ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
ชี้ด้านลบเลี้ยงลูกแบบเพื่อน

ชี้ด้านลบเลี้ยงลูกแบบเพื่อน พ่อแม่ในยุคใหม่อาจให้ความสนิทสนมและเลี้ยงลูกแบบเพื่อน เพื่อหวังว่าเมื่อลูกมีปัญหาไม่ว่าเรื่องใดๆ จะกล้าเข้ามาปรึกษา แต่หลายครอบครัวกลับกลายเป็นปัญหาว่าลูกไม่ให้ความเคารพ กล้าโต้เถียง นั่นเป็นเพราะอะไร

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มีคำแนะนำถึงแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น เริ่มตั้งแต่ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย ว่า ผู้หญิงจำนวนมากพูดถึงการเลี้ยงลูกแบบเป็นเพื่อนลูก แต่จริงๆ แล้วการที่เรามีสถานภาพเป็นพ่อแม่ ก็ต้องทำให้ลูกเห็นว่าเรามีสถานภาพเป็นพ่อแม่ ไม่ใช่เพื่อน การเลี้ยงลูกเป็นเพื่อนทำให้ลูกไม่เห็นความเป็นแม่ บทบาทของแม่ต้องแสดงให้เห็นความเป็นแม่ที่ลูกต้องเคารพ ไม่ใช่เป็นบทบาทของเพื่อน

"วัยรุ่นไม่ต้องการให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่มาใส่ใจ หรือจู้จี้ แม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกวัยรุ่นจึงต้องใช้วิธีเสริมแล้วค่อยสอน แต่ไม่ควรสั่ง วัยรุ่นทุกยุคทุกสมัยต้องการเป็นตัวของตัวเอง และเวลาที่แม่ใส่ใจหรือสั่งเขาจะคิดว่าตัวเองจะกลับไปเป็นเด็กอีก ดังนั้น แม่ต้องเสริมด้วยวิธีการแนะนำ และพูดคุยกับลูกโดยเปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น แม่และลูกต้องรู้จักเป็นผู้ฟัง ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้ แต่ท้ายที่สุดเขาก็จะคิดและหาข้อสรุปในเรื่องต่างๆ ได้ มิติของความเป็นเพื่อนจะอยู่ตรงที่เปิดโอกาสให้เขาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนแบบเปิดกว้าง ไม่ใช่แม่ต้องทำตัวเป็นเพื่อนกับลูก"

ดร.จิตรา กล่าวอีกว่า ขณะที่แม่ปรารถนาดีกับลูกแม่ก็ต้องการให้ลูกเป็นไปตามแนวทางที่ตัวเองต้องการ เพราะคิดว่ามันคือสิ่งที่ดีที่สุด แม้ว่าลูกจะรู้ว่าแม่รัก แม่เป็นห่วง แต่วัยรุ่นก็รู้สึกว่าตัวเองโตแล้ว สิ่งที่วัยรุ่นแสดงว่าเขาโตแล้วคือพฤติกรรมการเถียงพ่อแม่ มันแสดงออกให้เห็นว่าเขาโตแล้ว

ขอฝากถึงวัยรุ่นทุกคนว่าการที่เราจะโตเป็นผู้ใหญ่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราเถียงแม่ได้ แต่คนที่โตเป็นผู้ใหญ่ต้องรู้จักฟังคนอื่น ยอมรับในความต่างและความคิดของคนอื่นได้ ไม่ใช่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่เราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางแสดงว่าเราอยู่ในสภาวะความเป็นเด็ก

นอกจากนี้ การที่แสดงว่าวัยรุ่นคนนั้นโตเป็นผู้ใหญ่หรือไม่นั้น ดูได้จากคำพูดที่ต้องรู้จักรักษาน้ำใจคนฟัง พูดกับแม่และฟังใจแม่ได้ ไม่ใช่พูดกับแม่แล้วฝังใจ ไม่เคยฟังหรือเข้าใจความรู้สึกกันเลย เมื่อไหร่ที่ลูกและแม่พูดกันด้วยอารมณ์ฝังใจ จะเกิดด้านลบขึ้นในชีวิต ทำให้เกิดการเอาชนะคะคานกันตลอดเวลา ในวัยรุ่นที่บอกว่าตัวเองโตแล้วนั้นต้องแสดงให้แม่เห็นผ่านการกระทำ ไม่ใช่เพียงแค่คำพูด วัยรุ่นบางคนไม่พอใจแม่หรือผู้ปกครองก็จะเถียงและพูดประชดประชัน ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และไม่ได้แสดงว่าตัวเองโตเป็นผู้ใหญ่ 

"การเลี้ยงลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น พ่อแม่ต้องปรับตัวและต้องมองให้เห็นพัฒนาการในตัวของลูก เลี้ยงอย่างไรที่จะทำให้เขาก้าวเข้าไปสู่ความเป็นตัวของตัวเอง เลี้ยงอย่างไรที่จะทำให้วัยรุ่นก้าวเข้าสู่การสร้างเอกลักษณ์ของตัวเอง ถ้าวันหนึ่งที่ไม่มีแม่หรือไม่มีพ่อ เขาจะดูแลตัวเองได้

ในส่วนของลูกๆ ที่เป็นวัยรุ่นและคิดว่าตัวเองโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องทำให้พ่อแม่ไม่ห่วงต่อการกระทำของเรา ทำอย่างไรให้พ่อแม่ดุน้อยลง และเชื่อใจลูกมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะบอกได้ว่าเราพร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พ่อแม่ห่วงมากขึ้น ดูแลมากขึ้นและยังไม่ไว้วางใจ แสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นคนนั้นยังไม่โต" 

ข้อมูลจาก : http://www.sanook.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB59
Promotion Credit Card in BBB59
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
VISITOR INFORMATION BBB59
VISITOR INFORMATION BBB59
รู้ไว้ก่อนไม่เสียหาย จุดบริการ Service ต่างๆ ภายในงาน พร้อมสิทธิพิเศษต่างๆ มากมาย
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก