ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
ทำอย่างไรดี เมื่อเจ้าหนูไม่รักษาสมบัติส่วนตัว
ทำอย่างไรดี เมื่อเจ้าหนูไม่รักษาสมบัติส่วนตัว นับเป็นหนึ่งในเรื่องหนักอกหนักใจของพ่อแม่หลายท่าน เมื่อลูกมักหลงลืม และไม่รักษาสมบัติส่วนตัวอย่าง ดินสอ ยางลบ หรือไม้บรรทัดที่มักจะเก็บจากโรงเรียนกลับมาบ้านไม่ครบ จนต้องซื้อให้ใหม่อยู่เป็นประจำ หรือบางคนอาจนำกลับมาครบ แต่ของบางอย่างไม่ใช่ของของลูก แต่เป็นของของเพื่อนแทน

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น โรงพยาบาลเวชธานี บอก ว่า โดยธรรมชาติของเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาล เขายังห่วงเล่น และมักจะเพลิดเพลินกับการเล่นจนอาจหลงลืมกับของใช้ส่วนตัวก็เป็นได้

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงความรับผิดชอบ และการจัดการเพื่อดูแลรักษาสิ่งของของเด็กวัยดังกล่าว ยังไม่สามารถรับผิดชอบ และจัดการได้ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ควรสอน และปลูกฝังให้ลูกมีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปี เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าสังคมเพื่อน

"ก่อนที่พ่อแม่จะลงโทษเด็กว่าไม่รักษาของให้ดี ควรมองปัญหาออกเป็น 2 ด้าน ซึ่งจริงอยู่ เด็กบางคนอาจไม่ดูแลรักษาของให้ดี แต่ในบางคนอาจถูกเพื่อนร่วมชั้นขโมยสิ่งของไปก็เป็นได้ ซึ่งในส่วนหลังนี้ หากหายบ่อยจนผิดสังเกต คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปคุยกับครูประจำชั้นเพื่อหามาตรการป้องกันต่อไป" จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นรายนี้กล่าว

อย่างไรก็ดี ในการปรับแก้พฤติกรรม และปลูกฝังให้ลูกมีนิสัยรักษาสมบัติส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องเรียน หรือสิ่งของอื่น ๆ จิตแพทย์เด็กท่านนี้ได้ให้แนวทางง่าย ๆ สำหรับพ่อแม่ ดังต่อไปนี้

- คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกเห็นก่อน ด้วยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ เก็บของให้เป็นที่เป็นทาง ไม่วางระเกะระกะขวางทางเดิน

- ก่อนลูกไปโรงเรียนทุกวันควรมีการคุยกับลูกว่า วันนี้นำอุปกรณ์เครื่องเรียนอะไรไปโรงเรียนบ้าง เมื่อกลับถึงบ้านพ่อแม่ต้องคอยตรวจดูด้วยว่า ลูกนำกลับมาบ้านครบหรือไม่ เป็นการฝึกลูกให้รู้จักตรวจสอบความเรียบร้อยของสิ่งของทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ

หากลูกนำกลับมาไม่ครบ ควรจะสื่อสารกับคุณครูเพื่อไปถามหาของคืนในวันต่อไป แต่ถ้าลูกหยิบของเพื่อนติดมาด้วย ควรบอกให้ลูกนำไปคืนเพื่อนที่โรงเรียน

- ไม่ควรให้ลูกนำอุปกรณ์เครื่องเรียนไปโรงเรียนมากจนเกินความจำเป็น และสอนจัดเก็บให้เป็นสัดส่วนเพื่อง่ายต่อการเก็บ และการค้นหา

- ฝึกลูกรู้จักเก็บผ่านการเล่นของเล่น โดยมีพ่อแม่คอยบอก หรือลงไปช่วยเก็บใส่กล่องร่วมกับลูกหลังเล่นเสร็จ หากลูกเก็บเข้าที่เรียบร้อย ควรให้คำชื่นชมทันที เพื่อเสริมแรงให้ลูกรู้สึกอยากที่จะเก็บของให้เป็นระเบียบในครั้งต่อไป ช่วยลดพฤติกรรมเล่นทิ้งเล่นขว้างได้ไม่น้อย

- ในกรณีที่เด็กโตขึ้นมาหน่อย หากมีนิสัยขี้ลืม หรือชอบทำของหายอยู่บ่อยครั้ง อาจต้องใช้วิธีหักเงินค่าขนมในบางส่วน เพื่อให้เด็กไม่เคยชินกับการทำของหาย และได้ของใหม่ในทันที เป็นวิธีช่วยให้เด็กรู้จักหวง และรักษาของวิธีหนึ่ง

"หากแก้พฤติกรรมลูกไม่ได้ผล เด็กอาจมีภาวะอื่นแทรกซ้อนอยู่ก็เป็นได้ เช่น สมาธิสั้น สมองบกพร่อง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาประเมินกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และหาทางแก้ไขกันต่อไป" จิตแพทย์เด็กฝากทิ้งท้าย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ
ข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/19002
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all