ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
โรคเสี่ยงของเด็กยุคดิจิตอล

โรคเสี่ยงของเด็กยุคดิจิตอล เจ้าหนูกับการดูโทรทัศน์

ช่วง 1-3 ปี

การที่เด็กนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ เด็กจะขาดทักษะการใช้กล้ามเนื้อที่กำลังเจริญเติบโต เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ฉะนั้น ถ้าใช้เวลาในการนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ จะไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ ซ้ำร้ายโทรทัศน์ยังทำลายศูนย์รวมความสนใจของเด็กอีกด้วย ขบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ๆ จะฝึกการเรียนรู้จากการลงมือกระทำ จากการเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเขา เด็กที่ดูโทรทัศน์จะไม่ได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ

ช่วง 3-5 ปี

เป็นช่วงเวลาที่เด็กพัฒนาอารมณ์ความรู้สึก จิตใจ และจังหวะการหายใจ หากเด็กติดโทรทัศน์จะส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจของเด็ก เพราะภาพมีความเร็วเกินไป เมื่อระบบการหายใจของเด็กติดขัดจะนำผลไปสู่อารมณ์ความรู้สึกและจิตใจของเด็ก ทำให้เกิดความก้าวร้าว การเล่นที่รุนแรง แล้วยังกระทบต่อสุขภาพของเด็กดังนี้ค่ะ

โทรทัศน์กับพัฒนาการทางสมอง

สำหรับเด็กเล็กโทรทัศน์มีรังสีที่มีผลเสียต่อสายตา ในขณะที่จอรับภาพทางประสาทตาของเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้สายตาของเด็กก่อนขวบปีจะเห็นภาพและสีต่าง ๆ ได้อย่างลางเลือน และเหมือนคนสายตาสั้น คือ เด็กอายุเดือนแรกจะมองเห็นแต่สีขาวและดำในระยะ 12-15 นิ้วนานไม่เกิน 5 วินาที เด็กอายุ 2 เดือนมองเห็นสิ่งของและสีแดง สีเขียว สีเหลือง ได้ชัดเจนในระยะไม่เกิน 20 นิ้ว และอายุ 3 เดือน มองเห็นชัดเจนในระยะ 1 ฟุต

การให้เด็กเล็กดูโทรทัศน์จะได้รับแสงที่มากเกินไปจะส่งผลต่อสายตา เช่น ระบบประสาท การปรับแสงของเลนส์ตา กล้ามเนื้อตาเกร็ง สายตาสั้น เป็นต้น และอาจทำให้ดวงตาเกิดการเหนื่อยล้าและเสียเร็วขึ้นได้ เมื่อเด็กอยู่ในวัยที่เริ่มดูโทรทัศน์ได้ 2-3 ปีไม่เกิน 15 นาที, 3-5 ปีไม่เกิน 30 นาที และ 6-8 ปี ไม่เกิน 1 ชั่วโมง

โทรทัศน์จะกระตุ้นสมองส่วนเล็ก ๆ ส่วนหน้า เป็นการรับรู้ข้อมูลโดยปราศจากการวิเคราะห์อย่างตระหนักรู้ความเร็วของภาพที่เร็วเกินไปจะทำให้เซลล์สมองของเด็กรับภาพแล้วถูกตัดทิ้ง หากดูเกิน 20 นาที ประสาทหู และตาจะล้า

การดูโทรทัศน์เป็นการใช้สมองซีกขวามากเกินไป ในสมองเด็กที่กำลังพัฒนาต้องมีการเปลี่ยนถ่ายจากซีกขวาที่ไม่มีคำพูดมีภาวะฝันไปสู่ซีกซ้ายที่ใช้ตรรกะคำพูด ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการอ่านวิเคราะห์และการฟังแบบเชื่อมโยง โทรทัศน์ไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เด็กได้พูดโต้ตอบ มีเพียงภาพและเสียงที่ผ่านลำโพง ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) ทำให้เด็กไม่ได้พูดโต้ตอบด้วย เด็กที่ติดโทรทัศน์มากเกินไปอาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาช้า เนื่องจากไม่ได้มีความจำเป็นที่จะโต้ตอบทางภาษา เด็กวัยนี้ยังต้องเรียนรู้ผ่านการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา

สุขภาพเจ้าหนูกับโทรศัพท์มือถือ

เด็ก ๆ กับโทรศัพท์มือถือที่ต้องแนบหูนั้น แบตเตอรี่เกิดความร้อน ส่งผลให้หูและศีรษะสัมผัสความร้อนโดยตรง จะทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการรับ-ส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือกระทบกับอวัยวะโดยตรงทั้งบริเวณ หู ตา และเข้าไปถึงสมองส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์และเนื้อเยื้ออ่อน ๆ ในบริเวณนั้นได้

สุขภาพเจ้าหนูยุคคอมพิวเตอร์+ไอแพด

นอกจากผลเสียทางสายตาแล้ว ยังมีอาการท้องร่วงเพราะคีย์บอร์ด สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง คือ คีย์บอร์ดมักมีแบคทีเรียสะสมอยู่ เมื่อเด็ก ๆ เล่นคอมพิวเตอร์ อาจจะหยิบอาหารกินระหว่างอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีคีย์บอร์ดตั้งอยู่ แบคทีเรียเหล่านี้อาจจะเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้

ผลกระทบในระยะสั้น โรคเกี่ยวกับการปวด

เช่น อาการปวดหู ปวดศีรษะ มึนงง ขาดสมาธิ และเครียด เนื่องจากระบบพลังงานในร่างกายถูกรบกวน

โรคเกี่ยวกับดวงตา

การจ้องหน้าจอโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานเกินกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน จะทำให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคืองได้ และอาการได้ตามมา คือ ตาพร่าและมองไม่เห็นชั่วคราว ระบบประสาท การปรับแสงของเลนส์ตากล้ามเนื้อตาเกร็ง สายตาสั้น เพราะกล้ามเนื้อตาจะบีบรัดเลนส์ตาจนล้า ถ้าระดับที่วางความสว่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อระบบของการกลอกตา ระบบกล้ามเนื้อและประสาท ซึ่งจะเกิดหลังจากใช้สายตานานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการดวงตาล้า ดวงตาตึงเครียด ตาช้ำ ตาแดง แสบ

สำหรับเด็กเล็กรังสีที่มาจากจอโทรทัศน์ มีผลเสียต่อสายตา เพราะจอรับภาพทางประสาทตาของเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้สายตาของเด็กก่อนขวบปีจะเห็นภาพและสีต่าง ๆ ได้อย่างลางเลือน และเหมือนคนสายตาสั้น

ผลกระทบในระยะยาว สมาธิสั้น

เด็กในวัยแรกเกิด ถึง 6 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดสำหรับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การกระตุ้นโดยพ่อแม่เป็นผู้สอน ดังนั้นการที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์นาน ๆ จะทำให้เด็กไม่มีพัฒนาการสมวัย และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคสมาธิสั้น เด็กมีสมาธิ และความจดจ่อแย่ลง จนอาจทำให้เกิดโรคความจดจ่อเสื่อมหรือสมาธิสั้น

โรคอ้วนและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

การดูทีวีมาก ๆ สัมพันธ์กับโรคอ้วนและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เนื่องจากการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ การกินของขบเคี้ยวระหว่างดูทีวี และโรคอ้วนในเด็กจะมีแนวโน้มทำให้เป็นผู้ใหญ่อ้วนหรือเกิดโรคหลายโรค เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งในลำไส้ มะเร็งเต้านม ปวดหลัง ตามมาอีก

ภาวะ "เคาช์โปเตโต้" (couch potato)

เด็กที่เอาแต่นั่ง ๆ นอน ๆ ดูโทรทัศน์ วิดีโอ หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ไม่เคลื่อนไหวทำกิจกรรม ทำให้เป็นโรคอ้วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดจากภาวะเคาช์โปเตโต้ ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เด็ก ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 ชั่วโมง เล่นเกมหรือดูทีวี เด็กเล็กไม่เกิน 30 นาที

Tips : คุณพ่อคุณแม่พาไปเรียนรู้ธรรมชาตินอกบ้าน สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ที่สำคัญจำกัดช่วงเวลาการดูทีวี การใช้คอมพิวเตอร์และส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายก็จะช่วยให้สมองของลูกรักได้มีการเรียนรู้อย่างสมดุลและป้องกันผลเสียกับสุขภาพของเด็ก ๆ ด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=10777
ขอบคุณรูปภาพจากเวบ http://mykoreanboyfriend.com/2012/01/04/the-future-krimmy-couple-babies/
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all