ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
เด็กซน ดื้อ ก้าวร้าว พ่อแม่รู้ทันและจัดการได้
เด็กซน ดื้อ ก้าวร้าว พ่อแม่รู้ทันและจัดการได้ กรี๊ด กรี๊ด...ไม่ยอม ยังไงหนูก็จะเอาของเล่นชิ้นนี้ให้ได้ หากลูกสุดที่รักของคุณพ่อคุณแม่ท่านใดมีอาการกรีดร้อง เอาแต่ใจตัวเอง แสดงอาการก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและผู้อื่น ถึงเวลาแล้วที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่จะต้องศึกษาหาความรู้และการแก้ไขให้ลูกของท่านก่อนที่จะเป็นปัญหาหนักอกและทำให้ลูกติดเป็นนิสัยไปจนโต ซึ่งจะเป็นผลร้ายต่อชีวิตลูกในการมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น

ปัญหาในการปลูกฝังและเลี้ยงดูเด็กทุกวันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยให้ความเอาใจใส่และรณรงค์ในโครงการ “10 เรื่องเลี้ยงลูกยอดฮิตพิชิตได้” โดยเน้นว่าการรู้ทันและสามารถจัดการกับปัญหาเด็กซน ดื้อ ก้าวร้าว เป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เด็ก ๆ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี พร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ ทุกคนจะต้องรีบฝึกตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1-3 ปี

โดยปกติแล้วเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ยอมทำตามที่ผู้ใหญ่บอก ถ้าไม่ได้ดั่งใจจะมีการแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น กรีดร้อง ดิ้น ทำร้ายร่างกายตนเอง พฤติกรรมเหล่านี้มักจะดีขึ้นหรือรุนแรงน้อยลงหากมีการเบี่ยงเบนความสนใจและค่อยๆปรับพฤติกรรม

ทำไมเด็กถึงมีพฤติกรรม ซน ดื้อ ก้าวร้าว 

ตัวเด็ก พื้นอารมณ์ที่เลี้ยงยาก เอาแต่ใจตัวเองเมื่อถูกขัดใจ หรือเด็กบางคนมีระดับสติปัญญาที่บกพร่อง มีพัฒนาการช้า

ครอบครัว แสดงความรุนแรงในครอบครัวให้เด็กเห็น เช่น ทุบตี หรือแสดงการก้าวร้าวต่อกันของพ่อและแม่ พ่อแม่ลงโทษลูกด้วยวิธีรุนแรงเสมอๆ

สังคมสื่อต่างๆที่แสดงออกถึงความรุนแรง ก้าวร้าว รวมทั้งภายในชุมชนมีการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา

การแก้ไขเบื้องต้นของเด็กถึงที่มีพฤติกรรมดื้อ ซน ดื้อ ก้าวร้าว สามารถแก้ไขได้หลายวิธีอย่างแรกไม่ควรตีหรือทำโทษเด็กด้วยความรุนแรง ควรเบี่ยงเบนหรือปรับพฤติกรรม เช่น เมื่อเด็กเล่นมีด ให้ดึงมีดออกและบอกลูกสั้นๆว่า “เล่นไม่ได้นะคะ” พร้อมทั้งหาของเล่นอื่นมาให้เล่นแทน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่เอง เช่น ไม่แสดงความรุนแรงต่อกันให้ลูกเห็น ควรพูดจาตกลงกันดี ๆ เพราะลูกจะได้ไม่จดจำและเอาเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อไป รวมทั้งด้านสังคมเองควรมีการหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กดูสื่อที่มีการใช้ความรุนแรง

และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก หากมีอาการก้าวร้าวรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อตัวเด็กเองและผู้อื่นควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและหาทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องการควบคุมอารมณ์และการแสดงออกที่เหมาะสม เพื่อที่จะเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมไทยต่อไป

ข้อมูลจาก : http://www.pedsocthai.org
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย