ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
IPD & ปอดบวม
IPD & ปอดบวม โรคปอดบวม เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่รู้จักเป็นอย่างดี แต่อาจยังไม่เข้าใจถึงความรุนแรง ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก และยูนิเซฟได้ตระหนักถึงความอันตรายของโรคนี้ จากการสำรวจพบว่าโรคปอดบวม เป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 2 ล้านคนทั่วโลกต่อปี

โรคปอดบวมมีสาเหตุมากจากอะไร
80-90% ของโรคปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อ ทั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียมีชื่อว่า สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า เชื้อนิวโมคอคคัส คือเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักของโรคปอดบวม และเป็นเชื้ออันตรายที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรครุนแรงอย่างโรค ไอ พี ดี ได้อีกด้วย

ความรุนแรงและอันตรายของโรคปอดบวม
ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หนึ่งคือ อาการของโรคว่าค่อยเป็นค่อยไป หรือว่าเกิดขึ้นเฉียบพลัน อาการอาจรุนแรงถึงขั้น ปากเขียวตัวเขียว หายใจไม่ทัน หน้าซีด สองคือ อายุของเด็ก อายุยิ่งน้อยความรุนแรงของโรคยิ่งมาก สามคือ ชนิดของเชื้อ โดยพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ สี่คือ สุขภาพของเด็ก ว่าขาดสารอาหารหรือเป็นโรคเรื้อรังหรือไม่ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อได้

อาการเบื้องต้นของโรคปอดบวม
อาการเบื้องต้นที่สามารถพบได้คือ เด็กมีไข้สูงมากกว่า 38 องศา มีการไอลึก หอบ หายใจเร็วและลำบาก ที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตการหายใจของลูก โดยการเปิดเสื้อสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก ว่าผิดปรกติหรือไม่

การรักษาโรคปอดบวม
การรักษา มีสองแบบคือ การรักษาตามอาการ และการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบัน เชื้อนิวโมคอคคัสดื้อยาเพิ่มขึ้น จึงเป็นปัญหาในการรักษา ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ เพราะร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้เอง แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การติดเชื้อไวรัสทำให้ร่างกายอ่อนแอ และทำให้เชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติในร่างกาย สามารถแบ่งตัวลุกลาม และเป็นอันตรายได้

นอกจากโรคปอดบวมแล้ว เชื้อนิวโมคอคคัส ก่อโรคอะไรได้อีก เชื้อนิวโมคอคคัสสามารถก่อให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก และเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ โดยกลุ่มโรคติเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เราเรียกสั้นๆว่า โรค ไอ พี ดี

โรค ไอ พี ดี มีความรุนแรงอย่างไร

ไอ พี ดี (IPD) มาจากคำว่า Invasive Pheumococcal Disease คำว่า Invasive แปลว่าทะลุทะลวง อาการของโรคจึงรุนแรง กรณีติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กอาจช็อค ไตวาย ตับวาย หรือหยุดหายใจได้ หรือกรณีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กอาจช็อค ชัก ร่างกายเกิดอาการเกร็ง และสมองอาจทำงานผิดปรกติ ทำให้ปอด หรือหัวใจหยุดทำงาน

เด็กกลุ่มไหนมีการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นิวโมคอคคัส
ความเสี่ยงของการติดเชื้อ มีอยู่ทุกช่วงอายุ แต่ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สมบูรณ์ จึงมีความเสี่ยงที่สูงกว่า โดยในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี จะมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก

การป้องกันโรคปอดบวม และโรค ไอ พี ดี
เนื่องจากเชื้อนิวโมคอคคัส พบได้ในโพรงจมูกและลำคอ การรักษาสุขอนามัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่ควรล้างมือบ่อย ๆ ปิดปากจมูก เมื่อไม่สบาย ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่สัมผัสสิ่งคัดหลั่ง ผู้ปกครองต้องระวังในการพาเด็กไปใน

สถานที่ที่มีเด็กอยู่ร่วมกัน และควรที่จะแยกเด็กป่วยจากเด็กสุขภาพดี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ สุดท้านคือการเสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์ได้

ข้อมูลอ้างอิง:
UNICEF. Pheumonia: The Forgotten Killer of Children 20
ข้อมูลจาก : http://www.samitivejhospital.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล