ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
วิกฤตเด็กโลกในปี ค.ศ.2012
วิกฤตเด็กโลกในปี ค.ศ.2012 หลายปีที่ผ่านมาขณะที่สังคมโลกต้องเผชิญหน้าและหาทางรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจภัยพิบัติธรรมชาติ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่หลังปี 2011 โลกจะต้องรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาด้านเด็กและเยาวชนที่พุ่งสูงขึ้นจนถึงขั้นวิกฤต

นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติกรรมการและเลขานุการ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ระบุแนวโน้มสถานการณ์เด็กทั่วโลกในปี 2012 ไว้น่าสนใจดังนี้

เด็กถูกทอดทิ้งสูงขึ้นทั่วโลก
จำนวน เด็กพลัดถิ่นจะมีจำนวนสูงขึ้นมากทั่วโลก จากการที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศในกลุ่มอาเซียนจะลดการปิดกั้นการเข้าออกในประเทศต่างๆ ด้วยแรงกระตุ้นกดดันของกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตน ทำให้เกิดการไหลบ่าของประชากรจากประเทศที่ขาดโอกาสทางเศรษฐกิจสังคมเข้าไป อยู่ในประเทศที่มีโอกาสดีกว่าอาชญากรรมที่เกิดจากคนต่างชาติในประเทศปลายทาง จะมีแนวโน้มสูงขึ้นขอทานต่างชาติจะเพิ่มขึ้น เด็กที่ย้ายถิ่นไปด้วยตนเองหรือตามผู้ปกครองไปจะเข้าถึงบริการต่างๆ จากรัฐน้อยลง เด็กที่พ่อแม่ไม่ได้พาไปด้วยจะเกิดสภาพเหมือนเป็นเด็กกำพร้าและเด็กที่ถูก ทอดทิ้งไปโดยปริยาย


ภัยพิบัติกระทบเด็กโดยตรง

การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศโลก จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเด็กไม่ว่าจะอยู่ในรูปของภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ พายุไต้ฝุ่นหรืออื่นๆ นอกจากนั้นยังมีปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาดและอาหารการกินหรือภาวะข้าวยากหมากแพง ทุพภิกขภัยถึงขั้นอดตาย เกิดปัญหาการค้าเด็กข้ามชาติเพื่อเป็นบุตรบุญธรรมอย่างผิดกฎหมาย โดยแทรกซึมเข้าไปพร้อมกับการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม


เหตุจลาจลสร้างเด็กกำพร้าสถานการณ์ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม จะก่อให้เกิดความรุนแรงยิ่งขึ้นในทุกภูมิภาค เพราะผู้ที่ได้เปรียบหรือคนส่วนน้อยคือราวร้อยละ 20 ของประชากรโลกเป็นผู้ใช้ทรัพยากรของโลกมากถึงร้อยละ 80 จะไม่ยอมปรับตัวใช้ทรัพยากรของโลกให้น้อยลง เช่นในบางประเทศที่พลเมืองใช้น้ำเฉลี่ยวันละ 100-150 ลิตรต่อคนต่อวัน ในขณะที่บางประเทศใช้น้ำเพียง 1 ลิตรต่อคนต่อวัน

สถานการณ์นี้ย่อมสร้างความขัดแย้งในสังคมระดับโลกและระดับประเทศ จนมีผลกระทบทางลบต่อเด็กที่รุนแรง เช่น การก่อจลาจล การทำสงครามกลางเมือง ทำให้เด็กกลายเป็นเด็กกำพร้าหรือพ่อแม่ผู้ปกครองถูกจับกุมคุมขัง หรือสูญเสียความสามารถในการเลี้ยงดูปกป้องเด็ก


พ่อแม่พึ่งเทคโนโลยี-ลูกโดดเดี่ยว

เด็กจะถูกเลี้ยงดูโดยมิชอบมากยิ่งขึ้น เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองมีแนวโน้มที่จะใส่ใจเฉพาะเรื่องของตนเอง เราจะพบว่ามีเด็กอายุเพียง 2-3 ขวบหายตัวไป บาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตจากการถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง หรืออยู่กับเด็กด้วยกันตามลำพัง

พ่อแม่อาจใช้ความรุนแรงต่อกันหรือมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่สนใจว่ามีเด็กอยู่ในความดูแลหรืออยู่ใกล้ๆขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ที่มีฟังก์ชันหลากหลายจะดึงความสนใจของพ่อแม่ผู้ปกครองไปอยู่ที่จุดอื่นๆ ไม่ใช่เด็กๆ อีกต่อไป ตัวเด็กเองก็กระโดดเข้าหาเทคโนโลยี เพราะพ่อแม่ไม่ได้ใส่ใจตน เช่นกัน

แนวโน้มคือความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัวจะลดลง และจะมีลักษณะอยู่ด้วยกันเพราะความผูกพันทางเศรษฐกิจหรือการอยู่รอดมากกว่า


ประชากรโลกเสื่อมและทรุด
จากสถานการณ์ข้างต้น แนวโน้มสังคมโลกจะมีอารยธรรมที่ถดถอยลงความรับผิดชอบทางสังคมและศีลธรรมจะลดลงในทุกๆ ด้าน ทำให้เด็กซึ่งจะเป็นพลโลกรุ่นถัดไปมีความเสื่อมทรุดยิ่งขึ้นไปอีกในทุกด้าน เด็กๆ จะมีปัญหาด้านพัฒนาการทางอารมณ์ในด้านสังคมและการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่น่ากังวลยิ่งนักต่อโฉมหน้าของประชากรโลกในศตวรรษหน้า


เด็กไทยถูกทารุณกรรมเพิ่มขึ้น
ปี พ.ศ.2553 เฉพาะที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กหน่วยงานเดียวให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ที่ถูกกระทำทารุณกรรมมากถึง 594 ราย เด็กถูกทุบตีทำร้ายร่างกายมากที่สุด รองลงมาคือถูกข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนั้นถูกทารุณทางจิตใจถูกทอดทิ้งและล่อลวงแสวงหาผลประโยชน์

และยังพบว่าเด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงซึ่งมีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 เป็นต้นมา มูลนิธิให้ความช่วยเหลือคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรมเฉลี่ยแล้วเดือนละ 100-120 คน ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและการเลี้ยงดูเด็กอย่างไม่เหมาะสมยังมีอยู่ในสังคม เพราะผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมเด็กขาดความตระหนักและใส่ใจถึงวิธีการเลี้ยงดูให้ปลอดภัยได้มาตรฐานและไม่ละเมิดต่อสิทธิของเด็ก

หากการเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทยยังตกอยู่ในสภาพนี้ คาดว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้นและรุนแรงมากขึ้นทุกที


เร่งพัฒนาครอบครัว ชุมชน โรงเรียน

ก่อนที่สถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาด้านเด็กและเยาวชนจะถึงขั้นวิกฤต สังคมไทยต้องร่วมกันแก้ไขและป้องกัน แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ต้องพัฒนาให้ครอบครัวชุมชนและโรงเรียนปกป้องเลี้ยงดูเด็กตามความต้องการรับการพัฒนาของเด็ก


จากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนทำให้พวกเขาเป็นผู้ใหญ่ที่จะไม่คิดหรือเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ไม่เผาผลาญทรัพยากรของโลกเพื่อชีวิตที่ฟุ่มเฟือยของตน อีกทั้งยังช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่นที่อยู่ในสภาพเลวร้ายกว่าตน

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/43333
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
รายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ " Easy e-Receipt "
รายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ " Easy e-Receipt "