ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
รู้และเข้าใจภาวะตาขี้เกียจในเด็ก
รู้และเข้าใจภาวะตาขี้เกียจในเด็ก ตาขี้เกียจเป็นหนึ่งในภาวะที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่รู้จักมากนัก แต่คือภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นอาการทางสายตาที่พบได้มากในเด็กวัยเบบี๋ เรามาทำความรู้จักเพื่อให้เข้าใจและรับมือกับภาวะกันดีกว่าครับ

รู้จักภาวะตาขี้เกียจ 
ชื่ออาจฟังดูแปลกๆ นะครับ แท้จริงแล้ว ตาขี้เกียจคือภาวะที่สายตามีประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กเล็ก โดยอาจจะเป็นเฉพาะตาข้างเดียวหรือตาทั้งสองข้างก็ได้ แต่จากการตรวจสภาพดวงตาทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น ภาวะนี้น่าจะเกิดจากการปรับตัวของสมองส่วนการมองเห็น ทำให้การมองเห็นลดลง

ทำไมพบบ่อยในเด็ก
เหตุที่พบภาวะตาขี้เกียจได้บ่อยในเด็ก เนื่องจากว่าการพัฒนาของระบบการมองเห็นของเด็กที่เกิดมาใหม่ยังไม่สมบูรณ์ พัฒนาการการมองเห็นจะสมบูรณ์ได้ เมื่อมีภาพที่คมชัดตกบนจอรับภาพทั้งสองของเด็กเท่าๆ กัน จะทำให้ระบบการมองเห็นและสมองส่วนการมองเห็นของเด็กพัฒนาไปเท่าๆ กันทั้งสองตาเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้ามีความผิดปกติของการมองเห็นใดๆ มาขัดขวางพัฒนาการการมองเห็นของเด็ก จะทำให้เกิดภาวะภาวะตาขี้เกียจขึ้นได้

ข้อมูลจากวารสาร Mahidol Population Gazette Vol.18 January 2009 ณ กลางปี 2552 พบว่า มีจำนวนประชากรเด็กไทยที่อายุน้อยกว่า 15 ปี ประมาณ 13,412,000 คน ในจำนวนนี้มีโอกาสเกิดภาวะตาขี้เกียจ 2% หรือประมาณ 268,240 คน ซึ่งพัฒนาการของระบบการมองเห็นจะเกิดมากในช่วงแรกเกิดจนอายุ 8 ปี เพราะฉะนั้น หากมีความผิดปกติมาปิดบังการมองเห็น แม้ช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่สัปดาห์หรือ 2-3 เดือน อาจทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจได้


ต้นตอและวิธีสังเกต
  1. สายตาสองข้างต่างกัน เช่น ตาข้างหนึ่งมีสายตายาว สั้น หรือเอียงมาก ขณะที่ตาอีกข้างมีสายตาปกติ ภาพที่ตกตรงบริเวณจอรับภาพของตาข้างที่มีสายตายาว สั้น หรือเอียงมากจะไม่ชัดเจน ทำให้สมองส่วนการมองเห็นของตาข้างนี้พัฒนาน้อยกว่าตาข้างที่สายตาปกติ ทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจได้
  2. ภาวะตาเหล่ เด็กที่มีอาการตาเหล่จะเห็นภาพซ้อน ซึ่งกดการทำงานของการมองเห็นในตาข้างที่เหล่ เพื่อกำจัดภาพซ้อน ภาวะที่เกิดการกดการมองเห็นไปนานๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไขนี้ ทำให้เป็นตาขี้เกียจได้
  3. มีการขัดขวางการมองเห็น เช่น หนังตาตก เป็นต้อกระจก เป็นต้น

วิธีสังเกตเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่คือ ถ้าลูกมีอาการตาเหล่ หนังตาตก ลูกตาสั่น เอียงหน้ามอง ชอบหรี่ตามอง เวลามองต้องเพ่งมากๆ หรือเวลาเดินมักจะชนโต๊ะ เก้าอี้บ่อยๆ ควรรีบพามาพบจักษุแพทย์ เพราะโดยทั่วไปภาวะตาขี้เกียจมักมีสายตาแย่กว่า 6 / 12 หรือตาสองข้างที่มีระดับสายตาต่างกัน 2 แถวของ Snellen Chart การตรวจที่ได้ผลแน่นอนควรได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ครับ

ส่วนคุณพ่อคุณแม่มักสงสัยว่า เด็กเล็กแค่ไหนถึงตรวจตาได้ โดยทั่วไปจักษุแพทย์มักตรวจตาเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด ขณะที่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการตรวจการมองเห็นของเด็กโดยการวัดสายตา โดยคุณครูในโรงเรียนจะเป็นคนวัดสายตาเด็กวัย 4-6 ปี ถ้าเด็กคนไหนมีสายตาน้อยกว่า 6 / 12 หรือสายตาสองข้างต่างกัน มากกว่า 2 แถว จะส่งพบจักษุแพทย์ต่อไป

การรักษาเพื่อป้องกันปัญหาอื่น
วิธีการรักษาตาขี้เกียจมีด้วยกัน 4 วิธี คือ 
  1. รักษาโรคทางตาที่พบร่วมด้วย เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หนังตาตก เป็นต้น 
  2. ใส่แว่นแก้ภาวะสายตาผิดปกติ
  3. ปิดตาข้างที่มองเห็นได้ดี เพื่อกระตุ้นตาข้างที่มีภาวะตาขี้เกียจ ให้มองเห็นดีขึ้น
  4. หยอดยาหยอดตา Atropine ในตาข้างที่มองเห็นดี เพื่อทำให้การมองเห็นลดลง เพื่อที่จะกระตุ้นตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจให้มองเห็นดีขึ้น
ถ้าลูกมีภาวะตาเหล่ร่วมกับภาวะตาขี้เกียจ เรามักรักษาภาวะตาขี้เกียจให้ดีขึ้นก่อน แล้วจึงผ่าตัดแก้ไขภาวะตาเหล่ภายหลัง การรักษาภาวะตาขี้เกียจนี้จะได้ผลดีในช่วงเด็กๆ หรืออายุ 4-6 ปี ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วการรักษามักไม่ได้ผล

ภาวะตาขี้เกียจเป็นภาวะผิดปกติของการมองเห็นที่พบได้บ่อย การตรวจพบที่ดีควรเป็นการตรวจคัดกรองสายตาโดยคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งถ้ามีความผิดปกติแล้วรีบส่งต่อจักษุแพทย์โดยเร็วรส จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ 

ล้อมกรอบโรคที่มักเกิดร่วมกับตาขี้เกียจ
  • โรคตาเหล่
  • โรคต้อกระจก ตั้งแต่เกิด
  • โรคต้อหิน ตั้งแต่เกิด
  • โรคหนังตาตก

โดย นิตยสาร modern mom 
ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/42727
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก