ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
แนะบันได 3 ขั้นรับมือเมื่อ "ลูกติดเล่น"

แนะบันได 3 ขั้นรับมือเมื่อ "ลูกติดเล่น" นิสัย "ติดเล่น" เป็นธรรมชาติของเด็กในช่วงวัยซนที่พ่อแม่รู้ ๆ กันดี แต่ปัญหาจะเกิดทันทีเมื่อลูกไม่ยอมเลิกเมื่อถึงเวลาเลิก เด็กบางคนกระฟัดกระเฟียด ร้องไห้ แสดงความไม่พอใจจนบางครั้งพ่อแม่หลาย ๆ ท่านไม่ไหวที่จะเคลียร์ วันนี้เราจึงมีเทคนิครับมือลูกติดเล่นอย่างสร้างสรรค์มาฝากกันครับ

เกี่ยวกับพฤติกรรมลูกติดเล่นนี้ พญ.สุธิรา ริ้วเหลือง จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า อธิบายผ่านทีมงาน Life & Family ถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นว่า เกิดจากลักษณะนิสัยตามธรรมชาติของเด็กที่กว่าจะปรับตัวให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เด็กจะรู้สึกว่า ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก จึงเป็นไปได้ถ้าเด็กติดใจอะไรแล้วมักจะเลิกเล่นยาก

ส่วนปัจจัยต่อมา เป็นไปตามช่วงวัยของเด็ก โดยเด็กประมาณ 1-3 ขวบ ถ้าถูกใจ หรือติดใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว การจะแยกเด็กออกจากสิ่งนั้น ๆ นับว่าเป็นเรื่องยากเช่นกัน ทำให้พ่อแม่หลาย ๆ ท่านอารมณ์เสียกับพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ของลูกไม่น้อย เช่น กระฟัดกระเฟียด ร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นต้น

ดังนั้น การรับมือกับพฤติกรรมของลูกอย่างสร้างสรรค์ จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นรายนี้ ได้แนะบันได 3 ขั้นไว้เป็นแนวทางดังต่อไปนี้

1. หากถึงเวลาเลิกเล่น แต่ลูกยังไม่ยอมเลิก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบอกให้ลูกเลิกเล่นในทันที แต่ควรพูดเกริ่นให้ลูกรู้ตัวก่อนว่า ณ เวลานี้ถึงเวลาที่เขาควรจะเลิกเล่นได้แล้ว เช่น หากลูกติดเล่นอยู่กับเพื่อน ลองพูดตะล่อม ๆ กับเขาก่อนว่า "ใกล้เวลากลับบ้านแล้วนะลูก ดูฟ้าสิ เริ่มมืดแล้ว ลูกหิวข้าวหรือยังคะ" หรืออาจจะบอกเวลาให้ลูกได้เตรียมตัว เช่น "แม่ให้เวลาเล่นอีก 5 นาทีนะจ๊ะ" เป็นต้น

2. หากลูกยังนิ่งเฉย ไม่มีทีท่าว่าจะเลิกเล่น คุณพ่อคุณแม่ลองหาสิ่งอื่น ๆ มาแทนที่ความสนใจในสิ่งที่ลูกกำลังเล่นอยู่ เช่น หากลูกกำลังเล่นกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แต่พอถึงเวลาต้องเลิก ลูกยังไม่เลิก ลองดึงสิ่งที่ลูกชอบมาเบี่ยงเบนความสนใจดู เช่น วันนี้มีการ์ตูนเรื่องโปรดของลูกกำลังรออยู่ที่บ้าน หรืออื่น ๆ ที่พอจะเบี่ยงเบนความสนใจของลูกได้

3. หากเกริ่นนำก็แล้ว หาสิ่งมาดึงดูดก็แล้ว ลูกยังไม่ยอมเลิก ในขณะที่เด็กบางคนเริ่มกระฟัดกระเฟียด แสดงความไม่พอใจ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตามใจ แต่ควรอดทน และฝืนความสงสารเอาไว้เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เขากำลังต่อต้านอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดึงความสนใจของลูกให้เลิกเล่นเป็นระยะ ๆ ด้วย ไม่ควรปล่อยให้ร้องจนเสียงแหบ เสียงแห้ง

อย่างไรก็ดี การแก้ปัญหาพฤติกรรมข้างต้นได้ดีที่สุดนั้น จิตแพทย์เด็กรายนี้ ทิ้งท้ายว่า พ่อแม่ควรให้เวลากับลูก อย่างน้อยถ้าลูกรู้สึกว่าพ่อ หรือแม่มีเวลาให้กับเขาอย่างเต็มที่ ลูกจะไม่ไปติดเพื่อน ติดเกม หรือติดโทรทัศน์ หรือถ้าติด เวลาบอกให้เลิกจะไม่เหนื่อยใจอีกต่อไป

  
 ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000016989
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก