ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
วิธีลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดคลอดบุตรทางธรรมชาติ
วิธีลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดคลอดบุตรทางธรรมชาติ คุณแม่ที่คลอดตามธรรมชาติส่วนใหญ่มักจะมีแผลผ่าตัดบริเวณปากช่องคลอด แผลที่ว่านี้ แพทย์จำเป็นต้องตัดเพื่อทำให้ให้ปากช่องคลอดกว้างออกเพื่อให้ศีรษะและตัวเด็กออกมาได้ง่ายโดยที่ไม่ทำให้ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไป 

คุณแม่ที่คลอดบุตรทางธรรมชาติทุกคนจึงต้องผ่านความรู้สึกเจ็บปวดจากแผลนี้ แม้ว่าคุณแม่บางคนอาจจะไม่มีแผลฉีกขาดเลยก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องมีอาการช้ำหรือเจ็บปวดจากการคลอด บทความนี้จะมาบอกวิธีการว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้แผลหายเร็วและลดอาการเจ็บปวดของแผลนี้ค่ะ

ตามปกติแล้วแพทย์จะทำให้การเย็บแผลที่ปากช่องคลอดนี้นี้ด้วยไหม ไหมให้เย็บแผลนั้นจะมีทั้งชนิดที่ละลายได้เองหรือไม่ละลายและจำเป็นต้องไปให้แพทย์หรือพยาบาลตัดไหมออก ความเจ็บปวดหรือขนาดของแผลนั้นจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการคลอดและขนาดของตัวเด็ก ตามปกติแล้วทางการแพทย์ได้แบ่งลำดับของบาดแผลเอาไว้เป็น 4 ลำดับ ดังต่อไปนี้

ลำดับที่ 1 คือ แผลที่มีการฉีดขาดเพียงผิวหนังภายนอกของปากช่องคลอด ไม่ไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ ตามปกติแล้วแผลชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องเย็บและสามารถหายได้เอง

ลำดับที่ 2 คือ แผลที่ขาดไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ แผลที่แพทย์ตัดเพื่อให้เด็กคลอดออกมาส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแผลที่มีความลึกอยู่ในระดับนี้ แผลนี้จำเป็นต้องเย็บแผลด้วยไหมและส่วนใหญ่จะกินเวลาประมาณ 2 เดือนจึงจะหายเป็นปกติ

ลำดับที่ 3 คือ แผลที่ขาดไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและเลยเข้าไปถึงหูรูดของทวารหนัก แผลในลำดับนี้เป็นแผลที่มีขนาดลึกมากขึ้นและต้องให้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะหายเป็นปกติ และแผลที่ลึกไปถึงหูรูดของทวารหนักอาจจะทำให้มีอาการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ได้

ลำดับที่ 4 คือ แผลที่ขาดผ่านหูรูดทวารหนักเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย แผลชนิดนี้ความลึกมากขึ้นและอาจจะต้องใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะหายสนิท ปัญหาเรื่องกลั้นอุจจาระไม่อยู่จะพบมากขึ้น

วิธีการลดความเจ็บปวด
ตามปกติแล้วคุณพยาบาลที่ดูแลหลังคลอดจะอธิบายวิธีการดูแล ทำความสะอาดแผลที่ปากช่องคลอดก่อนที่จะให้คุณแม่กลับบ้าน หากว่าคุณแม่ฟังไม่ละเอียด จำไม่ได้หรือมีข้อสงสัย วิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือโทรศัพท์ไปถามที่โรงพยาบาลนั้นๆค่ะ อย่างไรก็ตาม การดูแลแผลผ่าตัดที่ปากช่องคลอดโดยทั่วไปนั้น มีดังนี้ค่ะ

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณนั้น แผลที่ปากช่องคลอกเป็นแผลที่บอบบาง อาจจะช้ำและมีเลือดออกได้ง่าย หากมือที่ไปจับมีเชื้อโรคอาจจะทำให้แผลติดเชื้ออักเสบได้

2. เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ อาจจะทุก 4-6 ชั่วโมง ควรใส่ผ้าอนามัยให้กระชับเพื่อลดการเสียดสีของแผล

3. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำอุ่นชำระล้างแผลหลังจะเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

4. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำอุ่นและฉีดไปที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ เพื่อลดความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะที่อาจจะไหลผ่านแผล ทำให้ลดความแสบได้

5. หากถ่ายอุจจาระ ต้องระวังอย่าลืมเช็ดอุจจาระจากทางด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อไม่ให้ความสกปรกหรือเชื้อแบคทีเรียมาปนเปื้อนกับแผลได้

6. ให้น้ำแข็งประคบบริเวณแผลให้ 12-24 ชั่วโมงแรก (ส่วนใหญ่จะทำที่โรงพยาบาล) คุณอาจจะนอนตะแคงและหนีบถุงน้ำแข็งเอาไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง ความเย็นจากน้ำแข็งจะช่วยลดอาการบวมของแผลได้

7. หลังจากวันแรกที่ประคบด้วยความเย็น คุณก็เริ่มเปลี่ยนเป็นประคบด้วยความร้อน วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการนั่งแช่แผลในน้ำอุ่นประมาณ 20 นาที น้ำอุ่นจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้แผลหายเร็ว คุณควรจะแช่น้ำอุ่นวันละ 3 ครั้ง จนแผลดีขึ้น บางคนอาจจะใช้โคมไฟที่มีความร้อนส่องที่แผลก็จะทำให้แผลแห้งเร็วขึ้นได้

8. เมื่อกลับบ้านคุณอาจจะหาที่มิดชิดนอนบนเตียงและถอดผ้าอนามัยออกเพื่อผึ่งแผลให้แห้ง อาจจะใช้พัดลมเป่าก็ได้ (แต่อย่าลืมน้ำผ้าเช็ดตัวเก่าๆวางรองนอนเพื่อกันเลอะเทอะนะคะ)

9. หากนั่งให้นมลูกแล้วมีอาการเจ็บแผล อาจจะเปลี่ยนเป็นท่านอนให้นมลูกบ้าง

10. หากคุณเจ็บแผลขณะนั่งมาก อาจจะหาห่วงยางมานั่งเพื่อให้ให้น้ำหนักตัวกดลงที่แผล

11. หลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนนานๆ เพราะจะทำให้เลือดไหลลงมาคั่งบริเวณแผล ทำให้บาดแผลบวมมากขึ้นได้

12. รับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์สั่ง และรับประทานยาถ่ายชนิดที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่มลงทำให้ถ่ายได้ง่ายขึ้น

13. หากคุณสังเกตว่าแผลมีลักษณะบวมแดงผิดปกติ มีไข้ หรือไม่น้ำคาวปลาออกมากกว่าปกติ อาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากการติดเชื้อได้ ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ แต่ว่าหากคุณดูแลแผลตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โอกาสติดเชื้อนั้นน้อยมาก 

  
 ข้อมูลจาก : http://www.lovekid.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก