ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
ในการประเมินสุขภาพเด็กนอกจากจะตรวจหาความผิดปกติหรือความบกพร่องทั้งทางร่างกาย พฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดแล้วแพทย์จำเป็นต้องประมวลข้อมูลเพื่อจะได้ทราบว่าเด็กคนนั้นเจริญเติบโตและแสดงพฤติกรรมและความสามารถสมกับวัยหรือไม่เพื่อจะได้ให้การวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่น ๆ ในรายที่เติบโตช้าหรือมีพฤติกรรมพัฒนาการช้า ส่วนในกรณีปกติหรือเร็ว แพทย์สามารถแจ้งให้บิดามารดาของเด็กทราบและแนะนำวิธีปฏิบัติ 
ที่เหมาะสมต่อไปทั้งในด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่พบ บ่อยในแต่ละวัน 

การประเมิน หมายถึง การวัดและนำผลของการวัดมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานแล้ว จึงตัดสินแปลผลได้ว่าสิ่งที่ถูกประเมินนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร เช่น ถ้านักศึกษาทราบว่าเด็กชาย คนหนึ่งหนัก 10 กก. ก็ยังไม่สามารถประเมินการเติบโตของเด็กคนนี้ได้ถ้าไม่รู้ว่าเด็กอายุเท่าไร หรือสูงเท่าไร เพราะวัด (ชั่ง) น้ำหนักเด็กได้แต่ไม่ทราบจะไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานอะไร แต่ถ้าทราบว่าเด็กคนนั้นมีอายุ 12 เดือน จะสามารถประเมินได้ว่าเมื่อเทียบกับ 
มาตรฐานน้ำหนักตามวัย ซึ่งเท่ากับ 9 กก. แล้วเด็กคนนี้มีน้ำหนัก ตัวสูงกว่าเฉลี่ยเล็กน้อยถือเป็นปกติ แต่ถ้าเด็กคนนั้นมีอายุ 3 ปี เทียบกับมาตรฐานน้ำหนักตามอายุแล้ว จะพบว่าเด็กมีสภาพทุพโภชนาการ ระดับที่ 2 เป็นต้น

1. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก
การเติบโต (growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านขนาดของร่างกาย และอวัยวะซึ่งเกิดจากการ เพิ่มจำนวนเซลล์ การเพิ่มขนาดของเซลล์ และ matrix จึงสามารถประเมินการเติบโตได้โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความยาวหรือส่วนสูง ความหนาเส้นรอบวง เปรียบเทียบ 
สัดส่วน และจำนวนฟัน เป็นต้น 

การรวบรวมข้อมูลด้านการเจริญเติบโตของเด็กทำได้ทั้งจากการซักประวัติ และการประเมิน การเจริญเติบโตของเด็ก 
1.1 การซักประวัติการเจริญเติบโต 
1. ถามว่าเด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร หรือดูจากสมุดบันทึกสุขภาพของเด็ก 
2. ขอดูสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวและส่วนสูงในระยะที่ผ่านมา 
3. ถ้าไม่มีสมุดบันทึกสุขภาพ หรือมีแต่ไม่ได้ลงบันทึกไว้ควรถามดูว่าเด็กเติบโตดีสม่ำเสมอหรือไม่ อาจเปรียบเทียบขนาดตัวเด็กกับพี่น้อง หรือเด็กที่มีอายุใกล้เคียงกัน 
4. สำหรับวัยเรียนตอนปลายหรือวัยรุ่น ควรถามด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างลักษณะทางเพศและเสียงหรือไม่ เด็กหญิงควรถามประวัติการมีประจำเดือนด้วย 

1.2 การประเมินการเจริญเติบโต และการแปลผล ดัชนีของการเจริญเติบโตในเด็กที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ 
1.2.1 น้ำหนัก (แรกเกิด 3 kgs 1 ปี x 3, 3 ปี x 4, 5 ปี x 6) หรือ (อายุเป็นปี x 2 + 8 kgs) น้ำหนักตัวที่เหมาะกับอายุอย่างคร่าว ๆ 
1.2.2 ส่วนสูง (แรกเกิด 50 cms, 1 ปี 75 cms, 2 ปี 87.5 cms, 4 ปี 100 cms และ 10 ปี 130 cms) 
1.2.3 เส้นรอบศีรษะ (แรกเกิด 35 cms, 1 ปี 47 cms, 3 ปี 50 cms, 9 ปี 55 cms) 
1.2.4 ฟัน (ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น 6-10 เดือน ครบ 20 ซี่ เมื่ออายุ 2 1/2 ปี, ฟันแท้เริ่มขึ้น 6 ปี) 
1.2.5 การเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ (Secondary sex characteriatics) 
1.2.6 การเจริญเติบโตของกระดูก (Bone age)

การประเมินและแปลผล 
ใช้การวัดดัชนีดังกล่าวเทียบกับเกณฑ์ปกติของอายุในรูปของกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต ซึ่งทำมาจากการวัดเด็กปกติอายุต่าง ๆ กัน จุดบนเส้นเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 50 ซึ่งหมายถึง ค่าน้ำหนักหรือส่วนสูง ของเด็กปกติ คนที่ 50 ถ้าจัดให้เด็กวัยเดียวกัน 100 คน มาเรียงกันถือเป็นค่ากลาง ถ้าสิ่งที่วัดมีค่าอยู่ระหว่าง P97 และ P3 ถือเป็นปกติสำหรับวัยนั้น ๆ ถ้าต่ำกว่า P3 ถือว่าน้อยกว่าปกติ หรือขาดอาหาร และถ้ามากกว่า P97 ถือว่าใหญ่หรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ 

การบอกว่าเด็กคนหนึ่งเติบโตดีตามปกติหรือไม่นั้นจะต้องวัดจากน้ำหนักส่วนสูงและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามอายุ ถ้าอยู่ในระหว่างพิสัยปกติ คือ ค่าเฉลี่ย +2SD หรือจาก Percentile ที่ 3 ถึง Percentile ที่ 97 ถือว่าปกติตามอายุนั้น ๆ 

ในชุมชนที่มีปัญหาเด็กขาดอาหารมากจึงมีการคำนวนแบ่งชั้นตามความรุนแรง (Modified Gomez's Classification) เพื่อประโยชน์ในการแบ่งคัดเด็กตามความรุนแรงสำหรับ 

การดูแลรักษา
ตารางที่ 1 ระดับความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการ ดูกราฟน้ำหนักและส่วนสูงประกอบ




แต่การประเมินการเจริญเติบโตจากการวัดครั้งเดียว (cross sectional) นั้น มักมีข้อเสีย ตรงที่ไม่สามารถบอกการเพิ่มหรือการลดของขนาดตัวเด็กเพียงแต่บอกว่าขณะนั้นน้ำหนัก หรือส่วนสูงของเด็ก ถือเป็นปกติสำหรับวัยของเขาหรือไม่นั่นก็คือบอกภาวะเติบโตได้เฉพาะเมื่อเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ ชัดเจนแล้วเท่านั้น การประเมินการเจริญเติบโตที่ดีจึงควรติดตามวัดเด็กเป็นระยะ บันทึกไว้และจุดลงในกราฟ (longitudinal)จะเห็นแนวโน้มของการเพิ่มและลดได้ชัดเจน ช่วยให้วินิจฉัยภาวะ "โตช้ากว่าที่ควร" ได้เร็ว ก่อนที่เด็กจะตกลงสู่ภาวะทุพโภชนาการ เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับตัวเด็กเองว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรจึงดีกว่าที่จะเทียบกับค่าเฉลี่ยหรือเกณฑ์ปกติตามวัยอย่างเดียว เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่าง ขนาดตัว และอุปนิสัยความเป็นอยู่

ถ้าเด็กเติบโตตามปกติ เส้นน้ำหนักที่จุดต่อกันจะขนานกับเส้น P50 ถ้ามีภาวะชะงักงัน โตช้า เส้นน้ำหนักจะราบ หรือถ้าน้ำหนักลดเส้นก็จะชี้ลงซึ่งแสดงว่าเด็กควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุและ แก้ไขปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นภาวะทุพโภชนาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การติดตามความเปลี่ยนแปลงนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการติดตามผลการรักษาหรือการให้โภชนบำบัดอีกด้วย

ในตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ ส่วนสูงมีอัตราเพิ่มเร็วมากอยู่ 2 ช่วง คือระยะตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงวัยรุ่น (รูปที่ 1) การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ ระยะไตรมาสที่ 2 และ 3 ดูใน Intrauterine growth chart สำหรับส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ ดูได้จากตารางที่ 2.1

นอกจากความสูงแล้วยังดูความเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนช่วงตัวบนต่อช่วงตัวล่าง (upper : lower ratio) ในตารางที่ 2.2 และยังดูสัดส่วนช่วงแขนต่อความสูงที่เปลี่ยนไปตามวัยด้วย (span : height)

2. การเติบโตของส่วนสูงปกติ
2.1. ส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กอายุต่าง ๆ



หมายเหตุ
1. ความสูงโดยประมาณเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะเป็น 2 เท่าของความสูงเมื่ออายุ 2 1/2 ปี 
2. อายุแรกเกิดถึง 3 ปี วัดส่วนสูงเป็นความยาวโดยวัดในท่านอนหงาย อายุเกิน 3 ปี วัดในท่ายืนตรง

2.2. สัดส่วนของความสูงอัตราส่วนช่วงบนต่อช่วงล่าง upper/lower ratio 



หมายเหตุ 
upper segment = ศีรษะถึงหัวเหน่า, lower segment = หัวเหน่าถึงส้นเท้า


2.3. สัดส่วนช่วงแขนต่อความสูง Span/Height Ratio
ช่วงกางแขน (Span) คือการวัดความยาวจากปลายนิ้วกลางข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง 
ในท่ากางแขนเหยียดตรงไปข้าง ๆ ระดับไหล่ 
- แรกเกิดมีช่วงกางแขนสั้นกว่าความยาวของร่างกาย 
- เด็กชายอายุ 7 ปี หรือเด็กหญิงอายุ 9 ปี มีช่วงกางแขนเท่ากับส่วนสูง 
- วัยหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่มีช่วงกางแขนยาวกว่าส่วนสูง 
- ช่วงกางแขนในเด็กชายจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 2 ซม. 
- ช่วงกางแขนในเด็กหญิงจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 0.5-0.8 ซม.

ตารางที่ 3 น้ำหนักตัวเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ 



ตารางที่ 4 ขนาดรอบศีรษะเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ 



หมายเหตุ
1. ในระยะ 6 เดือน ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 1.5 ซม. 
ในระยะ 6 เดือนหลัง ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 0.5ซม. 
ในขวบปีที่ 2 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 2-3 ซม.
ในขวบปีที่ 3 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 0.5-2 ซม. 
อายุ 3-10 ปี ศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 1 ซม. ทุก ๆ 3 ปี 

2. Anterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 18 เดือน 
Posterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 6 สัปดาห์

ตารางที่ 5 Bone Age การปรากฎของศูนย์การเกิดกระดูกจากภาพรังสีของกระดูกมือและข้อมือใน เด็กชาย



หมายเหตุ
- การแปลผลภาพรังสีของศูนย์การเกิดกระดูก ให้ถือว่าเป็นปกติ ถ้าสูงกว่า อายุจริงไม่เกิน 1 ปี และต่ำกว่าอายุจริงไม่เกิน 2 ปี 
- เด็กหญิงจะมีศูนย์การเกิดกระดูกเร็วกว่าเด็กชายเล็กน้อย

ตารางที่ 6 การเจริญเติบโตของฟัน (dental growth)
6.1. ฟันน้ำนม (deciduous teeth) 



หมายเหตุ
1. มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ฟันหน้าซี่บนขึ้นก่อนฟันหน้าซี่ล่างอายุที่ฟัน น้ำนมขึ้น ก็แตกต่างกันได้มาก 
2. เด็กปกติบางคนฟันอาจจะขึ้นเมื่ออายุ 1 ปี หรือเด็กอาจจะมีฟันตั้งแต่ก่อน 6 เดือนได้ ฟันน้ำนมจะขึ้น ครบเมื่ออายุประมาณ 2 1/2 ปี 
3. ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี โดยมีฟันแท้ (Permanent teeth) 32 ซี่ ขึ้นตามลำดับดังนี้

6.2. ฟันแท้ (permanent teeth) .



ตารางที่ 7 การเจริญเติบโตในวัยรุ่น (pubertal changes : secondary sex characteristics)

7.1. ขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ (pubic hair) มีการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ระยะ 
ระยะที่ 1 ระยะก่อนวัยรุ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ 
ระยะที่ 2 จะเริ่มมีขนที่เนินหัวเหน่า (mons pubis) บาง ๆและขนเป็นเส้นตรง มีสีดำเล็กน้อย 
ระยะที่ 3 ขนจะดำ เส้นหยาบและขอดปลาย ขอบเขตมีเฉพาะที่ส่วนเนินหัวเหน่าที่อยู่ติดกับอวัยวะสืบพันธุ์ 
ระยะที่ 4 ขนมีลักษณะเหมือนของผู้ใหญ่ แต่ปกคลุมเฉพาะอยู่ที่เนินหัวเหน่ายังไม่ เป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม
ระยะที่ 5 ลักษณะขนเหมือนของผู้ใหญ่และขยายออกเป็นบริเวณสามเหลี่ยม โดยเกิดขึ้นที่ด้านในของต้นขา 

ในเด็กชายและเด็กหญิงมีระยะการเติบโตของ pubic hair เหมือนกัน และการเติบโตของ pubic hair นี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์

7.2. การเติบโตของเต้านมในเพศหญิง แบ่งเป็น 5 ระยะ 
ระยะที่ 1 ระยะก่อนวัยรุ่น มีลักษณะเหมือนเต้านมของเด็ก (infantile appearance) มี หัวนม (papilla) สูงขึ้นเล็กน้อย
ระยะที่ 2 เต้านมและหัวนมนูนสูงขึ้น ลานหัวนม (areola) ขยายใหญ่ขึ้น
ระยะที่ 3 เต้านมและลานหัวนมเติบโตขึ้นมีขนาดใหญ่ขึ้นอีก
ระยะที่ 4 ทั้งลานหัวนมและหัวนมจะนูนยื่นออกมาพ้นเต้านม ทำให้มีลักษณะเป็นสองตอน
ระยะที่ 5 บริเวณลานหัวนมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของรูปร่างลักษณะของเต้านม มีเพียงหัวนม (papillae) เท่านั้นที่ยื่นออกมา 


ที่มา : 
เรื่อง การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

ชั้นเรียนที่สอน นศพ.ปีที่ 4 
อาจารย์ผู้สอน พญ.นิตยา คชภักดี 

จุดประสงค์
1. สามารถประเมินการเจริญเติบโต 
2. ทดสอบระดับพัฒนาการของทารกและเด็กปกติวัย 0-5 ปี ได้อย่างคร่าว ๆ 

เนื้อหาวิชา
1. วิธีการรวบรวมข้อมูลด้านการเจริญเติบโต ตั้งแต่การซักประวัติ การวัดการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนัก ความสูง ศีรษะ สัดส่วนของร่างกาย อายุ กระดูก และการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเปรียบเทียบและแปลผล 

2. การทดสอบและการแปลผลระดับพัฒนาการตามวัยจนถึงอายุ 5 ปี ใน พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ gross motor, fine motor, language & personal 
social โดยเน้น - ทารกแรกเกิด 16, 28, 40, 52 สัปดาห์ 15,18 เดือน 2, 3, 4, 5 และ 6 ปี

3. ประโยชน์ของการประเมินการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก
  
 ข้อมูลจาก : http://library.ra.mahidol.ac.th/Lecture/Develo~1.htm
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB59
Promotion Credit Card in BBB59
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
VISITOR INFORMATION BBB59
VISITOR INFORMATION BBB59
รู้ไว้ก่อนไม่เสียหาย จุดบริการ Service ต่างๆ ภายในงาน พร้อมสิทธิพิเศษต่างๆ มากมาย
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก