ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
เล่นสกปรกเลอะเทอะ กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้หนูน้อยได้จริงหรือ?

เล่นสกปรกเลอะเทอะ กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้หนูน้อยได้จริงหรือ? "สะอาดมากเกินไป อาจเป็นผลร้ายต่อลูกน้อยของคุณ" - การที่พ่อแม่ผู้ปกครองปกป้องลูกน้อยให้ห่างไกลจากเชื้อโรคทุกชนิด อาจเป็นสาเหตุให้พวกเขาอ่อนแอและมีโรคประจำตัวเมื่อเติบโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หรือโรคผิวหนัง

สมองของเด็กเล็กจะเรียนรู้และพัฒนาได้ ก็ต่อเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่นเดียวกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งแบคทีเรียที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมจะช่วยฝึกให้ระบบภูมิคุ้มกันเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า และปกป้องหนูน้อยจากโรคภัยไข้เจ็บได้

แม้ว่าจุลชีพหลายชนิดจะเป็นสาเหตุทำให้เด็กๆ เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ก็มีหลักฐานระบุว่าแบคทีเรียและไวรัสในกระเพาะอาหารบางชนิด ทั้งที่เป็นตัวก่อโรคและไม่ก่อโรค อาจช่วยปกป้องเด็กเล็กจากอาการโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และอาการอักเสบได้ แต่ไม่มีผลต่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้น หนูน้อยควรได้สัมผัสกับสิ่งสกปรกบ้าง ได้เล่นเลอะเทอะกับดินโคลน ได้ขบกัดของเล่นที่ตกพื้นแล้ว หรือไปเที่ยวสวนสัตว์บ้าง แต่ควรอยู่ให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่เข้าไว้

ทั้งนี้ แนวคิดที่ว่าเชื้อแบคทีเรียช่วยปกป้องเด็กน้อยจากโรคภูมิแพ้ มีมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนแล้ว โดยนักวิจัยชื่อ เดวิด สตราแคน (David Strachan) พบว่าเด็กที่มีพี่น้องหลายคน โดยเฉพาะมีพี่ชายหลายคน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคไข้จามหรือไข้ละอองฟาง (hay fever) แต่สตราแคนก็ไม่ได้พิสูจน์ถึงความเกี่ยวพันที่เป็นมูลเหตุของเรื่องดังกล่าว และที่อยู่อาศัยของพวกเขาด้วย (เช่นเดียวกับงานวิจัยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น) ซึ่งตัวเด็กอาจจะเรียนรู้จากระบบภูมิคุ้มกันของพี่น้องคนอื่นๆ

เชื้อโรคทุกชนิดที่ติดตามมือไม้ที่สกปรกหรือน้ำมูกที่ไหลย้อย อาจมีส่วนช่วยให้เด็กๆ มีอายุยืนยาว ซึ่งมีนักวิจัยหลายคนได้ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างเด็กที่เติบโตขึ้นในฟาร์ม มีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ต่ำ เช่นเดียวกับเด็กที่เติบโตมาในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน

ธอม แมคแดด (Thom McDade) นักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสต์เทิร์น (Northwestern University) ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงปี 1980 ที่มีการติดตามเด็กเล็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งมีทั้งข้อมูลครอบครัวที่เด็กเหล่านั้นเกิด และประวัติการเจ็บไข้ได้ป่วยของมารดาในช่วงที่เด็กมีอายุไม่ถึง 2 ปี พบว่า เด็กที่ได้สัมผัสกับอุจจาระของสัตว์มากกว่า และเด็กที่เคยป่วยเป็นโรคท้องร่วงบ่อยครั้งกว่าในช่วงอายุไม่ถึง 2 ปี มีแนวโน้มที่จะมีระดับของโปรตีน ซี-รีแอคทีฟ (C-reactive protein) ต่ำ ในช่วงอายุ 20 ต้นๆ ซึ่งโปรตีนดังกล่าวเป็นตัวสำคัญของการเกิดอาการอักเสบ นั่นหมายความว่าเด็กเหล่านี้จะมีโอกาสเกิดอาการอักเสบเรื้อรังที่เกี่ยวพันธ์กับโรคไขข้ออักเสบหรือโรคหัวใจน้อยกว่าเด็กคนอื่นๆ และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ยังแสดงผลว่ามีส่วนช่วยให้เด็กมีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืดน้อยลงด้วย เช่น เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในกระเพาะอาหารของคนประมาณครึ่งโลกที่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ แม้ว่าเชื้อดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลเน่าเปื่อยพุพอง

อีกผลงานวิจัยหนึ่งรายงานว่า เด็กก่อนวัยเรียนที่มีเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ มีแนวโน้มต่ำที่จะได้รับความทรมานจากอาการคันผิวหนังหรือโรคเรื้อน และเชื้อดังกล่าวยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหอบหืดต่ำในเด็กอีกด้วย

ขณะที่เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) ที่แพร่กระจายและถ่ายทอดถึงกันได้ด้วยการปนเปื้อนอยู่ในน้ำและอาหาร ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการฝึกฝนระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ด้วยเช่นกัน โดยเด็กที่มีความหลากหลายของยีนในระดับปกติและเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ปรากฏว่าส่วนใหญ่มีอาการภูมิแพ้ต่ำ ตามรายงานการวิจัยของเกรแฮม รูค (Graham Rook) จากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (University College London) ซึ่งเชื้อดังกล่าวน่าจะไปมีส่วนกระตุ้นความสมดุลของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆ

ส่วนงานการวิจัยของแอนน์ ไรท์ (Anne Wright) นักวิจัยของศูนย์โรคทางเดินหายใจแอริโซนา (Arizona Respiratory Center) ระบุว่า เด็กที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือหลอดลมอักเสบรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล อาจมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นโรคหอบหืดได้ในภายหลังสูงกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ก็อาจมีส่วนกระตุ้นการเกิดโรคหอบหืดด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคในระบบทางเดินหายใจ และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคหัด คางทูม หัดเยรมัน หรืออีสุกอีไส ไม่น่าจะมีบทบาทในการช่วยกระตุ้นการควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune regulation) ได้เหมือนกับเชื้อโรค เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ และเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร หรือเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน โคลน และผักเน่า

ฉะนั้น เพื่อให้ลูกน้อยของคุณเติบโตแข็งแรงพร้อมกับพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ควรปล่อยให้หนูน้อยได้เล่นหรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกและเชื้อโรคบ้างอย่างเหมาะสม

ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000063568
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
Promotion Credit Card in BBB59
Promotion Credit Card in BBB59
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
VISITOR INFORMATION BBB60
VISITOR INFORMATION BBB60
รู้ไว้ก่อนไม่เสียหาย จุดบริการ Service ต่างๆ ภายในงาน พร้อมสิทธิพิเศษต่างๆ มากมาย