ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
7 ทางเลือกที่ดีกว่า "ตี"





7 ทางเลือกที่ดีกว่า "ตี" 

ก่อนจะตีเด็ก ลองทำเรื่องดี ๆ กับใจของตนเองกันก่อนดีไหมคะ ว่าในฐานะพ่อแม่ ผู้ปกครอง เราจะก้าวผ่านช่วงอารมณ์โกรธพุ่งสูงนี้ไปได้อย่างไร โดยไม่เผลอใจ "ลงโทษ" ลูกไปเสียก่อน

1. ทำใจให้สงบ

อาจ เป็นการเริ่มต้นที่ค่อนข้างยากสักนิด โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ขี้โมโห เจอลูกทำผิด ไม่ได้ดั่งใจก็ฟาดเพี้ยะ แต่ทางเลือกที่ดีกว่าการตีกลับกลายเป็นการที่พ่อแม่พ ยายามสงบใจ แล้วค่อย ๆ อธิบายให้ลูกฟังว่าเขาทำอะไรผิดไป เพราะบางทีเด็กก็ไร้เดียงสา และไม่ทราบจริง ๆ ว่านั่นคือสิ่งที่ผิด

2. หาเวลาให้ตัวเองบ่อย ๆ

แม้ จะเป็นคุณพ่อคุณแม่ แต่ก็ต้องแบ่งเวลาดูแลตัวเองด้วย การให้เวลาตัวเองได้พักผ่อน ฟังเพลง คุยกับเพื่อน อ่านหนังสือ ฯลฯ เหล่านี้จะช่วยให้คุณกลับมามีพลัง พร้อมสำหรับการดูแลคนอื่น ๆ มากขึ้น สำหรับพ่อแม่ที่ไม่ค่อยมีช่วงเวลาดี ๆ เหล่านี้ให้ตัวเอง มักจะเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เผลอตีลูก หากลูกทำอะไรให้ไม่พอใจด้วย ดังนั้น หาเวลาพักผ่อนให้ตัวเองบ่อย ๆ นะคะ

3. บอกลูกในแบบที่เด็กรับฟังได้

พ่อ แม่มักจะตีลูกเวลาที่พูดแล้วลูกไม่ฟัง ครั้งต่อไป ลองใช้วิธีย่อตัวลง ให้ระดับสายตาของคุณกับลูกอยู่ในระดับเดียวกัน วางมือบนไหล่ของลูกอย่างอ่อนโยน จากนั้นบอกให้เขาทราบเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอยากให้เขาท ำ ช้า ๆ แต่หนักแน่

4. เสนอทางเลือก

การให้ทางเลือกกับเด็กเป็นเทคนิคที่ดีที่จะช่วยให้เด ็กหันไปสนใจกับ ทางเลือกที่เขามี แทนที่จะมาดื้อกับพ่อแม่ ลองเสนอทางเลือกสัก 2 ทาง ที่ "เข้าทาง" คุณ เช่น หากลูกมัวแต่เล่นเพลินบนโต๊ะทานข้าว ทางเลือกที่คุณเสนออาจเป็น "ลูกจะหยุดเล่นแล้วทานข้าวให้เสร็จ หรือจะขึ้นห้องนอนทั้ง ๆ ที่ยังหิวดีนะ" จากนั้นก็กระตุ้นให้เขาตัดสินใจบนทางเลือกที่เขามี (อาจจะบอกถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาในแต่ละข้อด้วยก็ดีค่ะ )

5. สอนให้เด็กแก้ไขความผิดพลาด


สมมติ ว่า ลูกของคณซนจนทำกระจกหน้าต่างเพื่อนบ้านแตก แล้วคุณเห็นเข้า ก็เลยลงโทษด้วยการตีไปเรียบร้อย สิ่งที่เด็กเรียนรู้คืออะไร พ่อแม่อาจคิดว่า เด็กจะเรียนรู้ว่าอีกหน่อยไม่ควรทำ แต่เขาก็อาจเรียนรู้ว่า คราวหน้าถ้าเขาเกิดทำผิดขึ้นมาแล้วไม่อยากโดนตี เขาจะต้องซ่อนความผิดพลาด ลองพูดกับลูกว่า "แม่เห็นว่าลูกทำกระจกบ้านตรงข้ามแตก ลูกจะทำอะไรได้บ้างเพื่อชดเชยให้เขา"

6. ทำข้อตกลงกับลูก

หาก ใครได้ดูชินจัง ก็จะพบว่า ชินจังกับแม่มิซาเอะมีข้อตกลงร่วมกันนับร้อยข้อเพื่อ ความปกติสุขในครอบครัว คุณก็สามารถทำข้อตกลงร่วมกับลูกได้เช่นกัน แต่ถ้าลูกทำผิดข้อตกลงขึ้นโดยที่เขาไม่ตั้งใจ ลองให้โอกาสเขาแก้ตัวใหม่แทนการตี หรือลงโทษ ก็จะช่วยให้เขารู้สึกดีด้วยเช่นกัน

7. อย่าลงไปทะเลาะกับลูก

หาก ลูก (ที่ยังเล็ก) ใช้คำพูดหรือกริยาท่าทางที่ไม่ดีกับคุณจนคุณโมโห คำแนะนำคืออย่าลงไปทะเลาะกับลูก เพราะจะไม่มีฝ่ายใดชนะเลย ลองเลือกที่จะสงบใจ อดทน ไม่ตีทันที แล้วบอกกับลูกว่า "แม่ (หรือพ่อ) จะนั่งอยู่ที่ห้อง... ไว้ลูกพร้อมที่จะคุยค่อยมาหาแม่ได้" เทคนิคนี้ก็เป็นเรื่องดีที่ปล่อยให้เด็ก (และตัวพ่อแม่เอง) ได้จัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ไม่ให้โทสะเข้าครอบงำจนใช้ความรุนแรงตอบโตได้ค่ะ

การอบรม สั่งสอนลูกถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจท้าทายสำหรับ พ่อแม่ทุกคน แถมเมื่อได้เห็นลูกเติบโตเป็นคนดียิ่งเปรียบเหมือนรา งวัลที่ยิ่งใหญ่จน ประเมินค่าไม่ได้ เทคนิคเหล่านี้จึงเหมือนอีกหนึ่งตัวช่วยให้งานของพ่อ แม่นั้นง่ายขึ้น และเดินทางสู่จุดหมายได้ไวขึ้นนั่นเองค่ะ
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย