ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
ระวัง! เด็กนอนกรน โตขึ้นมีแนวโน้มเป็นไฮเปอร์แอคทีฟ
ระวัง! เด็กนอนกรน โตขึ้นมีแนวโน้มเป็นไฮเปอร์แอคทีฟ ระวัง! เด็กนอนกรน โตขึ้นมีแนวโน้มเป็นไฮเปอร์แอคทีฟมีพฤติกรรมอยู่ไม่สุขหรือไม่อยู่กับร่องกับรอยในชั้นเรียน

ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กมีสิทธิ์นอนกรนได้ แต่ทำไมคนบางกลุ่มนอนกรน ขณะที่คนบางกลุ่มกลับไม่กรนขณะหลับ การกรนบ่งบอกว่าคนๆ นั้นกำลัง Enjoy กับการนอนมากกว่าอีกกลุ่มหรือไม่? หรือกำลังบอกสิ่งใด ?

ขณะที่เราหายใจเข้า ลมหายใจจะผ่านทางเดินหายใจโดยเริ่มต้นที่จมูก แล้วลงมาตามลำคอ ผ่านไปยังหลอดลมเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจน โดยบริเวณส่วนลำคอจะแตกต่างจากจมูกและลำคอคือ ไม่มีโครงกระดูก หรือโครงกระดูกอ่อนอยู่เลย แต่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีลักษณะยืดหยุ่นตัว ได้แก่ เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ทอนซิล และลิ้นลำคอ ในเวลากลางวันลำคอจะคงรูปร่างเป็นท่อกลวงได้ เพราะกล้ามเนื้อคอดึงให้เกิดเป็นช่องขึ้น

แต่ถ้าเรานอนลงโดยเฉพาะเวลานอนหลับ กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายจะหย่อนตัว กล้ามเนื้อคอที่ไม่มีโครงสร้างกระดูกรองรับยิ่งหย่อนตัว ทางเดินหายใจส่วนลำคอเล็กลงกว่าขณะตื่น ยิ่งหลับลึกกล้ามเนื้อรอบคอยิ่งหย่อนเข้าหากัน ความแรงของลมหายใจที่เพิ่มขึ้นจะไปกระทบกับผนังคอด้านใน จนเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงกรน

หากมีปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้ช่องคอแคบลงไปอีก เช่น ช่องทางผ่านของลมแคบ ยิ่งเกิดเสียงกรนดัง และอาจแคบจนเกิดภาวะอุดตันในช่องคอชั่วคราวทำให้ลมหายใจขาดไปชั่วขณะ ถ้าสุขภาพของลูกไม่ดี เช่น ลำคอบวมจากภูมิแพ้ทางเดินหายใจในลำคอก็ยิ่งตีบเล็ก หายใจไม่สะดวก เป็นที่มาของเสียงกรนอีกทางหนึ่ง อาการสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่แรกเกิด พบบ่อยเฉลี่ยที่ 3 ปีขึ้นไปโดยเด็กทุกๆ 100 คน จะพบเด็กนอนกรนเฉลี่ยที่ 20%

นพ.เสรี ตู้จินดา ที่ปรึกษาแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อธิบายว่า การนอนกรนเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน โดยจะพบในช่วงหลับกลางคืน สาเหตุเพราะ…

1. เด็กที่เป็นหวัดบ่อย จึงมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนบ่อยด้วย ทำให้ต่อมทอมซิลอยู่บริเวณคอและต่อมอะดีนอยด์ใจโพรงจมูกที่ช่องทางเดินหายใจโต ไปอุดทางเดินหายใจในลำคอให้เล็กลง ทำให้หายใจไม่สะดวกเกิดการนอนกรน

2. เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ทำให้เยื่อบุภายในทั้งหลายบวม มีน้ำมูก รวมถึงเสมหะ ที่สวามารถไปอุดตันทางเดินหายใจในลำคอ ทำให้นอนกรนได้
3. เด็กที่เป็นโรคอ้วน เกิดจากการไปตามระบบโภชนาการของตะวันตก กินอาหารฟาส์ตฟู้ดที่มีแป้งและไขมันมาก สะสมที่ทางหลอดทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวก
4. เด็กที่มีหน้าตาแบน พบในโรคบางโรคเช่น ดาวน์ซินโดรม ฯลฯ
5. เด็กที่มีปัญหาทางสมอง ทำให้ปัญญาอ่อน กล้ามเนื้อและแขนขาทำงานไม่ดี อ่อนแรงและเกร็ง ซึ่งจะเป็นที่ทางเดินหายใจด้วย

นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ กล่าวว่าเด็กบางคนนอนกรนเมื่ออายุเดือนเศษซึ่งตั้งแต่อายุยังน้อย อาจต้องคิดถึงอาการที่เรียกว่า หายใจดัง เสียงดัง หรือหายใจลำบากร่วมด้วย ซึ่งอาจมีความผิดปกติได้หลายตำแหน่ง ตั้งแต่จมูก ช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง จนถึงหลอดลม และอาจเป็นโรคที่เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือมาเกิดภายหลังก็ได้ ควรนำเด็กมาให้แพทย์ตรวจ เพื่อดูว่าอาการนอนกรนนั้นเกิดจากการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่

ผลจากการนอนกรนพบว่าเด็กป่วยจากการนอนกรนบางคนจะหายใจทางปากด้วย เพราะหายใจทางจมูกแล้วไม่สามารถสูดอากาศได้เพียงพอ การที่ลูกได้รับออกซิเจนน้อยกว่าปกติ มีผลต่อระบบของร่างกายคือ

1. อ้าปากหายใจจึงคอแห้ง มีผลต่อพัฒนาการของกะโหลกศรีษะ ฟัน รวมถึงใบหน้า และหัวใจยังเต้นช้าเนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจนอยู่บ่อยๆ อาจเสียชีวิตกะทันหันได้ เพราะทางเดินหายใจอุดกั้น เด็กปรับตัวไม่ทัน
2. กลืนอาหารลำบาก ทำให้ไม่ค่อยอยากกินอาหาร ถ้าต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตด้วย เด็กจะรู้สึกเจ็บคอ หรือลมผ่านจมูกได้น้อย ทำให้ไม่ได้กลิ่นอาหาร ขณะเดียวกันต่อมทอนซิลโตไปทำให้หายใจลำบาก ร่างกายจึงต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการหายใจมากขึ้น จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียง่ายด้วย
3. ระบบประสาท การนอนกรนเพราะขาดออกซิเจนทำให้ลูกหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นบ่อยลูกจึงนอนหลับไม่เพียงพอ คุณภาพการนอนหลับลดลง การหลับช่วงตื้นเพิ่มขึ้น และช่วงหลับลึกลดลง มีอาการง่วงนอน ปัสสาวะรดที่นอน เพราะฮอร์โมนบางตัวเพิ่มมากขึ้นกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะบ่อย มีผลทำให้ระบบสมองแปรปรวน การควบคุมระบบขับถ่ายก็แปรปรวนด้วย พัฒนาการของลูกจะช้าลงความฉลาดจึงน้อยลงด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำให้ลูกเกิดความเครียด เมื่อเครียดมากๆ จะเปลี่ยนเป็นก้าวร้าว ถ้ารุนแรงจะทำให้ชักได้
4. ร่างกายของลูกเจริญเติบโตช้า เนื่องจากมีต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตฮอร์โมนต่างๆ ที่ควรหลั่งเป็นปกติก็จะขาดตกบกพร่อง เช่น GROWTH HORMONE ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความสูงของร่างกาย
5. ระบบทางเดินหัวใจและหลอดเลือด การขาดออกซิเจนทำให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้นความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจก็เต้นแรงผิดปกติ

นพ.พิบูลย์ กล่าวว่านอนกรนมีหลายระดับความรุนแรง ตั้งแต่การนอนกรนเสียงดังแต่หายใจปกติสม่ำเสมอจนถึงการนอนกรนที่หายใจผิดปกติด้วย เช่น จังหวะการหายใจไม่สม่ำเสมอ มีหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ร่วมกับอาการปากคล้ำเขียวในระหว่างหยุดหายใจ เด็กบางคนนอนกระสับกระส่าย การนอนตอนกลางคืนเป็นไปด้วยความลำบาก จึงง่วงในตอนกลางวันมากกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ้าปากหายใจ อกบุ๋มเวลาหายใจ การเจริญเติบโตและพัฒนาการผิดปกติ โรคหัวใจจากภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ฯลฯ

นพ.ไพศาล เลิศฤดีพร กุมารแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงวิธีแก้ไขชั่วคราวที่ทำได้ที่บ้านคือ จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง หรือนอนในลักษณะกึ่งคว่ำ เพื่อให้ลิ้นไม่ตกลงไปขวางทางเดินหายใจเหมือนในท่านอนหงายทั่วไป

ส่วนวิธีรักษานั้น ถ้าลูกนอนกรนด้วยสาเหตุอะไรให้แก้ไขที่สาเหตุนั้น เช่น ลูกเป็นภูมิแพ้ก็ต้องรักษาอาการภูมิแพ้ พยายามไม่ให้ลูกเป็นหวัดบ่อย ถ้าพบว่าลูกเป็นทอนซิลอักเสบบ่อย ส่วนใหญ่เมื่อมีข้อบ่งชี้และเด็กอายุมากกว่า 3 ปี แพทย์จะแนะให้ผ่าตัดต่อมทอนซิล หรือเวลานอนถ้าอากาศเย็นเกินไป ก็ให้ใส่ถุงเท้าให้ลูก เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น เลือดลมจะไหลเวียนดีขึ้น ไม่ไปคั่งค้างที่บริเวณจมูกมากเกินไป ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางต่อไป

เจมี กูดวิน นักระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยอะริโซนา สหรัฐอเมริกาผู้นำการศึกษากล่าวว่า ปัญหาการนอนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมและการเรียน คือ มีแนวโน้มอยู่ไม่สุขหรือไม่อยู่กับร่องกับรอยในชั้นเรียน หรือที่เรียกว่าไฮเปอร์แอคทีฟ โดยมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในชนกลุ่มน้อย เช่น กลุ่มเด็กชาวละตินอเมริกา ฯลฯ เขายังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นข้อค้นพบนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้ศึกษาเช่นกัน 

โดยงานสำรวจของเขาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ปกครอง 1,200 คน ที่มีลูกในวัย 4-11 ขวบ ในโรงเรียนย่านทูซอน พบว่าผู้ปกครองที่มีเชื้อสายละตินอเมริกา 11.4 เปอร์เซ็นต์ รายงานว่าเด็กนอนกรน ขณะผู้ปกครองผิวขาวบอกว่ามีปัญหานี้แค่ 7.4 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกันนี้ผู้ปกครองกลุ่มแรกบอกว่า เด็กๆ มักรู้สึกง่วงในตอนกลางวัน และหลายรายมีอาการนอนกรนด้วยผู้ปกครองเชื้อสายละตินอเมริกา 6.5 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าส่วนใหญ่เด็กผู้ชายจะมีปัญหาในการเรียน ขณะที่ผู้ปกครองผิวขาวมีรายงานเรื่องนี้แค่ 3.7 เปอร์เซ็นต์

ปัญหาการนอนกรนในเด็กเป็นปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจในขณะหลับ ในเวลาปกติเด็กจะไม่มีอาการส่อว่าเจ็บป่วย แม้พามาตรวจร่างกาย ก็อาจไม่พบอาการผิดปกติใด เพราะโรคนี้วิจัยยาก แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาไม่ถูกต้องจะมีผลต่ออนาคตของเด็ก ฉะนั้นถ้าพบว่าเด็กมีอาการนอนกรน ควรรีบปรึกษาแพทย์

ข้อมูลจาก : http://www.sudrak.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล