ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน

พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน คงจะมีบ่อยครั้ง ที่คุณพ่อคุณแม่ไปไหน ๆ แล้ว ได้พบเห็นกริยาใกล้ชิดสนิทสนมที่ผู้หญิง 2 คนมีต่อกันเป็นพิเศษ เช่น เดินจูงมือ โอบไหล่ มองตาเง้างอน อาจจะเป็นู่สาวผมสั้น-ผมยาว หรือ ผมยาว-ผมยาว หรือ ผมสั้น-ผมสั้น ก็แล้วแต่ คุณพ่อคุณแม่มีความรู้สึกอย่างไรบ้างคะ ? 

เฉย ๆ ใช่ไหม ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรเป็นพิเศษ หรือว่ารู้สึก "ขัดหูขัดตา" คิดอยู่ในใจว่า "ลูกเต้าใครนะ" เลี้ยงดูยังไงถึงปล่อยให้รักชอบ เพศเดียว กันแบบนี้ 

แต่ถ้า 1 ใน 2 คนนั้น เป็นลูกหลานในครอบครัวตนเอง ความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่จะ เปลี่ยนไปทันทีใช่มั๊ยคะ 

จะมีปฏิกริยาเหล่านี้ตามมาใช่หรือเปล่า?? 

- วิตกกังวล ไม่สบายใจ เฝ้าคิดว่าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงลูกได้อย่างไร 
- สั่งห้ามให้ลูกเลิกคบเพื่อนคนนั้น 
- อยากพาลูกไปหาจิตแพทย์ 
- โกรธลูกที่ทำตัวเสื่อมเสีย 
- ห่วงใยในอนาคตของลูกยิ่งกว่าครั้งใด 
- พยายามหาต้นตอของคนหรือ "สิ่ง" ที่ทำให้ลูกเป็นแบบนั้น 
- ลงโทษลูกด้วยวิธีการต่าง ๆ 
- โทษตัวเองว่าเลี้ยงลูกไม่ดี ฯลฯ 

รู้มั๊ยคะว่า วิธีการแสดงออกหรือการกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ สร้างแรงกดดันให้กับลูกหลานของเรา มากเพียงใด 

แน่นอนว่าคงไม่มีพ่อแม่คนไหนต้องการเห็นลูกเป็นทุกข์ เจ็บปวด แต่บางครั้ง "อคติและ ความเข้าใจผิด" ที่เรามี อยู่ก็ทำให้สิ่งที่ไม่ควรจะเป็น "ปัญหา" กลายเป็นปัญหาขึ้นมาจริง ๆ และอาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย 

จนวันหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่า ตัวเองกับลูกกลาย เป็นคน แปลกหน้าต่อกันไปเสียแล้ว! 

กลุ่มอัญจรีจึงเสาะหาข้อมูลและคำแนะนำที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์มาฝากแก่คุณพ่อคุณแม่ค่ะ ด้วยความหวังว่า ความรักและความเข้าใจที่พ่อ แม่ ลูก มีต่อกันจะนำพาสิ่งดี ๆ มาให้ครอบครัว และสังคมของเราตลอดไป 

6 ข้อ สำหรับพ่อแม่ เมื่อลูกรักเพศเดียวกัน 

1. เริ่มต้นที่ความเข้าใจทำความเข้าใจก่อนว่า การที่คนทั่วไปในสังคม (รวมทั้งเราด้วย) มีความรู้สึกด้านลบกับ คนที่รักเพศเดียวกันเพราะขาดข้อมูลที่ถูกต้อง มีความเชื่อผิด ๆ ว่าการรักเพศเดียวกันเป็นบาป เป็นโรคติดต่อ 
เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งในปัจจุบัน นี้ก็มีผลสรุปออกมาแล้วว่าการรักเพศเดียวกันนั้น เป็นพียงทางเลือกหนึ่ง ในการดำเนินชีวิตที่ทุก ๆ คนควรได้รับสิทธินี้ ควรขจัดอคติที่ว่าคนรักเพศเดียวกันนั้นเป็นปัญหาสังคม เพราะแท้จริง แล้ว แรงกดดันจากสังคมต่างหากที่สร้างแรงกระทบและก่อปัญหาแก่คนรักเพศเดียวกัน 

อย่าลืมว่าแม้แต่ในประกาศรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตรา 26 ก็ระบุเอาไว้ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" 


2. ถามตัวเองให้ชัดเจนว่า... ลองถามตัวเองสักครั้งว่า ความรักที่เรามีต่อลูกของเรานั้น ต้องมีการ จำกัดเงื่อนไข ด้วยหรือ พ่อแม่หลายคนเคยพูดว่า ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไรก็ตาม ลูกก็คือลูก คือสิ่งมีค่าในชีวิต แม้ลูกบางคนจะเคย ทำความผิดร้ายแรงเช่นก่อคดีฆาตกรรม เกี่ยวข้อง กับยาเสพติด พ่อแม่ก็ยังรัก ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือ เมื่อลูกเสียใจสำนึกผิด 

แล้วในกรณีที่ลูกเพียงแต่ต้องการใช้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งไม่ได้สร้างปัญหาให้กับใคร ความรังเกียจเหยียด หยามที่ผู้อื่น มีต่อลูกของเราเป็นสิ่งที่เกิดจากอคติ อุปาทาน ทำไมเราจึง ต้องสร้างแรงกดดันให้แก่ลูกของเราอีกด้วย 


3. หาคำตอบเรื่องความคาดหวัง ถามตัวเองอีกข้อว่า ที่เราโกรธลูก ไม่พอใจความ ประพฤติของลูกเพราะเรา ต้องการให้ลูกเป็น ไปตามความคาดหวังของเราใช่หรือไม่ ลองทบทวนย้อนหลัง ว่าเรา คาดหวังอะไรกับลูกบ้าง เราเคยถูกคนอื่นเช่นพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ ของเราคาดหวังมาก่อนหรือไม่ 

ลองนำความรู้สึกของเราเปรียบเทียบกับ ความรู้สึกของลูก เพื่อหาคำตอบว่า ความคาดหวังนั้น ๆ ก่อให้เกิดผลดี ทุกอย่างจริงหรือ? 


4. เลิกตั้งมาตรฐานกับลูก เลิกคิด เลิกเข้าใจผิดว่า คนรักเพศเดียวกันนั้นคือ พฤติกรรมการ แสดงออกที่ไม่ เหมาะสมเสมอไป การที่ลูกของเรามีบุคลิกภาพที่แตกต่างจากเพศเดียวกันคนอื่น ๆ เช่น ไว้ผมทรงเดียวกับผู้ชาย ชอบนุ่งกางเกงดูเข้มแข็งกว่าผู้หญิงทั่วไป ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่า ลูกของเราเป็นคนประหลาด ผิดปกติ นั่นเป็นเพียง รสนิยมและความชอบบางอย่างของเขาเท่านั้น 

นอกจากนั้น คนที่รักเพศเดียวกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ผู้หญิงรักผู้หญิง ผู้ชายรักผู้ชาย อาจไม่ได้ มีบุคลิกภาพ แสดงถึงความเป็น ทอม-ดี้-ตุ๊ด-แต๋ว อย่างที่สังคมเรียกขานตลอดเวลา 

มีคนรักต่าง เพศอีกมากมายที่มีบุคลิกภายนอกแตกต่างจากเพศเดียวกันกับตน เช่น ผู้หญิงจำนวน มาก ที่ชอบไว้ ผมสั้น แต่กายทะมัดทะแมง มีท่าทางห้าวหาญ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อย่าใช้ภาพลักษณ์ ภายนอกมากำหนด มาตรฐาน และตัดสินลูกของเรา ตราบใดที่เขารู้จักกาละเทศะ มั่นใจใน ตนเองประพฤติตนเป็น คนดีของสังคม 

เช่นเดียวกับเราเองที่มั่นใจในเอกลักษณ์และตัวตนของเรา อย่าลืมว่าความแตกต่างหลากหลายเป็นสิ่งปกติบน โลกใบนี้ 


5. อย่าดูถูกว่าการรักเพศเดียวกันเป็นแต่เรื่องบนเตียง เซ็กส์ หรือกามารมณ์ เป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญอย่างหนึ่งใน ชีวิตก็จริง แต่ไม่ว่าจะรักเพศเดียวกันหรือรักต่างเพศ กามารมณ์ก็ไม่ใช่ "เรื่องเดียว" ในชีวิตลูกของเราก็เหมือน คนทั่วไป ต้องเรียนหนังสือ ทำงาน ประกอบอาชีพ ทำงานอดิเรก ฯลฯ 

ไม่ควรมองว่าคนรักเพศเดียวกันคือคนที่ถือเรื่องเพศเป็นใหญ่ อย่าลงความ เห็นว่าการที่ลูกมีเพศสัมพันธ์ กับเพศเดียวกันเป็นเรื่อง "ผิดหรือบาป" เพศสัมพันธ์ในวัย และโอกาส ที่เหมาะสมเป็นเรื่องธรรมชาติ 


6. หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษตัวเองอย่าคิด หรือลงโทษตัวเองว่า การที่ลูกรักเพศเดียวกัน นั้นเป็น ความผิดของเรา 

ทุกครอบครัวสามารถมีลูกที่รักเพศเดียวกันได้เสมอ การรักเพศเดียวกันก็เหมือนกับการรักต่างเพศ สามารถเกิดขึ้น กับใคร ที่ไหนก็ได้ 

มีรายงานมากมาย กล่าวถึงคนรักเพศเดียว กันที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น มีคนรักเพศเดียวกันอยู่ทั่วทุกมุมโลก และไม่มีงานวิจัยใดบ่งบอก สาเหตุแน่ชัดว่า คนรักเพศเดียวกันเพราะอะไร 

สิ่งสำคัญที่สุดจึงไม่ใช่การพยายามหาสาเหตุของการรักเพศเดียวกัน แต่อยู่ที่ว่า เราควรรักลูก เข้าใจลูก และปฏิบัติอย่างไรต่อลูกของเรามากกว่าค่ะ

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all