกรธง่าย หรืออยู่ไม่สุข

- วิตกกังวลมากผิดปกติ

- มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนหลับมากผิดปกติ นอนไม่หลับ เป็นต้น

- ร้องไห้มากกว่าปกติ หรือร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล

- มีปัญหาเรื่องสมาธิ การจดจำรายละเอียด หรือการตัดสินใจ

- หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบหรืองานอดิเรก

- รับประทานอาหารน้อยลง หรือรับประทานมากขึ้นอย่างผิดปกติ

- มีปัญหาสุขภาพโดยไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน เช่น ปวดศีรษะบ่อย ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น

- เก็บตัว หรือหลีกเลี่ยงการพบเจอเพื่อนและคนในครอบครัว

- มีปัญหาในการสร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูก

- กังวลไปว่าตนเองไม่มีความสามารถในการดูแลลูกอยู่บ่อย ๆ


สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
- ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพแวดล้อม เป็นต้น
- มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ ระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดมาก่อนหน้านี้

- สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์

- มีปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมาก เช่น ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว เป็นต้น

- ทารกมีปัญหาสุขภาพที่ต้องมีการดูแลหรือรับการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ

- แม่มีปัญหาในการให้นมบุตร

- ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน

- ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม


การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

- ควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดอย่างตรงไปตรงมาและซื่อตรงกับตัวเอง

- ขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยควรดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกาย หรือเข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา เป็นต้น

- จิตบำบัด เป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว โดยแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรับมือกับปัญหาและให้กำลังใจผู้ป่วย

- ยาต้านเศร้า เป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า โดยผู้ป่วยและแพทย์จะต้องปรึกษากันถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการรักษาด้วยยาต้านเศร้าแต่ละชนิดด้วย


**** 
สำหรับการเลือกวิธีการรักษา แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและพิจารณาว่าการรักษาใดเหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด

 

การป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
- เตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการเป็นแม่

ดูแลตัวเองให้แข็งแรง สมบูรณ์

- วางแผนการตั้งครรภ์ร่วมกับคุณพ่อ

หากการวางแผนเป็นไปอย่างราบรื่นจะช่วยให้คุณแม่ไม่ต้องวิตกกังวลมากเกินไป

- ระหว่างตั้งครรภ์ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

เพื่อให้การตั้งครรภ์นั้นดำเนินไปอย่างเป็นปกติ คุณแม่จะได้หมดห่วงและไม่ต้องมาวิตกกังวลกับเรื่องในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังการคลอดมากนัก

- ขอให้คุณพ่อช่วยดูแลลูก

ก่อนการคลอดคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาหารือกันถึงการดำเนินชีวิตภายหลังจากที่ลูกน้อยได้คลอดออกมาแล้ว โดยคุยกันและตกลงกันไว้ก่อนว่าใครจะต้องทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร

- หาคนช่วยเหลือและหากำลังใจ

คุณแม่อาจให้บุคคลในครอบครัว คุณพ่อ เพื่อน ๆ หรือผู้ให้บริการดูแลเด็กอื่น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลลูกน้อย หรือให้ผู้อื่นเข้ามาช่วยดูแลลูกคนอื่น ๆ ทำงานบ้าน คอยเตรียมอาหาร ฯลฯ หรือหาที่พึ่งทางใจ เช่น การโทรหาเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวเพื่อขอกำลังใจ

- กินอาหารที่มีประโยชน์

ผักและผลไม้สด รวมทั้งน้ำผลไม้คั้นสดนั้นเป็นแหล่งของวิตามินที่ช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ออกกำลังกายเบาๆ

คุณแม่ควรปลีกเวลาออกไปเดินเล่นกับลูกหรือออกกำลังกายเบา ๆ นอกบ้านในสวนอันร่มรื่นบ้าง

- พักผ่อนให้เพียงพอ

ในช่วงกลางวันคุณแม่ควรพยายามงีบหลับบ้างและหาคนช่วยดูแลลูกในตอนกลางคืน เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนให้มากขึ้น


 

เรียบเรียงจาก https://medthai.com และ https://www.pobpad.com

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก