ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
คุณแม่หลายๆ คนอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่เจ้าตัวเล็กชัก เพราะ ไข้ขึ้นสูง (Febrile Convulsions)

คุณแม่หลายๆ คนอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่เจ้าตัวเล็กชัก เพราะ ไข้ขึ้นสูง (Febrile Convulsions) คุณแม่หลายๆ คนอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่เจ้าตัวเล็กชัก เพราะ ไข้ขึ้นสูง (Febrile Convulsions) โดยเด็กที่มักมีอาการชักนั้นจะอยู่ในช่วงวัย 6 เดือน-5 ปี ยิ่งในเด็กเล็กขวบปีแรก-3 ขวบยิ่งมีโอกาสเกิดขึ้นสูงค่ะ เนื่องจากสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากไข้ส่วนใหญ่ประมาณ 75% ของเด็กจะชักเมื่อมีอาการไข้ขึ้นสูงตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียส ขึ้นไป 

โดยหลักๆ เด็กจะมีอาการเกร็งหรือกล้ามเนื้อกระตุก แต่มักจะเป็นอยู่ไม่นาน ร่วมกับอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เป็นหวัด, เจ็บคอ, ไอ, ท้องเสีย เป็นต้น แล้วต่อมามีอาการแขนขากระตุก ตกค้าง กัดฟัน กัดลิ้น นานครั้ง 2-3 นาที โดยมากจะชักพียง 1-2 ครั้ง ขณะที่ตัวร้อนจัด พอไข้ลงก็จะไม่ชักซ้ำอีก โดยเฉพาะในเด็กที่มีประวัติเคยชักแล้วก็จะมีอาการที่จะชักอีกหากมีไข้ ทำให้คุณแม่ทั้งมือใหม่มือเก่าอดกังวลไม่ได้ เวลาเจ้าตัวเล็กป่วยทีก็ป่วนไปทั้งบ้าน ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติให้ดีค่ะ อย่าตกใจเกินไปซึ่งอาจจะทำให้ลนลานทำอะไรไม่ถูก เผลอๆ อาจจะทำให้ลูกเป็นอันตรายได้เรามาดูวิธีจัดการกับอาการชักของเจ้าตัวเล็กเมื่อมีไข้ขึ้นสูงกันดีกว่าค่ะ 

ลูกมีไข้ขึ้นสูงถึงถึง 39 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้นหรือไม่ 
มี 
ไม่มี 
สาเหตุความเป็นไปได้ 
โรคลมชัก 
ปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 
เช็คอาการเพิ่มเติม 
อาการชักเกินกว่า 5 นาที 
ปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 

“หมดสติ” “ตัวเกร็ง” “การหยุดชะงักของจังหวะหายใจซึ่งยาวนานถึง 30 นาที และแผ่วลงหลังจากนั้น” “ปัสสาวะและ/หรืออุจจาระราด” “ลูกอาจมีอาการบิดเบี้ยวบนใบหน้า แขน ขา บิดงอ” “ตากลอกกลับ”


การจัดการเบื้องต้น 

คลายเสื้อผ้าลูกออกให้สบายตัว
  • ให้น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาเช็ดตัวให้ลูก เริ่มเช็ดตัวจากหน้าผาก ซอกคอ รักแร้ หลัง หน้าอก บริเวณขาหนีบ ข้อพับ ใช้ผ้า 2 ผื่นสลับกัน 
  • ให้ลูกดื่มน้ำทานยาลดไข้เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลูกลดลง 
  • ให้ลูกนอนหงาย หันศรีษะไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือนอนตะแคงให้ศรีษะต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย 
  • ถ้ามีน้ำลาย เสมหะหรือเศษอาหารให้เช็ดหรือดูดออก เพื่อป้องกันการอุดตันในทางเดินหายใจของลูก 
  • หากลูกมีอาการชักซ้ำอีกควรพาไปพบแพทย์ทันที 
  • ถ้าเด็กชักจนตัวและริมฝีปากเขียวอยู่นาน ให้เอาปากประกบปากเด็กเป่าปากหลังจากทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว


Danger! อาการชักที่ควรพบแพทย์
  • หากเจ้าตัวเล็กมีอาการชักดังต่อไปนี้ซึ่งถือว่าเป็นอาการขั้นรุนแรงคุณพ่อคุณแม่จะนิ่งเฉยไมได้แล้วค่ะ ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลอย่างด่วนที่สุด 
  • ชักติดต่อกันนานเกิน 15 นาที 
  • เวลาชักมีกระตุกเกร็ง เฉพาะซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย 
  • หลังหยุดชักมีอาการเกร็ง ตึง ของแขน ขาซีกใดซีกหนึ่ง 
  • มีการชักซ้ำติดต่อกันหลายๆ ครั้งในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน

ข้อมูลจาก : http://www.108health.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก