ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
ชะตากรรมของวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร...เมื่อคอมพิวเตอร์ครองเมือง

ชะตากรรมของวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร...เมื่อคอมพิวเตอร์ครองเมือง คอมพิวเตอร์ครองเมืองจริง ๆ ค่ะตอนนี้ มองไปทางไหน ที่ทำงาน ที่โรงเรียนของลูก ที่หน้าปากซอย ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์โนตบุ๊คที่อยู่บนตักบางคนบนเตียง! และสำหรับบ้านที่มีลูกวัยรุ่น ชะตากรรมเด็กวัยรุ่นในยุคคอมพิวเตอร์ จะเป็นยังไง

คุณหมอ ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต บอกว่า การที่คอมพิวเตอร์ดึงดูดใจวัยรุ่นได้เพราะสามารถตอบสนองความต้องการทางสัญชาติญาณของมนุษย์ได้ 

เช่น ความก้าวร้าว ความตื่นเต้น หรือแม้แต่เรื่องเพศ โดยไม่มีใครอื่นในสังคมมาเกี่ยวข้อง ทำให้รู้สึกมีอิสระ จึงเล่นนานจนติด ถ้าภาวะเช่นนี้เกิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะสูญเสียความเป็นตัวเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

การติดแบบนี้ ทางจิตวิทยาเขาว่าเป็น กระบวนการเรียนรู้โดยวางเงื่อนไข คุณหมอยกตัวอย่างสุนัขค่ะ ในครั้งแรกที่สุนัขได้กลิ่นเนื้อ จะน้ำลายไหล ต่อมาเราสั่นกระดิ่งพร้อมกับวางเนื้อ สุนัขก็น้ำลายไหล หลังจากนั้น แค่สั่นกระดิ่งโดยไม่มีเนื้อ สุนัขก็น้ำลายไหลเสียแล้ว 

คนก็เช่นกัน เล่นคอมพิวเตอร์แล้วสนุก หลังจากนั้น แทนที่จะเชื่อมโยงกับความสนุกโดยตรง แต่กลับไปเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น เช่น เบื่อก็เล่น มีเวลาก็เล่น แม่บ่นก็เล่น คอมพิวเตอร์เลยกลายเป็น ตัวกระตุ้น ให้อยากเล่น ทั้งที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเล่น เช่นเดียวกับสุนัขที่ได้ยินเสียงกระดิ่งก็น้ำลายไหล...ทั้งที่ไม่มีชิ้นเนื้อ แล้วถ้าเด็กใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ล่ะ ?

น่าห่วงค่ะ...เพราะการเรียนรู้ครั้งแรก ๆ จะมีผลต่อมนุษย์มาก เด็กอาจเรียนรู้สิ่งที่ผิด ๆ จากคอมพิวเตอร์ได้ อย่างเรื่องท็อปฮิตอย่างเรื่องเอ๊กซ์ ๆ นั่นไงคะ

เด็กจะเริ่มเรียนรู้เรื่องเพศในบริบทของความรัก ตอนอายุ 10 ขวบขึ้นไป ถ้าเรียนรู้เรื่องนี้จากหนังสือโป๊ ก็จะมีทัศนคติต่อความรัก เรื่องเพศ แบบที่เขาเรียนรู้มา ติดตัวไปจนกระทั่งมีครอบครัว การเรียนรู้แบบผิด ๆ ส่งผลวุ่นวายหลายประการที่เรารู้เห็นกันทุกวันนี้ 

ซึ่งสาเหตุหลักที่เด็กติดคอมพิวเตอร์มาจากครอบครัวด้วยค่ะ หลายครอบครัวไม่ตระหนักปัญหาที่เกิดขึ้น พ่อแม่ไม่สนใจลูกมากนัก อาจไปทำงานต่างจังหวัด หรือเหนื่อยจากงาน กลับบ้านก็อยากพักผ่อน เลยฝากลูกไว้กับสื่อทีวี วิดีโอเกม คอมพิวเตอร์ เพื่อที่ลูกจะได้ไม่กวนใจมากนัก...แล้วคอมพิวเตอร์ก็เอาลูกเราไปในที่สุด 

ส่วนดร.กิตติ กันภัย อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่าทุกครั้งที่เกิดสื่อใหม่ในแต่ละช่วงสังคม ทำให้เกิด การกระเพื่อมทางความคิดและพฤติกรรมและคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับเหรียญสองด้านที่มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง

ด้านบวกคือเป็นตัวส่งผ่านข่าวสารที่มีประโยชน์ ทำให้เกิดสภาพสังคมประชาธิปไตย ที่คุยกันได้ทุกเรื่อง แต่อีกด้าน เว็บไซต์หรือเกม มีลักษณะที่ดึงดูดให้ผู้ใช้ติด ทำให้คนคิดไปว่าคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนเพื่อนที่ฟังคำสั่ง ปลอบใจให้คำปรึกษา ทำหน้าที่ครอบครัวแทนคนจริง

ผลคือ ผู้ใช้ (ที่ใช้มาก ๆ) จะลดความเป็นคนลงเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมได้ เด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์มากจะพูดน้อย ชอบสั่งการ ใช้คำสั้น ๆ เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ 

เมื่อเด็กอยู่ในโลกของคอมพิวเตอร์นานๆ จะซึมซับการสื่อสารนั้นมา พอมาอยู่ในโลกแห่งความจริงก็จะปรับตัวไม่ได้
ผศ.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มสธ.มองในประเด็น รู้เท่าทันสื่อ ที่มีเงาของการตลาดแฝงกายมา
"สังคมปล่อยให้เรื่องปล่อยให้เรื่องของการตลาดเข้ามากำหนดวิถีชีวิตคน" 

คอมพิวเตอร์ถูกผูกโยงเข้ากับเรื่องการตลาด กระแสจึงแรงไปทั่วโลก อินเตอร์เน็ตคาเฟ่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ใช่เฉพาะในกทม. ต่างจังหวัดก็มี และอินเตอร์เน็ตก็กำลังจะไปถึงท้องถิ่นในรูปของการเก็บข้อมูลประชากร 
การใช้คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ มาจากความต้องการของเราจริง ๆ หรือเป็นเพราะกระแสที่เราจำเป็นต้องมีกันแน่ ?

อาจารย์เอื้อจิตทิ้งท้ายไว้น่าคิดค่ะ เราจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ไหม หรือเพียงต้านกระแสไม่ไหวเลยต้องซื้อมา ถ้าหาคำตอบตรงนี้ไม่ได้ชัด ลูกกับเราก็คงต้องเผชิญชะตากรรมกันอย่างไร้ทิศต่อไปล่ะค่ะ

ข้อมูลจาก : http://www.108health.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
รายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ " Easy e-Receipt "
รายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ " Easy e-Receipt "