ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
เชื่อหรือไม่กระหม่อมเด็กบอกโรคได้
เชื่อหรือไม่กระหม่อมเด็กบอกโรคได้ ด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่คุกคามเราอยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลายสาเหตุ แต่ก่อนที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยใดๆ 

มักจะมีอาการเบื้องต้นที่บ่งบอกถึงโรคภัยที่จะมาจู่โจมเราได้ เชื่อหรือไม่ว่าลักษณะของกระหม่อมเด็ก
สามารถบอกได้ว่าเด็กมีความเจ็บปวด ด้วยอาการเช่นใด หรือบอกโรคได้นั่นเอง

เราสามารถตรวจกระหม่อมเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีครึ่ง ได้ ซึ่งจะพบสภาวะของสุขภาพได้ดังนี้
  • กระหม่อมเด็กที่ปกติ จะนุ่มราบเรียบเสมอบริเวณโดยรอบ และเต้นตุบ ๆ ตามจังหวะการเต้นของชีพจร 
  • ถ้ากระหม่อมบุ๋ม ลึกเป็นแอ่ง (depressed fontanelle) มักบ่งถึงภาวะขาดน้ำ เช่น ท้องเดินรุนแรง
  • อาเจียนรุนแรง ถ้ากระหม่อมโป่งตึง (tense fontanelle) และไม่เต้นตุบ ๆ มักบ่งถึงภาวะความดันให้
  • สมองสูง เช่น เยื่อ หุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ เลือดออก ในสมอง ฝีในสมอง เป็นต้น 


กระหม่อม คือ รอยต่อของกระดูก โดยที่การเจริญเติบโตในวัยทารก กระดูกแต่ละชิ้นของกะโหลก จะเจริญต่อเชื่อมกัน รอยต่อของกระดูก 4 ชิ้นที่มา

เชื่อมกันข้างหน้า ก็คือ กระหม่อมหน้า ด้านหลังเหนือท้ายทอยจะเป็นกระหม่อมหลัง และโดยปกติแล้วกระหม่อมหลังจะเชื่อมกันสนิทไม่มีรู เมื่ออายุ 

6-8 เดือน ส่วนกระหม่อมหน้าจะเชื่อมกันจนคลำไม่ได้ เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง จากนั้นจะปิดสนิทเมื่ออายุ 1 ปี 8 เดือน 

หมั่นสังเกตกระหม่อมลูกน้อย จะรู้ทันอาการของลูกได้ การที่กระหม่อมจะปิดช้า มีกรณีที่พบในโรคของกระดูกกะโหลกบางชนิด และโรคของระบบ

ต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลงแต่กำเนิด การปิดเร็วก็เช่นกัน เกิดจากการเจริญของสมองช้าหรือสาเหตุอื่น ถ้าเชื่อมเร็วเกินไป การเจริญ

ของกะโหลกจะถูกจำกัด กระโหลกจะขยายไม่ได้ และสมองจะไปเบียด อวัยวะภายในศีรษะด้วย (ถึงจะมีพัฒนาการดี ก็ไม่เกี่ยวกับพัฒนาการทางสมอง)

และอาจเป็นปัญหาได้ ผู้ปกครองที่พบอาการเช่นนี้ในบุตรหลานต้องรีบนำไปหาแพทย์โดยด่วน 

การเลือกพบแพทย์ควรใส่ใจสักนิด แนะนำให้พบกุมารแพทย์ เพราะในช่วงที่นำไปฉีดวัคซีนในช่วงอายุ 9 เดือน,1 ปี,1 ปี ครึ่ง กุมารแพทย์จะเป็น

ผู้ดูแลรูปลักษณะเหล่านี้อยู่แล้ว (ถ้าไม่ใช่กุมารแพทย์ก็จะไม่สังเกตความผิดปกติเช่นนี้ได้) 
ข้อมูลจาก : http://momchannel.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
การเลือกซื้อคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย