ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
น่ารู้ ! เรื่อง การนอนของทารก
น่ารู้ ! เรื่อง การนอนของทารก การนอนของทารกหรือการนอนของลูกน้อยของคุณเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะใน การนอนของทารก นั้นร่างกายได้มีพักผ่อนและในขณะเดียวกัน การนอนของทารก ก็ยังช่วยสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (GROWTH HORMONE) ก็ถูกหลั่งออกมาได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ การนอนของทารก ก็ยังจะส่งผลให้ระบบสมองได้มีการซ่อมแซมตัวเองอีกด้วย ฉะนั้นแล้วการนอนของทารกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากควรให้ทารกหรือลูกน้อยได้นอนหลับกันอย่างเต็มที่เพื่อที่ตอนตื่นขึ้นมากสมองของลูกน้อยจะพร้อมรับกับการเรียนรู้ได้อย่างดีทีเดียว แต่ทว่าทารกแต่ล่ะคนมักจะมีนิสัยที่แตกต่างกันซึ่งก็หมายความว่าการนอนก็ย่อมแตกต่างกันซึ้งอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน แต่วันนี้เราก็มีทางออกและทางแก้ในเรื่องการนอนของทารกให้แก่คุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ

น่ารู้ ! เรื่อง การนอนของทารก

1. นอนกรน
ขณะที่ลูกนอนหลับคุณอาจพบว่า เสียงหายใจของลูกดัง (ฟี่ๆ) เหมือนเสียงกรนของผู้ใหญ่ อันที่จริงแล้วการนอนกรนไม่ใช่ปัญหาการนอนโดยตรงของเด็ก เพียงแต่ว่าเด็กเล็กๆ เวลานอนหงายมักมีเสียงหายใจดังฟี่ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ช่วงแรกเกิดหลอดลมที่อยู่ด้านหน้ากระดูกอ่อนที่เป็นโครงสร้างของหลอดลมยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็กบางคนทำให้หลอดลมหล่นลงมาขัดขวางอากาศที่ถูกหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจ เมื่อลูกหายใจเข้า-ออกจึงเกิดเสียงดัง

เด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาจจะมีต่อมอะดีนอยด์ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งอยู่ในผนังทางเดินหายใจด้านหลังจมูกมีขนาดโตกว่าปกติ นอกจากนี้ในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาจมีไขมันอยู่ในทางเดินหายใจด้านหลังจมูกมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า เมื่อลูกนอนหงายต่อมอะดีนอยด์และไขมันอาจจะตกลงมากีดขวางทางเดินหายใจ

สังเกตง่ายๆ ในเด็กกลุ่มนี้ หากนอนหงายเสียงกรนจะดังมากขึ้นมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่า เด็กนอนกรนจนตัวเขียว เพราะขาดออกซิเจนเนื่องจากกระดูกบริเวณหลอดลมไม่แข็งแรง ดังนั้น ตราบใดที่พัฒนาการทั่วไปเป็นปกติ ลูกไม่งอแงหรือเศร้าซึม ไม่มีอาการขาดออกซิเจน การนอนกรนถือว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ เพราะหลังจาก 4-5 เดือนไปแล้ว กระดูกอ่อนบริเวณหลอดลมจะแข็งแรงขึ้นเสียงกรนก็จะหายไปลูกน้อยจึงสามารถนอนได้ตามปกติ


2. นอนสะดุ้ง
เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคน แค่คุณแม่ทำให้เกิดเสียงดังหรือทำให้เกิดการสั่นสะเทือนกับบริเวณที่ลูกนอนอยู่เบาๆ ลูกน้อยจะมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการขยับแขนขาในทันที ดังนั้น เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เสียงพูดคุยหรือเปิดประตูก็อาจทำให้ลูกสะดุ้งตกใจได้ เมื่อลูกโตขึ้นปฏิกิริยาเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หายไป ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าห่มปิดทับหน้าอกเพื่อกันการสะดุ้งหรือผวาให้ลูกน้อย เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อนอาจทำให้เหงื่อออกเกิดการอับชื้นเป็นผดผื่นที่ผิวหนังตามมาได้ 


3. นอนน้อย ตื่นบ่อย
ช่วยแรกเกิดวงจรการนอนของเด็กจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ทำให้เด็กเล็กๆ ตื่นบ่อย แต่เมื่อลูกโตขึ้นวงจรการนอนยาวขึ้นทำให้ลูกหลับได้นานรวมทั้งกระเพาะของลูกก็ยังเล็กทำให้ย่อยเร็วตื่นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมง ในช่วง 3 เดือนแรก อีกทั้งเด็กแต่ละคนก็มีรูปแบบการนอนที่แตกต่างกัน บางคนนอนทั้งวันไม่ตื่นหรือหลับๆ ตื่นๆ ทั้งวันทั้งคืนก็เป็นไปได้ แต่เมื่อลูกโตขึ้นวงจรการนอนจะนานขึ้นทำให้เห็นได้ว่าลูกหลับลึกโดยไม่แสดงท่าทีว่ารู้สึกตัวตื่นด้วยการขยับหรือบิดตัวได้นานมากขึ้น

สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกเรียนรู้ปรับตัวและแยกแยะเรื่องเวลาอย่างชัดเจนตั้งแต่หลังคลอดด้วยการสร้างบรรยากาศการนอน เช่น เวลากลางวันควรให้ห้องนอนหรือห้องที่ลูกอยู่มีแสงสว่างเพียงพอไม่ปิดทึบหรือมืด ส่วนกลางคืนแสงไฟในห้องไม่ควรสว่างจ้าจนไปรบกวนการนอนของเด็ก


4. นอนนานไม่ยอมตื่น
หากสาเหตุที่คุณแม่กังวลเป็นเพราะลูกนอนนานไม่ตื่นขึ้นมากินนมแบบนี้ต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกว่า ลูกนอนสบาย เป็นปกติดี ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องกังวลหรือปลุกให้ลุกขึ้นมากินนมทุกๆ 3-4 ชั่วโมง อาจยืดหยุ่นช่วงเวลาการกินกันได้ตามความเหมาะสม การที่ลูกนอนนานไม่ใช่ประเด็นสำคัญให้ต้องกังวลแต่ให้สังเกตการณ์เจริญเติบโตเรื่องน้ำหนักตัวกับปริมาณการกินของลูกว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่เพื่อจะได้ดูแลแก้ไขทัน


5. ไม่ยอมนอน
ปัญหาการไม่ยอมนอนเรื่องใหญ่ที่พ่อแม่เผชิญนั้น ต้องย้อนมาดูว่า ลูกไม่ยอมนอนเพราะอะไรซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม คุณแม่ควรให้ลูกนอนกลางวันเท่าที่จำเป็นโดยเฉพาะช่วงแรกเกิด หากลูกนอนเกิน 3 ชั่วโมงควรปลุกให้ตื่น ถ้าลูกไม่หิวไม่เป็นไรอาจหากิจกรรมเรื่องเล่นให้ลูกเพื่อให้ลูกนอนกลางวันน้อยลงสามารถหลับในตอนกลางคืนได้มากขึ้น ส่วนเวลากลางคืนควรสร้างบรรยากาศก่อนนอนหรือเปิดไฟน้อยดวงเท่าที่จำเป็นหากต้องลุกขึ้นมาดูแลลูกในตอนกลางคืน


6. ร้องกวนตอนนอน
ควรดูแลแก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ เช่น ลูกเจ็บป่วย ชื้นแฉะ ไม่สบายตัว ทำให้ลูกต้องงอแงร้องไห้ตื่นขึ้น แต่หากการร้องของลูกเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ในตอนกลางคืนก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปโอบอุ้ม เปิดไฟให้สว่างหรือให้นมมื้อดึกเพราะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับเด็ก (ร้องไห้ให้อุ้ม ร้องให้โอ๋ทุกครั้ง) แต่ควรให้ลูกได้หลับด้วยตัวเองหรือปลอบโยนด้วยการแตะเบาๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณอยู่ใกล้ๆ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mother&Care ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
ข้อมูลจาก : http://www.n3k.in.th/แม่และเด็ก/เด็ก/การนอนของทารก
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก