ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
พ่อแม่ลูกผูกพัน

พ่อแม่ลูกผูกพัน คำบอกเล่ากล่าวขานถึงตัวอย่างด้านความผูกพัน ห่วงหาอาทรระหว่างพ่อแม่ลูก มักจะมีให้ได้ประสบกันบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการทางจิตใจ อารมณ์ที่เรียกว่า ลางสังหรณ์ เช่น เมื่อลูกที่อยู่ไกลตัวเกิดการเจ็บป่วยขึ้น แม่จะรู้สึกได้เพราะเกิดอาการคิดถึงอย่างผิดสังเกต ทั้ง ๆ ที่ลูกโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เล่าก็ยังอัศจรรย์ใจไม่หายทุกครั้งที่เล่าคือเรื่องของคุณแม่วัย 70 ปีเศษ ที่กำลังเฝ้าไข้คุณพ่ออยู่ในโรงพยาบาลใกล้บ้านเนื่องจากคุณพ่อเกิดอาการหอบอย่างมากเมื่อคืนที่ผ่านมา เมื่อได้ยินเสียงเครื่องบินลำหนึ่งบินผ่านไป คุณแม่ก็พูดขึ้นลอย ๆ ให้ลูก ๆ ทุกคนที่อยู่ด้วยกัน ณ ที่นั้นได้ยินว่า น้องคนสุดท้องของพวกเราที่ทำงานอยู่ในกรุง อยู่บนเครื่องบินลำนั้นเดี๋ยวก็จะมาเยี่ยมคุณพ่อ ลูก ๆ ทุกคนต่างก็ไม่สนใจที่คุณแม่พูด บางคนยังทำท่ารำคาญคุณแม่ว่าพูดเล่นไม่เป็นเรื่อง เพราะลูกชายเพิ่งทราบข่าวการป่วยของคุณพ่อเมื่อเช้ามือนี่เอง ไม่น่าจะหาตั๋วเครื่องบินได้รวดเร็วขนาดนั้น แต่เรื่องของเรื่อง กลับกลายเป็นจริงเพราะลูกชายโทรศัพท์มาจากสนามบินในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงต่อมาว่ากำลังจะมาหาคุณพ่อที่โรงพยาบาลด้วยความเป็นห่วงอย่างมากทุกคนที่รู้เรื่องต่างพากันอึ้งไปตาม ๆ กัน ด้วยหาคำอธิบายไม่ได้ว่า สายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกนั้นทำไมจึงเชื่อมโยงถึงกันได้ขนาดนั้น

ในขณะที่ครอบครัวของคนไทยส่วนมากยังมีความใกล้ชิดห่วงอาหาอาทรผุ้ที่อุ้มชูกันและกันอยู่เสม จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของชาวตะวันตกที่เขาเลี้ยงลูกอย่างอิสระเสรีให้พึ่งตนเองตั้งแต่เล็ก ๆ ว่า สังคมตะวันออกของเรา ประคบประหงมลูกลูกจนทำให้เสียคน เพราะกลายเป็นเด็กไม่รู้จักโต เป็นลูกแหง่ ไม่ยอมพ้นจากอกพ่อแม่ แต่ในอีกหลาย ๆ มุมของสังคมไทยก็พบเหตุการณ์เศร้าสะเทือนขวัญอยู่บ่อย ๆ ว่ามีกรณีเด็กถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้าย โดยบุพการีของตนเอง ในลักษณะต่าง ๆ นานา ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของความเข้มแข็งของแต่ละครอบครัวอันเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมที่จะช่วยเป็นกำลังพื้นฐานของสังคม ในทุก ๆ สังคมหรือชุมชนให้มั่นคงจนถึงระดับชาติที่สามารถก้าวหน้ายืนหยัดอยู่เคียงข้างประเทศอื่น ๆ ได้อย่างไม่น้อยกว่าใคร จึงใคร่ขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาช่วยกันคิดพิจารณาว่าแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็กจะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ความรัก ความผูกพันระหว่างบุคคลในครอบครัว คือพ่อแม่ลูกให้เป็นไปทางที่ดี ทางที่สร้างสรรค์มากขึ้นได้อย่างไร

ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก เป็นสิ่งที่แสดงถึงลักษณะพิเศษของความเป็นมนุษย์อันเป็นสัตว์ประเสริฐ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกขั้นสูงที่ลึกซึ้งเป็นพิเศษแตกต่างจากสัตว์อื่นอย่างเห็นได้ชัด เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน มีปัจจัยสนับสนุนหลาย ๆ ปัจจัย และมีจุดกำเนิดจากความต้องการลูกที่เป็นตัวแทนความรักระหว่างพ่อแม่กับแม่ จึงมีการวางแผนการตั้งครรภ์ เมื่อแม่เริ่มรู้สึกว่ามีครรภ์เกิดขึ้นจะค่อย ๆ ทวีความเข้มข้นเรื่อย ๆ พร้อมกับที่แม่รู้สึกถึงการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกตามลำดับ (เป็นเวลาประมาณ 9 เดือน) ระยะที่เห็นชัด คือเมื่อลูกเริ่มดิ้นได้เมื่อลูกตอบสนองการสัมผัสเบา ๆ ที่หน้าท้อง การได้ยินเสียงลูกร้องครั้งแรกการให้ลูกดูดนมครั้งแรก และเมื่อได้เฝ้าดูการเจริญเติบโตของลูกอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกพิเศษนี้จะเกิดขึ้นและคงอยู่ตลอดไปไม่จืดจางแม้เวลาจะนานเพียงใดก็ตาม

การแสดงออกถึงความผูกพันระหว่างแม่กับลูก รู้สึกได้จากสายตาขณะที่จ้องมองลูก น้ำเสียง และคำพูดที่ใช้กับลูก การลูบไล้สัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลูก รวมทั้งการทุ่มเทเวลา กำลังกายกำลังใจให้ลูกซึ่งถึงแม้ว่าพ่อแม่บางคนจะไม่แสดงออกอย่างชัดเจนโจ่งแจ้งต่อสายตาผู้อื่น แต่สำหรับลูกแล้วจะสัมผัสได้ถึงสายใยสัมพันธ์ที่เขาได้รับ อันจะส่งผลถึงการสนองตอบด้วยการแสดงอาการคลอเคลีย อยากให้แม่อุ้มโอบกอด ป้อนอาหารให้ในตอนที่เขายังช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ รวมทั้งการขอคำปรึกษา แนะนำเมื่อมีปัญหาทางใจเมื่อเข้าสู่วัยเรียนและวัยรุ่น การแสดงออกของแม่ในระยะเริ่มต้นชีวิตของลูกส่งผลถึงการอยู่รอดทางกายของลูกเนื่องจากลูกมนุษย์พึ่งพาตัวเองในเรื่องอาหารไม่ได้เลยต้องนอนแบเบาะคอยให้แม่อุ้มประคับประคองขึ้นมาป้อนอาหารให้จนถึงปากเป็นเวลานานหลายเดือนจึงจะสามารถหยับจับอาหารใส่ปากได้เอง ส่วนด้านการอยู่รอดทางจิตใจ อารมณ์นั้น ลูกมนุษย์ต้องการการอุ้มประคับประคองจากผู้ใกล้ชิดด้วยการปลอบลโยนให้กำลังใจให้มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องที่ง่าย ๆ เช่น การอยู่คนเดียวเมื่อแม่ต้องไปทำธุระไปจนถึงเรื่องยากขึ้นตามลำดับ เช่น เดินไปโรงเรียนเอง เลือกเรียนมหาวิทยาลัย หรือสายวิชาชีพด้วยตนเอง เป็นต้น ดังนั้น ความผูกพันในอีกมิติหนึ่งจึงเป็นปฏิกริยาสะท้อนระวห่างการแสดงออกของลูก ตอบสนองต่อการที่พ่อแม่แสดงความห่วงหาอาทร รักใคร่ หวังดีต่อลูกด้วย เป็นเสมือนสามเหลี่ยมที่เป็นพลวัต (มีความเคลื่อนไหวสะท้อนกลับไปมาตลอดเวลา) ระหว่างพ่อกับแม่ แม่กับพ่อ พ่อกับลูก ลูกกับพ่อ แม่กับลูก และลูกกับแม่ โดยมีฐานของสามเหลี่ยมเป็นความผูกพันระหว่างพ่อ แม่ ถ้าพ่อกับแม่มีความสัมพันธ์รักใคร่ ปรองดองแน่นแฟ้น ก็จะส่งผลถึงส่วนยอดของสามเหลี่ยม คือลูก ให้มั่นคงเติบโตเป็นพลเมืองดีของชาติสืบไป

ปัจจัยหรือสิ่งที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ความผูกพันในครอบครัวเป็นไปด้วยดี จากการศึกษาจากหลาย ๆ สังคม หลายเชื้อชาติ พบว่าขึ้นอยู่กับต่อไปนี้

พื้นฐานครอบครัวเดิมของพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่จากครอบครัวที่อบอุ่นย่อมจะมีความพร้อมต่อการมีลูก และแสดงออกถึงความผูกพันต่อลูกอย่างมั่นคง สม่ำเสมอ 

ความเครียดหรือวิตกกังวลต่อการมีลูก ถ้าพ่อแม่สามารถปรับตัวต่อกันและต่อการมีลูกในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพ่อเข้าใจในสภาพจิตใจของแม่ขณะตั้งครรภ์ว่าจิตใจอ่อนไหวง่าย บางรายอาจรู้สึกว่าตนเองมีรางกายที่ไม่สวยงามในขณะตั้งครรภ์ กลัวว่าสามีจะไปหาความสุขกับผู้หญิงอื่น พ่อ รวมทั้งญาติพี่น้องอื่น ๆ ที่ช่วยให้กำลังใจช่วยผ่อนแรง ให้แม่จากงานบ้านให้ได้พักผ่อนมากขึ้น ย่อมทำให้แม่คลายความวิตกกังวล มีความพร้อมต่อการรับบทบาทแม่ และมีความรู้สึกด้านดีต่อลูก เป็นพื้นฐานของความผูกพันที่มั่นคงยาวนาน 

การมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม จริยธรรม คุณธรรมของลูก ขึ้นอยู่กับความพร้อมและการวางรากฐานที่ดีจากพ่อแม่ ปัจจุบันมีสื่อมวลชนที่มีคุณภาพกระจายความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสู่สังคมอยู่ตลอดเวลา พ่อแม่ที่ต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลูกจึงไม่จำเป็นต้องเสาะแสวงหาจากการศึกษาในระบบ หรือต้องมีระดับการศึกษาสูง ๆ เสมอไป นอกจากนั้น ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของพ่อแม่ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจว่า ปริมมณของเวลาที่ให้กับลูกไม่สำคัญเท่าคุณภาพของความรักความเอาใจใส่ที่พ่อแม่ให้แก่ลูกอย่างสม่ำเสมอในเวลาที่เหมาะสม 

ระดับปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์ที่เอื้ออำนวยในที่ทำงานหรือในสังคม ตัวอย่างเช่น สถานที่ทำงาน ที่อนุโลมให้แก่ทีตั้งท้องขอย้ายหน่วยงานไปสู่ฝ่ายที่ผ่อนแรงลงหรืออนุญาตให้ลาพักหลังคลอดได้เต็ม 90 วันตามกฎหมาย การอนุญาตให้สามีลางานไปช่วยดูแลหลังคลอดได้ การมีสถานรับเลี้ยงทารกให้มารดาสามารถลาพักในช่วงกลางวันเพื่อไปให้นมลูก เป็นต้น 

ความผูกพันระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ในแต่ละครอบครัวต้องเริ่มตั้งแต่ภายในตัวของบุคคลแต่ละคน คือ พ่อ แม่ ที่มีความพร้อมและมีทัศนคติที่ดีต่อการมีลูก และมีประสบการณ์หรือภูมิหลังมาจากครอบครัวที่มีความรักใคร่ผูกพันกันดี บุคคลแวดล้อมของครอบครัวที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจ ตลอดจนหน่วยงานและสังคมในวงกว้าง รวมทั้งสื่อมวลชนที่ให้ความสำคัญและความรู้ความเข้าใจแก่พ่อม่ให้มีการแสดงออกต่อลูกอย่างเหมาะสมทั้งหมดนี้จะร่วมกันเป็นพลังเสริมส่งให้ลูกซึ่งก็คืออนาคตของชาติมั่คงก้าวหน้าต่อไป

ที่มา 
หนังสือสองทศวรรษแห่งการพัฒนาแม่และเด็ก มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม หน้า 95 ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2544

รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
ข้อมูลจาก : http://www.egov.go.th
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ
ทุนมะเร็งในเด็ก, ทุน OPD เด็ก, ทุนศัลยกรรมในเด็ก
Sponsors
view all
Banner
view all