ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
เมื่อต้องอยู่อย่างเข้าใจ "หนูน้อยเรือพ่วง"

เมื่อต้องอยู่อย่างเข้าใจ "หนูน้อยเรือพ่วง" การแต่งงานครั้งที่สอง...อาจเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน และหากจะมีใครบางคนไม่พอใจกับการแต่งงานครั้งนี้ ก็คงไม่แคล้ว หนูน้อยเรือพ่วงที่อาศัยอยู่กับพ่อหรือแม่นั่นเอง ซึ่งผู้ที่เข้ามาใหม่อาจต้องปวดหัวกับพฤติกรรมแสบ ๆ ที่หนูน้อยนำมาป่วนได้หากไม่ได้เตรียมตัวรับมือ หรือป้องกันมาอย่างดี 

ทีมงาน Life & Family พบข้อแนะนำดี ๆ สำหรับว่าที่พ่อ/แม่เลี้ยงจากเว็บไซต์ more4kids.info ซึ่งขอนำมาฝากกันในโอกาสนี้ค่ะ

1. ใจเย็น ๆ

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การที่พ่อ/แม่เลี้ยงบอกกับตัวเองว่า กรุณาอย่าคาดหวังหรือรวบรัดว่าจะสามารถเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกเลี้ยงคนใหม่ได้ในเวลาชั่วข้ามคืน การจะให้เด็กคนหนึ่งยอมรับคุณเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวนั้น ต้องใจเย็น และค่อย ๆ สร้างความสัมพันธ์อันดี ยิ่งหากเด็กแสดงอาการต่อต้าน ยิ่งต้องใจเย็น และไม่เผลอแสดงอาการผิดหวัง หรือโกรธเกรี้ยวที่เด็กยังไม่ยอมรับออกไป

2. เข้าใจความแตกต่างของครอบครัว

การที่เด็กต้องเสียพ่อหรือแม่ไปแล้วมาเริ่มต้นครอบครัวใหม่กับคุณก็นับว่าเป็นเรื่องที่ทำใจยากสำหรับเด็กแล้ว หากเด็กมีปัญหาไม่ยอมรับคุณ บางทีอาจเป็นเพราะเขายังทำใจไม่ได้กับการสูญเสียครอบครัวเดิมไป จึงควรทำความเข้าใจในความแตกต่างตรงนี้ และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเด็กด้วย

3. อย่ารีบเข้าไปแทนที่พ่อ-แม่เดิม

เป็นความผิดพลาดที่พ่อหรือแม่เลี้ยงมักจะทำเสมอ ๆ นั่นก็คือการพยายามทำให้เด็กยอมรับว่าตนเองนั้นคือ พ่อคนใหม่ หรือแม่คนใหม่ เรียกว่าเอาตนเองเข้าไปอยู่แทนที่พ่อแม่คนเดิมของเด็ก นั่นยิ่งทำให้เด็กไม่พอใจ และคิดว่าการเข้ามาของคุณนั้นทำให้พ่อหรือแม่คนเดิมของเด็กต้องจากไป ขณะที่การเข้ามาแบบเพื่อนจะสามารถครองใจเด็กได้มากกว่า และเด็กจะรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจมากกว่า

4. อย่าลงไปทะเลาะกับเด็ก

มีโอกาสสูงที่พ่อ/แม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยงจะปะทะคารมกัน หนึ่งในประโยคเด็ดที่เด็กจะใช้นำมาโต้เถียงพ่อ/แม่เลี้ยงมากที่สุดก็คือ ประโยคที่ว่า "คุณไม่ใช่แม่/พ่อของหนู" เมื่อได้ฟังประโยคนี้ ขอให้ใจเย็น ๆ อย่าอารมณ์เสียไปกับมัน ขอให้คิดว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่กว่า เมตตาเด็กให้มาก ๆ มั่นใจ และเยือกเย็นเข้าไว้ ซึ่งในทางปฏิบัติอาจทำได้ยาก และไม่สามารถทำใจเย็นได้ในครั้งแรก ๆ ที่พบ แต่ก็ขอให้พยายามทำค่ะ

5. ไม่ควรให้เด็กเห็นว่าคุณสองคนมีข้อขัดแย้งกัน

เพราะเด็กอาจใช้จุดนี้ให้เป็นประโยชน์ และหาทางทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับพ่อ/แม่ของเขาได้ด้วยการหาเรื่องให้คุณทะเลาะกัน หากมีสิ่งใดไม่ชอบใจเกิดขึ้น ขอให้แยกตัวมาคุยกันโดยไม่ให้เด็กรับรู้จะดีกว่า

6. อย่าลืมสร้างความสัมพันธ์กับคู่สมรส

การผูกสัมพันธ์กับลูกเลี้ยงก็เป็นเรื่องที่สมควรทำ แต่ก็ไม่ควรลืมคู่ครองที่คุณแต่งงานด้วย


นอกจากนี้ ยังมีเคล็ดลับที่ช่วยให้พ่อ/แม่เลี้ยงครองใจเด็กได้เร็วยิ่งขึ้น นั่นก็คือ
  1. เรียนรู้ (Learn) ในสิ่งที่เขาชอบและไม่ชอบ สิ่งที่เขาฝันเอาไว้ 
  2. ฟังเวลาที่เขาพูด (Listen) แต่ไม่ต้องลงไปช่วยแก้ปัญหา หรือบอกว่าเด็กควรแก้ปัญหาอย่างไร ตั้งคำถามให้เด็กหาวิธีการแก้ไข หรือถามความเห็นเอาจะดีกว่า
  3. ให้ความรักเด็กมาก ๆ (Love) 

ขอบคุณข้อมูลจาก more4kids.info
ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139314
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย