ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
เทคนิคปราบเจ้าหนู "กินยาก" ด้วย "ข้าวกล่อง"

เทคนิคปราบเจ้าหนู "กินยาก" ด้วย "ข้าวกล่อง" เป็นที่น่าหนักอกหนักใจแทน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ลูกน้อยวัย 2 – 6 ขวบ ที่ต้องประสบปัญหาการกินของลูก ๆ และเชื่อว่าทุกครอบครัวก็ยากต่อการหลีกหนีกับปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนี้ เช่น ลูกไม่ชอบกินข้าว ไม่ชอบกินผัก เบื่ออาหาร อมข้าว หรือชอบกินแต่ขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลม พ่อแม่บางคนต้องเหนื่อยกับการต้องมาคอยหลอกล่อให้ลูกกินข้าว ซึ่งกว่าลูกจะกินได้แต่ละคำมันช่างยากเย็นแสนเข็ญ เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากเพื่อคลายความเหนื่อยใจของคุณพ่อคุณแม่ให้ลดลง

“อาจารย์สุวรรณี อาจหาญณรงค์” อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แนะสูตรเจริญอาหารให้กับบรรดาคุณพ่อคุณแม่ว่า ความจริงสิ่งสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเพียงอย่าง เดียว แต่ต้องสามารถล่อตาล่อใจหรือดึงดูดเด็ก ๆ ได้ด้วย

“ธรรมชาติ ของเด็กจะชอบอะไรที่มันน่ารัก สีสันสวยงาม และคงจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพ่อแม่ ในการเนรมิตรอาหารจานเดิม ๆ ให้เป็นอาหารจานพิเศษที่น่าตาน่ากิน เพราะว่ามีคู่มือในการทำอาหารและการจัดตกแต่งให้อาหารมีสีสันสวยงามจำนวนมาก ทั้งในรายการโทรทัศน์ หรือนิตยสารการทำอาหาร ”

อย่างไรก็ดี อาจารย์สุวรรณี แนะว่า “ข้าวกล่อง – ปิ่นโต” จะ เป็นตัวช่วยให้ลูกเจริญอาหารมากขึ้น ซึ่งการทำข้าวกล่องก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการนำอาหารที่ลูกจะต้องกินในแต่ละวันซึ่งเน้นให้ครบทั้ง 5 หมู่ มาจัดวางในกล่องหรือปิ่นโตให้ดูสวยงาม เพื่อเป็นการกระตุ้นความอยากของเด็ก

เมนูน่ากิน

เมนูแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ทำอาหารไม่เป็นจริง ๆ แต่อยากให้ลูกได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือ ข้าวกล่อง ป.ปลาตากลมหรือข้าวหน้าปลาแซลมอน ซึ่งเมนูปลาเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและดีต่อระบบขับถ่ายเหมาะสำหรับเด็ก ๆ รวมทั้งยังได้ประโยชน์จากโอเมก้า 3 อีกด้วย

ส่วนประกอบ : ปลาแซลมอนย่าง, ข้าวสวย, ขนมปังแคร็กเกอร์รูปปลา, แครอท, ถั่วลันเตาลวกสุกและผักกาดหอม

วิธีการทำ
– อัดข้าวลงในแม่พิมพ์รูปปลา ตกแต่งหน้าตาด้วยถั่วลันเตาและผักกาดหอม
– จัดปลาแซลมอนย่าง (อาจทดแทนด้วยปลาชนิดอื่นก็ได้หากลูกไม่ชอบทานปลาแซลมอน) แครอทและถั่วลันเตาลวกสุกใส่ในกล่องให้มีสีสันที่สวยงาม
– จากนั้นตกแต่งด้วยขนมปังแคร็กเกอร์รูปปลา


เทคนิคเสริมให้ลูกกินเก่ง

นอกจากนั้นการให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำข้าวกล่อง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกระตุ้นการเจริญอาหารของลูกได้ เพราะว่าเขาจะเกิดความภาคภูมิในฝีมือการทำอาหารจากการลงมือจัดข้าวกล่องด้วยตัวเอง

หรืออาจจะเปลี่ยนบรรยากาศในการกินข้าวจากบนโต๊ะอาหารเดิม ๆ ที่สร้างความซ้ำซากจำเจ ฉะนั้นการรับประทานอาหารนอกบ้าน ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ให้ลูกน้อยสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น อีกอย่างจะทำให้เด็ก ๆ ตื่นเต้นและประทับใจกับอาหารมื้อนั้นอย่างแน่นอน
ข้าวกล่อง ป.ปลาตากลม

ข้อควรระวังในการทำข้าวกล่อง

เริ่มตั้งแต่การเลือกผลิตภัณฑ์หรือกล่องบรรจุอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ ใจว่า มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ในการใช้บรรจุอาหารให้กับลูกน้อย สีของภาชนะจะต้องทนความร้อน ไม่เช่นนั้นจะมีสารเคมีปนเปื้อน ในอาหารได้ และต้องทนต่อการละลายของไขมันอีกด้วย

การหุงข้าวต้องไม่ให้แฉะเกินไป หรือจับตัวเป็นก้อนจนเกินไป เพราะจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าไม่น่ากินจนกลายเป็นคนกินยาก เคล็ดลับของการหุงข้าวให้น่ากินคือ การผสมข้าวสารประเภทข้าวเจ้า3 ส่วน ต่อข้าวเหนียว 1 ส่วน ซึ่งจะทำให้ข้าวเกาะตัวได้ดีขึ้น และเพิ่มความน่ากินด้วยการอัดข้าวลงในแม่พิมพ์รูปการ์ตูนต่าง ๆ

นอกจากนั้นยังมีข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งของการทำข้าวกล่อง คือ ต้องเลือกทำเมนูอาหารที่จะไม่เสียหรือบูดง่าย เพราะบางทีการไปเที่ยวนอกบ้านอาจเจออากาศที่ร้อนอบอ้าว ซึ่งตอนนี้ก็เข้าหน้าร้อนแล้ว และไม่ควรเป็นอาหารประเภทชุป ข้าวมันไก่ และข้าวผัดที่ผัดไม่ถึงไฟก็จะบูดง่าย แต่หากจำเป็นต้องเลือกเมนูนี้ ก็ควรทานในเวลา 2 - 3 ชั่วโมง มิฉะนั้นความหวังดีของพ่อแม่อาจกลายเป็นความหวังร้ายให้ลูกเจ็บป่วยได้

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/40553
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก